Bitcoin Cash คืออะไร? และ Hard fork ทำงานอย่างไร?

Table of Contents
Bitcoin Cash คืออะไร?
Bitcoin Cash คือเหรียญที่แยกตัวออกมาจากบิตคอยน์โดยมุ่งหวังที่จะเพิ่มปริมาณความจุของธุรกรรมให้แก่เครือข่ายเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกรรมในแต่ละวัน เนื่องจากบิตคอยน์ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น และราคาของมันไม่เพียงแค่พุ่งสูงขึ้น แต่ยังมีความไม่แน่นอนที่สูงมากด้วย ทำให้เป็นสินทรัพย์มากกว่าที่จะเป็นทางเลือกของสกุลเงินดั้งเดิม บล็อกเชนบิตคอยน์ล้มเหลวในการปรับขนาดตามสัดส่วนของจำนวนการทำธุรกรรมที่เติบโตมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่ความล่าช้าของกระบวนการและค่าธรรมเนียมที่สูง
Bitcoin Cash เป็นทั้งสกุลเงินดิจิทัลและเครือข่ายบล็อกเชนแบบกระจายอำนาจที่ทำธุรกรรม Bitcoin Cash เรียกเป็นสัญลักษณ์ว่า BCH ในฐานะที่เป็นส่วนแยกของ Bitcoin หรือ BTC Bitcoin Cash มีความคล้ายคลึงกับสกุลเงินดิจิทัลดั้งเดิมมาก ความแตกต่างที่สำคัญที่สุดคือจำนวนข้อมูลธุรกรรมที่แต่ละบล็อกของแต่ละเครือข่ายสามารถจัดเก็บได้
ตัวชี้วัดสำคัญ
ชื่อย่อ | BCH |
ชื่อเต็ม | Bitcoin Cash |
ประเภท/โปรโตคอล | BCH |
อุปทานทั้งหมด | 21,000,000 BCH |
อุปทานหมุนเวียนในปัจจุบัน | BCH18.99M |
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด | $5.39B |
วันที่สร้าง | 1 สิงหาคม ปี ค.ศ.2017 |
สามารถขุดได้หรือไม่ | ได้ |

ประวัติของ Bitcoin Cash
Bitcoin Cash (BCH) เมื่อปี ค.ศ. 2016–2017 ซึ่งเป็นช่วงที่ราคา Bitcoin สูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่คนในเครือข่ายไม่สามารถหาข้อตกลงกันว่าจะเพิ่มความเร็วของเครือข่ายการใช้งานได้อย่างไร ทำให้มีนักพัฒนาและนักขุดส่วนหนึ่งต้องการแยกเครือข่ายออกมา เพื่อให้ Bitcoin สามารถใช้ในการชำระเงินได้จริง พวกเขาจึงได้ทำการแยกหรือ Fork Bitcoin cash ออกมาจาก Bitcoin เพื่อพัฒนา Bitcoin Cash ให้เป็นระบบการเงินออนไลน์แบบ Peer-to-Peer หลังจากแยกตัวออกมาแล้ว ได้มีการนำบางส่วนโมเดลเดิมของ Bitcoin ออก เรียกว่า Segwit มีการปรับปรุงเพิ่มเติมจาก Bitcoin เดิม และได้เพิ่มขนาด Block Chain โดยถูกสร้างขึ้นในวันที่ 1 เดือนสิงหาคม ปี ค.ศ.2017 เวลา 1 ทุ่ม 20 นาที โดยผู้สร้างคนเดียวกับ Bitcoin ที่มีชื่อว่า Satoshi Nakamoto เขียนโดย Akiraz ซึ่งทำให้เกิดบล็อกเชนและสกุลเงินคริปโตตัวใหม่ขึ้นมานามว่า Bitcoin Cash นั่นเอง อุปทานทั้งหมดของ Bitcoin Cash อยู่ที่ 21,000,000 BCH ซึ่งเป็นตัวเลขเดียวกับ Bitcoin
Bitcoin Cash เริ่มต้นด้วยการใช้อัลกอริธึมความยากในการขุดแบบเดียวกันกับ Bitcoin หรือที่รู้จักกันในทางเทคนิคว่า การปรับความยากฉุกเฉิน (EDA) ซึ่งปรับความยากทุก ๆ บล็อกปี 2016 หรือประมาณทุก ๆ สองสัปดาห์
จากนั้น Bitcoin Cash ได้มีการแยกเป็น 2 แบบ โดยเริ่มแยกตัวในวันที่ 15 เดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ.2018 โดยแบ่งออกเป็น Bitcoin Cash ABC และ Bitcoin Cash SV (Satoshi Vision) ซึ่ง Bitcoin Cash ในปัจจุบันก็คือ Bitcoin Cash ABC
ปัจจุบัน Bitcoin สามารถตรวจสอบธุรกรรมได้เพียง 7 ธุรกรรมต่อวินาที เนื่องจากขนาดบล็อก (Block size) ถูกจำกัดอยู่ที่ 1 MB ต่อบล็อก ขณะที่ Bitcoin Cash พัฒนาจากจุดนี้โดยเพิ่มขนาดของบล็อกเป็น 8 MB และได้สูงสุดที่ 32 MB โดย blocks ที่ใหญ่กว่าสามารถจัดที่อยู่ของการธุรกรรมได้มากกว่า และอนุญาตนักขุดในการประมวลผลและตรวจสอบธุรกรรมได้มากขึ้น การประเมินผลเปรียบเทียบแสดงให้เห็นว่า ในขณะที่บล็อกเชนบิตคอยน์จัดการได้ 1,000 ถึง 1,500 ธุรกรรมต่อ block แต่ Bitcoin cash สามารถจัดการได้มากถึง 25,000 ธุรกรรมต่อ block และยังทำให้ BCH มีความใกล้เคียงกับวิสัยทัศน์ของบิตคอยน์ดั้งเดิมมากขึ้น
Hard fork คืออะไร? ทำงานอย่างไร?
การ Hard fork จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อโค้ดเปลี่ยนไปจนไม่รองรับบล็อกในเวอร์ชันเก่า ๆ อีกแล้ว
คือจะเป็นการเปลี่ยนกฏเกณฑ์และเป็นการแก้ไขชุดคำสั่งให้มีการแตกต่างไปจากเดิม ก็เหมือนการเป็นการอัปเดตระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แก้ไขจุดบกพร่องที่เกิดขึ้นในระบบ
สาเหตุหลักที่ต้องมีการ Hard Fork อัปเดตบล็อกเชน ดังนี้
- เพื่ออัปเกรดความปลอดภัยให้ดีขึ้นกว่าเวอร์ชันเก่า
- เพิ่มฟังก์ชั่นใหม่
- เพื่อสามารถตรวจสอบธุรกรรมเก่าได้
และนอกจากนั้นแล้วในระบบ Blockchain ที่มีการกำหนดเงื่อนไขขึ้นมาเป็นรูปแบบใหม่ก็ยังสามารถเข้ากันกับระบบเก่าได้อย่างไม่มีปัญหา มูลค่าเงินที่เคยมีจากระบบเดิมก็จะยังคงอยู่ แต่ถ้าหากมีความขัดแย้งระหว่างผู้ใช้น้อยก็จะยังคงใช้เส้นข้อมูลเดิม (Soft fork) แต่ถ้าความขัดแย้งมีมากจนแบ่งออกเป็นสองฝ่ายก็จะมีการแตกแขนงเส้นข้อมูลใหม่ (Hard fork)
ทุกครั้งที่มีการ hard fork มักจะทำให้เกิดเหรียญใหม่หรือซอฟแวร์ใหม่ ๆ ขึ้นมาเสมอ อย่างเช่นตัว Bitcoin Cash เองนี่แหละ โดยตัว Bitcoin Cash เป็นการ Fork แยกออกมาจาก Bitcoin อีกทีหนึ่ง ซึ่งจุดประสงค์ของการ Hardfork ในแต่ละครั้งนั้นก็มีความแตกต่างกันออกไป แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ การแก้ระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และอาจมีผลกระทบไปถึงราคาและความเสถียรของระบบของเหรียญในช่วงเวลานั้นด้วย
หลักการทำงานของ Hard fork
ก็คือการเข้าไปแก้ SOURCE CODE ของระบบเก่าที่มีอยู่แล้ว ในส่วนของข้อกำหนดความเข้ากันได้ เพื่อให้เกิดระบบใหม่แยกออกมา จากนั้นก็ตั้งชื่อคอยน์ แล้วเปิดรันระบบ กลายเป็นคอยน์ตัวใหม่
ข้อดี ข้อเสียของการ Hard Fork
ข้อดี
1. จะได้รับเหรียญสมนาคุณ เช่น หากมีการทำ ETH Hard Fork เดิมเรามี 1 ETH อยู่ในกระเป๋าเงิน หลังจาก ETH Hard Fork เราก็จะได้รับ 0.1 ETH เป็นของสมนาคุณ เหมือนได้โทเคนที่นำไปเทรดต่อ หรือ จะถือไว้เก็งกำไรได้เลยแบบฟรี ๆ
2. เป็นการสร้างสินทรัพย์ดิจิทัลใหม่เข้าสู่ระบบ เพราะเหรียญสมนาคุณที่ได้รับเป็นโทเคนที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่
3. ช่วยแก้ปัญหาการเชื่อมต่อในระบบ ที่ทำให้การทำธุรกรรมสำเร็จได้โดยใช้เวลาน้อยลง
ข้อเสีย
1. เหรียญที่เกิดใหม่จะเข้ามากระทบตลาดเดิมจึงอาจทำให้เกิดความผันผวนของราคาเป็นอย่างมาก
ตัวอย่างการ Hard Fork ที่ผ่านมา
Ethereum ที่เคยโดนแฮกระบบไปช่วงเริ่มต้นได้ไม่นาน เมื่อเกิดปัญหาขึ้นทีมงานได้แก้ไขโดยการทำ Hard Fork โดยการพัฒนา Source Code ใหม่ ปรับปรุงช่องโหว่ให้ดีขึ้น และเอาข้อมูลการเงินเดิมที่เคยมีมาใช้งานต่อ สุดท้ายแล้วผลลัพท์จากการ Hard fork ครั้งนั้นก็คือ ผู้ใช้งานก็ยังคงมีเงินเหลือเหมือนเดิม แต่ระบบข้างหลังเป็นของใหม่แล้ว และทำให้เกิดเหรียญใหม่ขึ้นเป็นเหรียญแรกของ Ethereum ได้แก่
Ethereum (ETH) : คือ สกุลเงิน Ethereum ที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขแล้ว
Ethereum Classic (ETC) : คือ สกุลเงิน Ethereum แบบดั้งเดิม สำหรับคนที่ยังหลงไหล Ethereum แบบเดิม
หลังจากการอัพเดทเสร็จสมบูรณ์ ราคาของ ETH ก็ได้ปรับสูงขึ้นจากแถว 85,000 บาทเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2021 ไปทำระดับสูงสุดที่ 108,500 บาทเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2021 ที่ผ่านมา เรียกว่าปรับขึ้นถึง 27% ภายในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์กว่า ๆ เท่านั้น โดยผู้พัฒนาเรียกการอัพเดทครั้งนี้ว่า London Hard Fork

เรื่องราวการ Hard Fork : Hard Forks vs. Soft Forks
Hard Forks vs. Soft Forks
Hard Forks | Soft Forks |
---|---|
Expanding the rules (eg, 1MB -> 2MB) | Tightening the rules (eg, 1MB -> 0.5MB) |
Not backwards compatible | Backwards compatible |
Old nodes don’t accept new blocks | Old nodes accept new blocks |
Hard Fork คือการสร้างระบบใหม่ที่ไม่สามารถทำงานร่วมกับระบบเก่าได้ แต่มูลค่าเงินที่เคยมีจากระบบเดิมก็จะยังคงอยู่ แต่ในส่วน Soft Fork นั้นก็จะมีความคล้าย ๆ กับ Hard Fork แต่มีความเบากว่านิดนึงคือ จะมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เคยใช้งานใน Blockchain เดิม เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เจอในระบบ
- การ hard fork ครั้งแรกของ Bitcoin
การ hard folk ของบิทคอยน์เริ่มขึ้งจากการเห็นจุดบกพร่องของระบบ ในช่วงแรกที่มีการทำธุรกรรมในระบบไม่มากนัก ระบบของ Bitcoin สามารถทำหน้าที่ได้ค่อนข้างรวดเร็วอย่างไร้ที่ติ แต่เมื่อได้รับความนิยมมากขึ้นการทำงานจึงช้าลงเนื่องด้วยขนาดของบล็อกจำกัดอยู่ที่ 1MB ซึ่งผู้ใช้งานเคยรอนานที่สุดถึง 3 วันในการตรวจสอบการโอนถ่ายบิทคอยน์ และวิธีหนึ่งในการแก้ปัญหาเหล่านี้คือ การจ่ายค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น เพื่อการตรวจสอบที่รวดเร็วขึ้น
แต่ก็ทำให้ค่าธรรมเนียมสูงมากจนผิดจุดประสงค์หลักของระบบบิทคอยน์ เหตุนี้จึงเกิดการเสนอ hard fork ขึ้นเพื่อแก้ไขจุดอ่อนนี้ 2 ทางคือ Bitcoin Unlimited และ Segregate witness (Segwit) ซึ่งสุดท้าย Bitcoin cash ที่เป็นเหรียญแรกจากการ hard fork เกิดขึ้นจากการรวมสองข้อเสนอนี้เข้าด้วยกัน โดยแนวคิดคือ การขยายบล็อกออกเป็นขนาด 8 MB
- การ hard fork ครั้งแรกของ Ethereum
เกิดการแฮกระบบ Etheruem ขึ้นในปี 2016 จนทำให้มีการสูญเสียประมาน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนั้นจึงเกิดการ hard fork ขึ้นเพื่อแก้ไขระบบป้องกันพวกแฮกเกอร์ โดย ตอนนั้นนักพัฒนาหลักมีทางเลือกให้ผู้ใช้งานอยู่สองทางเลือก คือ การรักษาให้เป็นอย่างธรรมชาติของระบบ หมายความว่าประวัติธุรกรรมและ Ledger ต้องไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
หรือ ทำการ hard fork เพื่อทำให้แฮกเกอร์ไม่สามารถเอาเงินไปได้และย้อนการซื้อขายนั้น ๆ กลับ การถกเถียงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนระบบแตกออกเป็นสองเส้นคู่ขนานซึ่งระบบที่กลุ่มนักพัฒนาหลักตกลงที่จะใช้กันเรียกว่า Ethereum ในขณะที่ระบบเก่าตั้งชื่อขึ้นมาใหม่ว่า Ethereum classic และนี้คือเหรียญจากการ hard fork เหรียญแรกของ Ethereum
ทำไม BCH ABC จะหายไปหลังจาก Bitcoin Cash hard fork?
โดยมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งภายในเครือข่ายเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนา จึงเกิดแนวคิดที่จะแยกตัวออกมาเป็นอีกเครือข่าย ระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุน BCHABC และ BCHN เนื่องจากว่า BCHABC ต้องการที่จะติดตั้งระบบ Infrastructure Funding Plan หรือระบบที่จะมีการจ่าย ภาษีการขุด 8% จากที่นักขุดขุดได้ไปให้กับนักพัฒนาแบบฟรี ๆ และเชื่อว่าการหักรายได้ของนักขุดในรูปแบบนี้ไม่ถือเป็นเรื่องดีในอนาคต นอกจากนี้ยังมีความกลัวเกี่ยวกับความเป็น centralization ของเครือข่ายที่เพิ่มมากขึ้นจากการพัฒนาเหรียญ BCH ด้วยกลุ่มคนเพียงไม่กี่คนอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม เครือข่ายใหม่ที่มีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า Bitcoin Cash ABC หรือ BCHA ดูเหมือนจะมีเสียงสนับสนุนที่ลดน้อยลงเรื่อย ๆ จึงอาจทำให้ BCHA ไม่ได้รับการยอมรับจากเหล่า Exchange และหายไปในที่สุดนั่นเอง
Bitcoin Cash แตกต่างจาก Bitcoin อย่างไร?
ตารางเปรียบเทียบ
Bitcoin Cash (BCH) | Bitcoin (BTC) | ||
---|---|---|---|
ปีที่เปิดตัว | 2017 | ปีที่เปิดตัว | 2009 |
ผู้สร้าง | กลุ่มนักพัฒนา Bitcoin หนึ่งในนั้นคือ Calin Culiaun | ผู้สร้าง | Satoshi Nakamoto (นามแฝง) |
วัตถุประสงค์ | ชำระเงิน | วัตถุประสงค์ | ชำระเงิน |
Trading Volume | $4,210,091,959 USD. | Trading Volume | $24,577,884,804 USD. |
ลักษณะ | เกิดจากการแยกออกจาก Bitcoin หรือ Hard Fork ใช้เทคโนโลยีส่วนใหญ่เหมือนกับ Bitcoin ขนาดของบล็อกจะเพิ่มขึ้นเป็น 32MB (จากเดิมคือ 1MB) ปัจจุบันค่าธรรมเนียมและระยะเวลาการประมวลผลธุรกรรมต่าง ๆ เร็วกว่า BTC | ลักษณะ | เป็นสกุลเงินดิจิทัลตัวแรกของโลก มีมูลค่าตลาดสูงสุด ซัพพลายมีจำนวนจำกัดเพียง 21 ล้านเหรียญ ใช้เครือข่าย blockchain แบบเปิดซึ่งไม่มีใครสามารถควบคุมบิทคอยน์ได้ สามารถตรวจสอบข้อมูลธุรกรรมได้ โอนได้ทั่วโลกด้วยค่าธรรมเนียมที่ต่ำ |
เทรด BCH กับโบรกเกอร์ Mitrade
ตอนนี้นักลงทุนคงเข้าใจและอยากเทรดเหรียญ Bitcoin Cash กันแล้ว และถ้าหากคิดจะทำกำไรจาก Bitcoin Cash ก็มีวิธีการง่าย ๆ คือการซื้อให้ถูกและขายให้แพง ด้วยเครื่องมืออย่าง CFD เป็นหนึ่งในเครื่องมือการซื้อขายที่ยืดหยุ่นที่สุด ที่จะมาช่วยในการขยายขอบเขตการทำกำไรให้กับเทรดเดอร์นั่นเอง
CFD (contract for difference)
คือ สัญญาการซื้อขายส่วนต่าง ที่สามารถเทรดได้ระหว่างลูกค้าและโบรกเกอร์ เทรดเดอร์อาจเก็งกำไรในการเคลื่อนไหวของราคาได้โดยไม่จำเป็นต้องมีสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องอยู่จริง โดยใช้สัญญาทางการเงิน ทำให้นักลงทุนจะไม่ได้เป็นเจ้าของเหรียญคริปโตโดยตรง เทรดเดอร์มักจะซื้อหรือขายจำนวนหน่วย ขึ้นอยู่ว่าราคาของตราสารการเงินดังกล่าวนั้นจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยจะมีให้เทรดเป็น CFD หุ้น ดัชนี สินค้าโภคภัณฑ์ สกุลเงิน พันธบัตร โลหะมีค่า คริปโต ฯลฯ
การซื้อขายสามารถทำกำไรได้ทั้งตลาดที่เป็นขาขึ้นและขาลง การเทรด CFD เป็นการทำกำไรจากส่วนต่างของราคาซื้อขาย และใช้ได้ทั้งกลยุทธ์ Long-Short ทำให้เทรดเดอร์ทำกำไรจากสินทรัพย์ได้ทั้งขาขึ้นและขาลง ถือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและคล่องตัวในเหตุการณ์ที่ตลาดการเงินมีความผันผวนมากและมีสภาพคล่องสูง
และที่นักลงทุนจะขาดสิ่งนี้ไปไม่ได้เลยคือ การเลือกเทรดกับโบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือ Mitrade เป็นเว็บเทรด Bitcoin ด้วย CFD จากประเทศออสเตรเลีย ก่อตั้งในปี 2011 และเริ่มให้บริการในไทยเมื่อปี 2019 Mitrade อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงาน ASIC, FSC และ CIMA อีกทั้งยังมีมาตรการแยกเงินทุนของลูกค้า ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากนักลงทุนมากมาย กว่า 1,100,000+ ของผู้ใช้ทั่วโลก การันตีโดยรางวัลต่าง ๆ เช่น แพลตฟอร์มการซื้อขายเทคโนโลยีการเงินแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่เติบโตเร็วที่สุดจาก Global Brands Magazine เป็นต้น
ทำไมต้อง Mitrade ?
- เงื่อนไขการซื้อขายขั้นต่ำ
- กำกับดูแลโดยหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง
- แพลตฟอร์มการซื้อขายที่ใช้งานง่าย
- การสนับสนุนออนไลน์ระดับสูง
- ต้นทุนการทำธุรกรรมที่แข่งขันได้
- การป้องกันยอดคงเหลือติดลบ
**คำเตือน การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
เนื้อหาในบทความเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับประกอบการตัดสินใจก่อนการลงทุนเท่านั้น ผู้อ่านควรศึกษาปัจจัยประกอบจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งก่อนการตัดสินใจ และใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลในการพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ลงทุนที่เหมาะสมแก่ท่าน
ใส่ความเห็น