ทำไมนักลงทุนไทยจึงต้องรู้จัก ดัชนีหุ้น CFD?

พวกเราหลายท่านคงได้เริ่มสังเกตเห็นโฆษณาเป็นภาษาไทยที่กำลังเป็นเทรนด์ของช่วงนี้ ผ่านทาง banner อินเทอร์เน็ต ชักชวนให้ไปลงทุนซื้อขาย CFD หรือ Contract for Difference มาบ้างแล้ว อาจจะสงสัยว่ามันคืออะไรกันแน่นะ บทความนี้เรามีคำตอบให้และขอบอกว่าเจ้า CFD นี้มีดีเป็นพิเศษตรงที่นักเทรดมีโอกาสในการทำกำไรมูลค่าสูงได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องวางเงินลงทุนก่อนเป็นจำนวนมาก ถ้าการเก็งกำไรของเราเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง เราอาจจะได้กำไรมหาศาลไปนอนกินกันหลายเดือนเลยทีเดียว ฉะนั้นเรามาทำความรู้จักการเทรดดัชนีหุ้น CFD กันเลย!

การเทรดดัชนีหุ้น CFD คืออะไร ?

สัญญาการซื้อขายส่วนต่าง CFD หรือเรียกเต็ม ๆ ว่า Contract For Difference คือสัญญาการซื้อขายส่วนต่างของราคาสินค้าอ้างอิงในตลาดการเงินที่จะเปลี่ยนแปลงราคาไปในอนาคต เช่น ส่วนต่างของราคาหุ้น ส่วนต่างของราคาค่าเงินตราต่างประเทศ ส่วนต่างของดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และราคาสกุลเงินดิจิทัล ที่จะทำให้ผู้เทรดสามารถทำกำไรได้โดยที่ไม่ต้องเป็นเจ้าของหรือถือครองสินทรัพย์เหล่านั้น ไม่มีการส่งหรือรับมอบของกันในความเป็นจริง ช่วยให้นักลงทุนรายย่อยตัวเล็กๆ อย่างเราสามารถถือครองสัญญาการ

CFD อาจจะฟังดูเป็นเรื่องและสลับซับซ้อนสำหรับมือใหม่ แต่เรามีวิธีอธิบายให้คุณฟังง่าย ๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

สมมติว่าวันนี้เป็นวันที่ 1 มกราคม ราคาไข่ไก่ในตลาด ปัจจุบันฟองละ 10 บาท เราต้องการคาดการณ์ว่า ณ วันที่ 30 มกราคม ราคาไข่ไก่ในตลาดจะมีราคาขึ้นหรือราคาลงกันแน่ โดยอาศัยปัจจัยแวดล้อมเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจทั้งข่าวสถานการณ์ ปริมาณอุปสงค์ อุปทานในตลาด เมื่อพิจารณาดูแล้ว หากเราสรุปว่าไข่ไก่จะมีราคาแพงกว่าหรือถูกกว่าฟองละ 10 บาท ในช่วงสิ้นเดือนนี้ ก็ให้ทำการซื้อขายสัญญา CFD ซึ่งราคาอาจจะขึ้นหรือลงก็ได้

ทางเลือกที่ 1 หากเราซื้อสัญญา CFD และคาดว่าราคาไข่ไก่ในตลาด ณ วันที่ 30 มกราคม จะเพิ่มขึ้นเป็นฟองละ 15 บาท ต่อมาในวันที่ 30 มกราคม ราคาไข่ไก่ในตลาดเพิ่มเป็นฟองละ 15 บาท เช่นนั้นจริง ๆ

เราก็จะได้กำไรจากส่วนต่างขาขึ้น 15 บาท – 10 บาท (ราคาในวันที่ซื้อสัญญา) = 5 บาท

ทางเลือกที่ 2 หากเราซื้อสัญญา CFD และคาดว่าราคาไข่ไก่ในตลาด ณ วันที่ 30 มกราคม จะลดลงเป็นฟองละ 5 บาท ต่อมาในวันที่ 30 มกราคม ราคาไข่ไก่ในตลาดลดลงเป็นฟองละ 10 บาท เช่นนั้นจริง ๆ

เราก็จะได้กำไรจากส่วนต่างขาลง 10 บาท (ราคาในวันที่ซื้อสัญญา) – 5 บาท = 5 บาท

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า สัญญาการซื้อขายส่วนต่างหรือ CFD สามารถทำกำไรได้ทั้งกำไรขาขึ้นและกำไรขาลงของราคาส่วนต่าง โดยที่เราไม่ต้องนำไข่ไก่มาถืออยู่ในมือเลยสักฟอง เพียงแค่เราคาดการณ์ทิศทางราคาของไข่ไก่ในตลาดเพียงเท่านั้น (ในตอนเทรดจริงราคาอาจจะผันผวนอย่างรวดเร็วเป็นวินาที ไม่ต้องรอเป็นเดือนเหมือนดังตัวอย่างที่กล่าวมาแล้วนะ)

วิธีการเทรดดัชนีหุ้น CFD

เริ่มต้นจากการเปิดบัญชีเทรดกับโบรกเกอร์ CFD ก่อนให้เรียบร้อย แล้วจึงฝากเงินเข้าไปบางส่วนและใช้เงินจำนวนนั้นในการเทรด จากนั้นให้เลือกประเภทตราสารในการเทรดว่าเราต้องการเก็งกำไรในสินทรัพย์ทางการเงินประเภทใด หรือค้นหาว่าตลาดใดกำลังเป็นกระแสโดยติดตามรายงานการวิเคราะห์ตลาดล่าสุด เครื่องมือกราฟและเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคจากโบรกเกอร์ จากนั้นควรทำความเข้าใจกับข้อมูลเกี่ยวกับอัตราทด (Leverage) ของตราสารและค่าใช้จ่ายในการเทรดให้เข้าใจเป็นอย่างถ่องแท้ก่อน

เมื่อเราเลือกตราสารที่จะต้องการจะเทรด CFD ได้แล้ว เราต้องทำการคาดกาณ์ว่าราคาสินทรัพย์จะปรับตัวขึ้นหรือปรับตัวลงในอนาคต หากคาดว่าราคาจะเพิ่มขึ้นให้เปิดสถานะ Long (ซื้อ – คาดว่าราคาจะเพิ่มขึ้น) หรือหากคาดว่าราคาจะปรับตัวลดลงให้เปิดสถานะ Short (ขาย – คาดว่าราคาจะลดลง) นอกจากนั้นเราต้องรู้จักคำศัพท์เฉพาะในการเทรดหุ้น CFD ดังต่อไปนี้

อัตราทด (Leverage) ของตราสาร หากโบรกเกอร์ CFD ให้อัตราทดที่ 1:20 หมายความว่าเราสามารถวางเงินวางประกัน (Margin) เพียงแค่ 5% ของมูลค่าสัญญาทั้งหมด ยิ่งตัวเลขอัตราทดสูงขึ้นเท่าไหร่ จำนวนเงินวางประกันที่เรียกก็จะยิ่งน้อยลงไปเท่านั้น แต่ก็ควรคำนึงถึงด้วยว่ายิ่งสัญญามีขนาดใหญ่เท่าไร  เราจะมีโอกาสทั้งได้กำไรจำนวนมากหรือขาดทุนจำนวนมากจนทำให้สูญเสียเงินฝากทั้งหมดในบัญชีได้เช่นกัน เราควรเลือกลงทุนในระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้เท่านั้น

สูตรการคำนวณเงินวางประกัน (Margin) = ราคาสัญญา x ขนาดสัญญา x จำนวนสัญญา x อัตราส่วนมาร์จิ้น

การประกันความเสี่ยง (Hedging) หากเรามองว่าราคาหุ้นที่เราถืออยู่กำลังจะปรับตัวลงในระยะสั้น แต่เป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาที่เราเก็งกำไรไว้ว่าราคาหุ้นจะเพิ่มสูงขึ้น คือ ซื้อ Long ไว้ แต่ราคาในระยะสั้นดันเป็น Short แทนที่เราจะต้องขาย Long ทั้งหมดออกไป เพื่อไปซื้อ Short มาแทนที่ซึ่งจะทำให้เราเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นอีก เราสามารถ Short ราคาหุ้นในมูลค่าสัญญาที่เท่ากับจำนวนหุ้นในบัญชีที่ซื้อ Long เอาไว้ และทำกำไรจากการปรับตัวลดลงของหุ้น ได้โดยที่ไม่ต้องขาย Long ที่ถือไว้ออกมา 

คอมมิชชั่น (Commission) และสเปรด (Spread) เป็นต้นทุนในการเทรดที่นักเทรดต้องแบกรับ ซึ่งหากต้นทุนต่ำก็มีโอกาสที่นักเทรดจะได้กำไรมากขึ้น คอมมิชชั่น (Commission) คือค่าธรรมเนียมที่โบรกเกอร์ CFD เรียกเก็บเป็นต้นทุนคงที่จากนักเทรดเพื่อเป็นค่าดำเนินงาน ทำให้ไม่ว่านักเทรดซื้อขายเท่าไหร่ก็ต้องแบกรับต้นทุนก่อนเป็นอย่างแรก แต่โบรกเกอร์ CFD บางราย เช่น โบรกเกอร์ MiTrade ไม่มีการคิดค่าคอมมิชชั่นจากลูกค้า ส่วนสเปรด (Spread) คือ ส่วนต่างระหว่างราคาซื้อ (Bid) และราคาขาย (Ask) ในช่วงเวลาหนึ่ง ทำให้นักเทรดต้องซื้อขายที่ราคาพรีเมี่ยม (Premium) ที่เพิ่มเติมมาเล็กน้อย ซึ่งเป็นรายรับของโบรกเกอร์ ทั้งนี้โบรกเกอร์บางแห่งจะคิดค่าธรรมเนียมในทั้งสองรูปแบบโดยแบ่งตามสินทรัพย์ที่นักเทรดใช้ เช่น หากมีการเทรดสกุลเงิน ดัชนี สินค้าโภคภัณฑ์และสกุลเงินดิจิทัลจะคิดค่าธรรมเนียมจากสเปรด หากเทรดหุ้นจะคิดค่าธรรมเนียมจากคอมมิชชั่น เป็นต้น

ขนาดของสัญญา (Deal size) จะมีค่ามาตรฐาน (lots) ที่แตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของสินค้าอ้างอิง ซึ่งมักจะอ้างอิงไปกับขนาดของสัญญาที่มักจะเทรดกันจริง ๆ ในตลาด ตัวอย่างเช่น โลหะเงินมักจะเทรดกันที่ขนาด 5,000 ออนส์ต่อสัญญา ทั้งในตลาดฟิวเจอร์สและตลาด CFD เป็นต้น

ระยะเวลาการถือสัญญา (Duration) โดยทั่วไปสัญญา CFD ไม่มีวันหมดอายุ ดังนั้นนักเทรดจึงสามารถเปิดและถือสถานะสัญญา CFD ไปได้เรื่อย ๆ จนกว่าจะมีการสั่งปิดสัญญา เช่น ถือ Long 500 สัญญา ก็ปิดได้ด้วยการสั่ง Short 500 สัญญา หรือ ถือ Short 500 สัญญา ก็ปิดได้ด้วยการสั่ง Long 500 สัญญา

โดยปกติแล้ว CFD เป็นเครื่องมือสำหรับการเทรดระยะสั้นแบบไม่ข้ามคืน แต่หากนักเทรดต้องการถือจนข้ามช่วงปิดตลาดในเวลา 22.00 น. ตามเวลาของประเทศอังกฤษ หรือประมาณช่วงตี 4.00 น. ตามเวลาของประเทศไทย สัญญา CFD ที่ถูกเปิดทิ้งไว้ข้ามคืนจะถูกคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมที่เราเรียกกันว่า สว็อป (Swap) หรือค่าธรรมเนียมการถือคำสั่งข้ามคืน ซึ่งต้นทุนตัวนี้นักเทรดมือใหม่ต้องระวังให้ดีเชียว!

ประโยชน์ของการซื้อขายดัชนีหุ้นแบบ CFD

แม้ว่าการเทรด CFD จะนับเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงสูง แต่ก็มีโอกาสทำกำไรที่สูงมากเช่นกัน เราสามารถสรุปประโยชน์จากการเลือกเทรดสัญญาการซื้อขายส่วนต่าง หรือ CFD ได้ดังนี้

1. สามารถสร้างผลกำไรได้ทั้งทิศทางราคาขาขึ้นและทิศทางราคาขาลง ไม่ว่าราคาในตลาดกำลังจะเป็นขาขึ้นหรือขาลง

2. ใช้เงินลงทุนน้อย แต่อาจได้กำไรจากเงินลงทุนมหาศาล ด้วยการเทรดแบบอัตราทด (Leverage) ที่ทำให้นักเทรดไม่จำเป็นต้องวางเงินลงทุนเป็นจำนวนมาก แต่ก็สามารถคาดหวังผลกำไรจากขนาดสัญญาที่มีมูลค่าสูงได้ ซึ่งนอกจากจะเพิ่มโอกาสในการทำกำไรแล้ว ก็ยังช่วยให้นักเทรดเข้าถึงการเทรดสินค้าชนิดต่าง ๆ ได้ด้วยเงินลงทุนที่ไม่มากด้วย

3. มีสภาพคล่องสูง เป็นการตัดสินใจการลงทุนได้ด้วยตัวคุณเองแบบวินาทีต่อวินาที โดยข้อมูลราคาเป็นราคาตามเวลาจริงของตลาดโลกที่เกิดขึ้น

4. มีการประกันความเสี่ยงด้วยการ Headging ดังที่ได้อธิบายไว้ในด้านบน ทำให้ไม่ต้องขายสัญญาทิ้งทั้งหมด เพื่อไปซื้อสัญญาอีกประเภทหนึ่งในทิศทางตรงกันข้าม

5. สามารถเทรดได้ตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน ทุกที่ทุกเวลา ด้วยแล็ปท็อปหรือโทรศัพท์มือถือ

6. สามารถเทรดสินค้าหลากหลายชนิดได้ด้วยการใช้เพียง 1 บัญชี แค่ล็อกอินเข้าสู่บัญชี CFD นักเทรดจะสามารถเลือกสินค้าได้มากมายไม่ว่าจะเป็นสกุลเงิน สินค้าโภคภัณฑ์ หุ้น ดัชนี รวมทั้งสกุลเงินดิจิทัล โดยที่ไม่จำเป็นต้องเปิดบัญชีแยกให้เสียเวลา

7. สามารถรับรู้ผลกำไรและถอนเงินได้ทันที เพราะมีระบบถอนเงินแบบ T+0 ไม่เหมือนกับการซื้อขายตราสารทางการเงินรูปแบบอื่น เช่น หุ้น หรือกองทุน ที่นักลงทุนจำเป็นต้องรอเวลาให้ระบบจัดการผลกำไรและคำสั่งถอนเงินให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งมักใช้เวลา 1-2 วัน (T+1 หรือ T+2) แต่สำหรับการเทรด CFD นักเทรดสามารถรับรู้ผลกำไรได้ทันทีหลังจากปิดสถานะ และจำนวนเงินเหล่านั้นก็เป็นเงินที่สามารถส่งคำสั่งถอนได้ทันที ทันใจ และทันใดนั่นเอง

ตัวอย่างโลกแห่งความเป็นจริงของดัชนีหุ้น CFD

ในที่นี้ขอยกตัวอย่างในการเทรดสกุลเงิน GBPUSD 1 ล็อตมาตรฐาน (100,000 GBP) กับ Mitrade ที่ราคา 1.39226 ด้วยสัดส่วนอัตราทดที่ 1:200 การเปิดสถานะนี้จะมีอัตราส่วนเงินวางประกัน (Margin) เริ่มต้นที่ 0.5% ของมูลค่าสัญญาทั้งหมด โดยเราเพียงฝากเงินเข้าไปในบัญชี $696.13 ก็สามารถเริ่มเทรดได้แล้ว

สำหรับการเทรด CFD นั้นมีการกำหนดเงินวางประกัน (Margin) ไว้ 2 ชนิด คือ

1. เงินวางประกันในการเปิดสัญญา (Deposit Margin) เป็นเงินวางขั้นต่ำสำหรับการเปิดสัญญาหนึ่ง ๆ

2. เงินวางประกันในการรักษาสถานะสัญญา (Maintenance Margin) เป็นเงินวางขั้นต่ำสำหรับการรักษาสถานะสัญญาเอาไว้ ซึ่งหากมูลค่าสัญญาลดต่ำกว่าเงินวางประกันในการรักษาสถานะสัญญา  สัญญาในบัญชีก็จะถูกบังคับปิด (Force Sell) โดยอัตโนมัติ และรับรู้เป็นผลขาดทุนทันที ดังนั้นเราควรวางเงินประกันในการรักษาสถานะสัญญานี้เอาไว้ให้เพียงพออยู่เสมอ

สำหรับการคำนวณผลกำไรขาดทุนจากการเทรด CFD นั้น เราต้องคิดจากขนาดของสัญญาทั้งหมดคูณด้วยส่วนต่างระหว่างราคาที่เปิดและปิดสัญญา 

การซื้อ Long CFD : กำไร/ขาดทุน = ( ราคาปิด – ราคาเปิด ) x ล็อตในการเทรด x ขนาดสัญญา

การซื้อ Short CFD : กำไร/ขาดทุน =  ( ราคาเปิด – ราคาปิด ) x ล็อตในการเทรด x ขนาดสัญญา

เช่น การคำนวณกำไร/ขาดทุนจากการเปิดสัญญา Long ทองคำ CFD จำนวน 1 Lot ที่ราคา $1800 และปิดได้ที่ราคา $1850
เราขะสามารถคำนวณกำไร/ขาดทุนได้ดังนี้ = (1850-1800)x1x100 = $5,000

ทั้งนี้การคำนวณผลกำไรให้ได้ผลถูกต้องใกล้เคียงที่สุด ยังจะต้องมีรวมค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่ต้องจ่ายเพิ่มเติมเข้าไปอีกด้วย เช่น ค่าธรรมเนียมการถือสถานะข้ามคืน ค่าคอมมิชชั่น สเปรด หรือค่าธรรมเนียมการรับประกันการปิดสถานะ (Guaranteed stop fees) ซึ่งหากนักเทรดเลือกโบรกเกอร์ที่เสนอค่าธรรมเนียมต่ำ ก็จะเหลือผลกำไรมากตามไปด้วย

และอย่างที่ได้กล่าวไปก่อนนี้ว่า CFD เป็นเครื่องมือสำหรับการเทรดระยะสั้นแบบไม่ข้ามคืน สัญญา CFD ที่ถูกเปิดทิ้งไว้ข้ามคืนจะถูกคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมที่เราเรียกกันว่า สว็อป (Swap) หรือค่าธรรมเนียมการถือคำสั่งข้ามคืนซึ่งคำนวณได้ดังนี้

สูตรการคำนวณค่าธรรมเนียมการถือคำสั่งข้ามคืนของ Mitrade =  ล็อตในการเทรด x ขนาดสัญญา x ราคาเปิด x ค่าธรรมเนียมการถือคำสั่งซื้อขายข้ามคืน (%) 

ตัวอย่างเช่น การเทรด CFD กับโบรกเกอร์ MiTrade มีการคิดค่าธรรมเนียมการถือคำสั่งซื้อข้ามคืน 0.0304 % ค่าธรรมเนียม และการถือคำสั่งขายข้ามคืนคือ 0.0293 %

การถือคำสั่งซื้อข้ามคืนจำนวน 5 lots จะต้องเสียค่าธรรมเนียม = 5x1x53.5×0.0304 % = $0.081 ต่อวัน

การถือคำสั่งขายข้ามคืนจำนวน 5 lots จะต้องเสียค่าธรรมเนียม = 5x1x53.5×0.0293 % = $0.078 ต่อวัน

แต่ตามปกติแล้วเรทค่าธรรมเนียมตัวนี้นักเทรดไม่จำเป็นต้องคำนวณเอง เนื่องจากแพลตฟอร์มการเทรดจะคำนวณและหักในกำไรอัตโนมัติอยู่แล้ว อย่าลืมนะ! ว่าเป็นช่วงตี 4 ในเมืองไทย ถ้าไม่อยากโดยคิดค่าธรรมเนียมในส่วนนี้ อย่าถือข้ามตี 4 เป็นเด็ดขาด!!!

MiTrade

ข้อดีของการเทรดดัชนีหุ้น CFD กับ Mitrade

โบรกเกอร์ผู้ให้บริการเทรด CFD ปัจจุบันยังไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายไทย เราจึงต้องเผชิญความเสี่ยงกับการโบรกเกอร์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากมาย ซึ่งมีทั้งผู้ที่ให้บริการอย่างเป็นมืออาชีพและมิจฉาชีพที่หวังจะฉกฉวยเงินลงทุนทั้งหมดของนักเทรดไป ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของเงินลงทุน นักเทรดจึงควรหาข้อมูลและรีวิวโบรกเกอร์ที่ให้บริการซื้อขาย CFD ให้ดีก่อนตัดสินใจเปิดบัญชี และควรเลือกเฉพาะโบรกเกอร์ที่ได้รับการกำกับดูแลจากหน่วยงานที่มีอำนาจในต่างประเทศเท่านั้น

Mitrade ได้รับอนุญาตและควบคุมอย่างเคร่งครัดโดยหน่วยงานกำกับดูแลหลายแห่ง Mitrade Holding ได้รับอนุญาตและควบคุมโดย Cayman Islands Monetary Authority (CIMA) และหมายเลขใบอนุญาต SIB คือ 1612446 Mitrade Global ได้รับอนุญาตและควบคุมโดย Australian Securities and Investments Commission (ASIC) และถือใบอนุญาตบริการทางการเงินของออสเตรเลีย (AFSL 398528) เราจึงวางใจได้ในความตรงไปตรงมาของแพลตฟอร์มนี้ ที่มีเป้าหมายในการให้บริการการเทรดอย่างยุติธรรม มีประสิทธิภาพ และมีความโปร่งใส ปราศจากข้อจำกัดทางระยะทางและเวลา รวมทั้งเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านการเงินที่มีชื่อเสียงโด่งดังในตลาดโลก

ที่เราเลือกลงทุนกับ Mitrade ก็เพราะว่าเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานได้ง่าย มีระบบป้องกันเงินทุนติดลบที่ดี ค่าสเปรดก็ต่ำ แถมไม่มีค่าคอมมิชชั่น ส่วนฝ่ายบริการลูกค้าออนไลน์ก็ใส่ใจดูแลดีสุด ๆ ให้ข้อมูลตรงไปตรงมา เขาแจ้งถึงความเสี่ยงที่เราต้องเผชิญ หวังให้เราได้รับกำไรจริง และมาลงทุนกับเขาเรื่อย ๆ เป็นนักเทรดกันในระยะยาว ไม่หวังกอบโดยผลประโยชน์ระยะสั้นจากเราลูกเดียวเหมือนกับที่อื่น ๆ ซึ่งเราเคยลองเทรดแปปเดียวก็เลิกแล้ว ตั้งแต่ใช้ Mitrade มาก็ประทับใจมาก ๆ เลยที่หนึ่งในใจ ถ้าเพื่อน ๆ สนใจลองไปเปิดบัญชีและเริ่มต้นเทรดกันได้เลยที่ https://www.mitrade.com/th ขอบอกว่าของเขาดีจริง ๆ แหละ!!!

**คำเตือน การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

เนื้อหาในบทความเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับประกอบการตัดสินใจก่อนการลงทุนเท่านั้น ผู้อ่านควรศึกษาปัจจัยประกอบจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งก่อนการตัดสินใจ และใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลในการพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ลงทุนที่เหมาะสมแก่ท่าน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

รับฟรีทันที! เงินเสมือนจริง $50,000 เพื่อฝึกฝนการเทรดกับ Mitrade!