ดัชนีดาวโจนส์คืออะไร

ดัชนีดาวโจนส์ หรือ Dow Jones Index เป็นคำศัพท์ที่วนเวียนในหน้าหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์อยู่เสมอ และเป็นดัชนีที่พบบ่อยมากสำหรับนักลงทุน บทความนี้จะช่วยให้คุณข้าใจเกี่ยวกับดัชนีดาวโจนส์ว่าคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรบ้าง

ดัชนีดาวโจนส์ คืออะไร

ดาวโจนส์เป็นธุรกิจบริษัทการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งขึ้นในปี 1882 โดย ชาลส์ ดาว และเอ็ดเวิร์ด โจนส์ที่นำคำว่า ดาวและโจนส์มารวมกัน นอกจากมีความโด่งดังจากดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (DJIA) แล้ว ทางบริษัทยังมีดัชนีอื่น ๆ อีกมากมายอีกด้วย ผลงานหลักที่สามารถเห็นได้ชัดเจนได้แก่ DJIA ติดตามบริษัทมหาชนกว่า 30 บริษัทในสหรัฐอเมริกาที่เป็นหนึ่งในดัชนีหุ้นที่มีคนดูมากที่สุดในโลก อีกทั้งยังขาย DJIA และดัชนีอื่น ๆ ให้กับ S&P Dow Jones Indices LLC ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้าระหว่าง S&P Global และ CME Group

หน้าที่หลักของดาวโจนส์คือการเป็นดัชนีตลาดหุ้นที่วัดประสิทธิภาพหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ 30 แห่งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา

ทำความรู้จักกับดาวโจนส์ (Dow Jones)

สิ่งแรกที่ควรทำความรู้จักเกี่ยวกับดัชนีดาวโจนส์ คือการรู้จักกับตัวตนที่แท้จริงอันเป็นที่มาสำคัญของคำนี้

ผู้ก่อตั้งดาวโจนส์มีมากกว่าหนึ่งคน ประกอบด้วย ชาลส์ ดาว, เอ็ดเวิร์ด โจนส์ และ ชาลส์ เบิร์ดสเตสเซอร์ จุดเริ่มต้นของบริษัทเริ่มจากการที่ชาลส์ ดาวเชื่อว่านักลงทุนควรมีมาตรฐานที่สามารถชี้ชัดได้ว่า ตลาดหุ้นจะขึ้นหรือลง ที่สามารถพยากรณ์ตลาดหุ้นได้โดยพื้นญานจากราคาหุ้นประเภทต่าง ๆ ตาม หากอ้างอิงตามทฤษฎีของ ชาลส์ ดาว แนวโน้มขาขึ้นของหุ้นอุตสาหกรรมควรได้รับการยืนยันจากหุ้นในกลุ่มขนส่งที่เพิ่มขึ้นในลักษณะเดียวกัน 

ในปี 2020 Dow Jones & Company ยังคงเป็นแหล่งข่าวทางการเงินที่สำคัญ สิ่งตีพิมพ์รวมถึง MarketWatch, Barron’s และ The Wall Street Journal ยิ่งไปกว่านั้น ข่าวการเงินเหล่านี้ยังคงรักษาความเป็นอิสระอย่างมากจาก News Corp. ในทางกลับกัน Dow Jones & Company ไม่ได้ควบคุมดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ( Dow Jones Averages) ที่สร้างขึ้นในตอนแรกโดยตรงอีกต่อไป ค่าเฉลี่ยดาวโจนส์เป็นของ S&P Dow Jones Indices LLC ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง S&P Global และ CME Group

ดังนั้น ความหมายโดยสรุปของดัชนีดาวโจนส์คือการรวมกลุ่มราคาหุ้น 30 หุ้นที่ซื้อขายมากที่สุดในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) และ Nasdaq เป็นดัชนีที่ช่วยให้นักลงทุนกำหนดทิศทางโดยรวมของราคาหุ้นได้ ในแง่ของตลาดหุ้น ดัชนีดาวโจนส์เป็นวิธีหนึ่งในการวัดทิศทางโดยรวมของตลาดหุ้น รวมราคาหุ้น 30 ตัวที่มีการซื้อขายกันมากที่สุด เมื่อดัชนีดาวโจนส์อยู่ในช่วงขาขึ้น จะถือเป็นตลาดกระทิง และหุ้นส่วนใหญ่มักจะทำได้ดี เมื่อดัชนีดาวโจนส์ขาลง จะเป็นตลาดหมี และหุ้นส่วนใหญ่มักจะขาดทุน

ลักษณะที่เกี่ยวข้องของดัชนีดาวโจนส์

สำหรับ DJIA เป็นดัชนีหุ้นที่ได้รับการเฝ้าระวังมากที่สุดในโลก พร้อมกันกับบริษัท Apple, Boeing, Microsoft และ Coca-Cola เป็นต้น

การเปิดตัวครั้งแรกของ DJIA มีเพียง 12 บริษัทที่เป็นภาคอุตสาหกรรมโดยหลักเท่านั้น จนกระทั่งได้ขยายตัวไปจนถึง 30 บริษัท บริษัทดั้งเดิมดำเนินการในกลุ่มรถไฟ ฝ้าย ก๊าซ น้ำตาล ยาสูบ และน้ำมัน อีกทั้งผลการดำเนินการของบริษัททำให้เกิดความเข้าใจในวงกว้างว่ามีความเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโดยรวมส่วนใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้ท้ายที่สุดดัชนีดาวโจนส์กลายเป็นตัวชี้วัดความเข้มแข็งของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาไปโดยปริยาย

ดัชนีดาวโจนส์ -  Dow Jones Indices

บริษัทองค์ประกอบของดัชนีดาวโจนส์ 2021

ตารางด้านล่างนี้เป็นรายชื่อบริษัทที่รวมอยู่ในดัชนีดาวโจนส์ อัปเดตล่าสุดปี 2021

บริษัท
สัญลักษณ์หุ้น
ปีที่เพิ่ม
3M
MMM
1976
American Express
AXP
1982
Amgen
AMGN
2020
Apple Inc.
AAPL
2015
Boeing
BA
1987
Caterpillar
CAT
1991
Chevron
CVX
2008
Cisco Systems
CSCO
2009
The Coca-Cola Company
KO
1987
Dow Inc.
DOW
2019
Goldman Sachs
GS
2013
The Home Depot
HD
1999
Honeywell
HON
2020
IBM
IBM
1979
Intel
INTC
1999
Johnson & Johnson
JNJ
1997
JPMorgan Chase
JPM
1991
McDonald’s
MCD
1985
Merck & Co.
MRK
1979
Microsoft
MSFT
1999
NIKE
NKE
2013
Proctor & Gamble
PG
1932
Salesforce
CRM
2020
The Travelers Companies
TRV
2009
UnitedHealth Group
UNH
2012
Verizon
VZ
2004
Visa
V
2013
Walmart
WMT
1997
Walgreens Boots Alliance
WBA
2018
The Walt Disney Company
DIS
1991

ย้อนหลังวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ของดัชนีดาวโจนส์

• 12 .. 1906 : ดัชนีดาวโจนส์ปิดตลาดที่ระดับ 100.25 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ดัชนีปิดตลาดเหนือระดับ 100 จุด มีสาเหตุมากที่ทำให้ดัชนีดาวโจนส์ทรุดตัวในปี 1929 ได้แก่ การเก็งกำไรในตลาดหุ้น ซึ่งทำให้ราคาพุ่งขึ้นเหนือปัจจัยพื้นฐาน, ราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ

 28-29 .. 1929 : สู่ระดับ 230 ซึ่งคิดเป็นการร่วงลงถึง 23.6% โดยการทรุดตัวดังกล่าวได้นำไปสู่การเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในสหรัฐ

 8 .. 1932 : ดัชนีดาวโจนส์แตะระดับต่ำสุดที่ระดับ 41.22 จุด ส่งผลให้มูลค่าตลาดหายไปถึง 89.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลา 2 ปีครึ่งก่อนหน้านี้ โดยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจซบเซาในสหรัฐ ซึ่งทำให้มีคนตกงานมากถึง 12 ล้านคน บริษัท 20,000 แห่ง และธนาคารมากกว่า 1,600 แห่งประสบภาวะล้มละลาย

• 15 มี.. 1933 : การเพิ่มขึ้นของดัชนีในหนึ่งวันสูงสุดที่เกิดขึ้นในยุคตลาดหมีช่วงปี 1930 รวมเป็น 15.34 เปอร์เซ็นต์ Dow Jones เพิ่มขึ้น 8.26 จุดและปิดที่ 62.10 จุด

 19 .. 1987 : มีการลดลงคิดเป็นเปอร์เซ็นต์สูงสุดเกิดขึ้นในวัน Black Monday ดัชนีดาวโจนส์ตกลงอย่างหนัก 508 จุด ร้อยละ 22.61 จุด ทำสถิติปรับตัวลงมากที่สุดภายในวันเดียวนับตั้งแต่มีการก่อตั้งดัชนี ทำให้มูลค่าตลาดหายไปถึง 22.6% คิดเป็นวงเงิน 5 แสนล้านดอลลาร์

 16 มี.. 2000 : ดัชนีดาวโจนส์ทำสถิติพุ่งขึ้นมากเป็นประวัติการณ์ โดยทะยานขึ้น 499.19 จุด หรือปรับตัวขึ้นเกือบ 5% จากการดีดตัวขึ้นของหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยี

 17 .. 2001 : มีการลดลงต่ำสุดในรอบหนึ่งวันครั้งที่สี่ และเป็นครั้งสูงสุดในเวลานั้นซึ่งเกิดขึ้นในวันแรกของการซื้อขายหลังจากมีการโจมตี 9/11 ที่นิวยอร์ก Dow Jones Index ลดลง 684.81 จุด อย่างไรก็ตามดัชนีได้ลดลงอยู่ก่อนแล้วก่อนเหตุการณ์ในวันที่ 11 ก.ย. โดยลดลงมากกว่า 1,000 จุด ระหว่าง 2 ม.ค. และ 10 ก.ย. DJIA เริ่มถูกฉุดต่ำลงหลังจากการถูกโจมตี และตีกลับขึ้นมาเหนือจุดต่ำสุดได้อีกโดยปิดเหนือ 10,000 จุดชึ่งถือเป็นประวัติการณ์ของปีนั้น

 3 พฤษภาคม 2013 : Dow Jones Index เกิน 15,000 จุดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

 25 .. 2017 : Dow Jones Index ปิดเหนือ 20,000 จุดเป็นครั้งแรก

 4 .. 2018 : Dow Jones Index ปิดที่ 25,075.13 จุด ปิดเหนือ 25,000 จุดครั้งแรก

 17 .. 2018 : Dow Jones Index ปิดที่ 26,115.65 จุด ปิดเหนือ 26,000 จุดครั้งแรก

 5 .. 2018 : Dow Jones Index ลดลง 1,175.21 จุด

 21 .. 2018 : Dow Jones Index ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 26,743.50 จุด

 26 .. 2018 : Dow Jones Index บันทึกการเพิ่มขึ้นสูงสุดในหนึ่งวันที่ 1,086.25 จุด

 11 ก.ค. 2019 : Dow Jones Index ทะลุ 27,000 จุดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

 2 .. 2019 : หุ้นสหรัฐฯ ปิดบวก ดาวโจนส์พุ่ง 1.5% น้ำมันดิ่งแรง-ทองคำร่วงเกือบ 2% ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดการซื้อขายวันที่ ในแดนบวก โดยดัชนีดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 454.84 จุด หรือราว 1.6% ปิดที่ 29,100.50 จุด

 3 มี.ค. 2020 : ดัชนีดาวโจนส์ปิดร่วงลงกว่า 700 จุด เนื่องจากนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ธนาคารกลางสหรัฐฯประกาศลดอัตราดอกเบี้ยฉุกเฉินลง 0.5%

 24 ส.ค. 2020 : ดัชนีดาวน์โจนส์ (DJIA) ประกาศปรับดัชนี เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 10 ปี ผลมาจากการแตกพาร์หุ้น Apple (AAPL) ที่ส่งผลให้น้ำหนักฝั่งเทคฯของดัชนีลดลง

 21 ธ.. 2020 : ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีการฟื้นตัวที่เป็นแรงหนุนจากคำพูดของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่เกิดจากสถานการณ์ไม่ล็อกดาวน์ ปิดการซื้อขายในแดนบวก โดยดัชนีดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 560.4 จุด หรือราว 1.60% ปิดที่ 35,492.70 จุด

 8 .. 2022 : ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันศุกร์ (7 ม.ค.) และปรับตัวลงในสัปดาห์แรกของปีใหม่นี้ เนื่องจากนักลงทุนขายหุ้นออกมาท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐ และการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน

ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 36,231.66 จุด ลดลง 4.81 จุด หรือ -0.013%

วิธีการคำนวณดาวโจนส์

การคำนวณดาวโจนส์ หรือ Dow divisor เป็นค่าตัวเลขที่ใช้คำนวณระดับของดัชนีดาวโจนส์ หรือ DJIA การคำนวณเริ่มต้นที่เทียบเท่ากับจำนวนหุ้นทั้งหมดโดยเฉลี่ย ซึ่งเท่ากับ 30 ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม Dow divisor ก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกันเนื่องจากความจำเป็นสำหรับการคำนวณหุ้นที่แยกออกมาและบริษัทที่รวมอยู่ในค่าเฉลี่ยนี้ด้วย

วิธีการคำนวณดาวโจนส์ 

เป็นสิ่งที่ควรทำความเข้าใจว่าค่าเฉลี่ยของ DJIA ไม่ใช่ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Average) หรือเป็นการแสดงถึงต้นทุนแต่ละบริษัท หากแต่เป็นการระบุถึงการชี้เฉพาะราคาหุ้น, ต่อหุ้น สำหรับแต่ละบริษัท โดย Dow Divisor เป็นองค์ประกอบสำคัญของ DJIA

ระหว่างปี 1986 และ 2018 Dow divisor มีค่าต่ำกว่า 1 ในปี 2018-2019 ดาวโจนส์ มีค่าเท่ากับ  0.14748071991788 หมายความว่า สำหรับทุก ๆ การเปลี่ยนแปลงของราคาใน $1 จะเท่ากับการเคลื่อนไหว 6.781 จุดในตลาด

สูตรการคำนวณ

DJIA= Σp / d

p = หุ้นองค์ประกอบ

d = Dow divisor

ตัวอย่างเช่น สมมติว่าคุณสรุปราคาของ หุ้นองค์ประกอบ 30 ส่วนของ DJIA และได้ราคาเท่ากับ 4,001 สมมติว่า Dow divisor ตั้งไว้ที่ 0.147: โดยใช้ตัวหารนี้ ทุก ๆ 1 ดอลลาร์สหรัญที่ราคามีการเปลี่ยนแปลงในหุ้นตัวใดตัวหนึ่งภายในค่าเฉลี่ยจะเท่ากับการเคลื่อนไหวของจุด 6.8 (หรือ 1 ÷ 0.147)

การหารตัวเลขนี้ด้วย Dow divisor ที่ 0.147 จะให้ระดับดัชนีที่ 27,218 โปรดทราบว่าคุณหารด้วย Dow divisor ไม่ใช่ตัวเลข 30 ซึ่งเป็นจำนวนชื่อในดัชนี

ความสำคัญของดัชนีดาวโจนส์ 

DJIA เป็นดัชนีชี้วัดตลาดหุ้นที่มีคนติดตามอย่างกว้างขวางที่สุดในแหล่งข่าวการเงิน กระแสหลักของสหรัฐอเมริกา และแหล่งข่าวนอกสหรัฐ มีการวัดกิจกรรมตลาดหุ้นในวงกว้างมากขึ้น รวมถึงดัชนี S&P 500 ซึ่งติดตามราคาหุ้นของบริษัทชั้นนำ 500 แห่งของสหรัฐอเมริกา และ Wilshire 5000 ซึ่งตรวจสอบหุ้นของบริษัทในสหรัฐอเมริกาทั้งหมดที่มีกิจกรรมราคาที่วัดได้ กระนั้น เมื่อมีการประกาศข่าวว่าราคาตลาดขึ้นหรือลง โดยทั่วไปมักอ้างอิงถึงดัชนีดาวโจนส์  

ความสำคัญของดัชนีดาวโจนส์ สามารถแบ่งแยกประเด็นได้ดังนี้

  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (DJIA) เป็นหนึ่งในดัชนีตลาดหุ้นที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ซึ่งประกอบด้วยบริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐอเมริกามากถึง 30 บริษัท
  • แม้จะมีการวิพากษ์วิจารณ์บ้าง แต่ดาวโจนส์ ยังคงได้รับการเคารพอย่างสูง ซึ่งเป็นมาตรวัดที่เชื่อถือได้ของตลาดหุ้นโดยรวมและภาพรวมเศรษฐกิจหรัฐอเมริกา
  • แม้ว่าคุณจะไม่สามารถลงทุนใน DJIA ได้ แต่คุณสามารถซื้อกองทุนดัชนีที่ติดตามหรือซื้อหุ้นแต่ละตัวได้

ความสำคัญอื่น ๆ ได้แก่  อิทธิพลและอำนาจของดาวโจนส์ที่ดำรงอยู่ในตลาดหุ้นตลาดหุ้นที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับสอง และยังสามารถสะท้อนถึงการเคลื่อนไหวของตลาดยักษ์ใหญ่ เช่น Microsoft Boeing IBM และ Coca Cola เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่สำคัญ แม้ว่าจะไม่ได้มีหุ้นมากเท่ากับดัชนีอื่น ๆ แต่นักลงทุนจำนวนมากมองว่าดัชนีดาวโจนส์ 30 เป็นมาตรวัดเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา

จะลงทุนในดัชนีดาวโจนส์ได้อย่างไร

คุณไม่สามารถซื้อหุ้นในดัชนีดาวโจนส์ได้โดยตรง แต่คุณสามารถเปิดรับพอร์ตโฟลิโอต่อประสิทธิภาพขอดัชนีดาวโจนส์ และบริษัทต่างๆ ที่รวมอยู่ในดัชนี ตัวเลือกการลงทุนของคุณประกอบด้วยดังต่อไปนี้

ซื้อหุ้นของบริษัททั้ง 30 แห่งที่รวมอยู่ในดัชนีดาวโจนส์ 

ด้วยดัชนีเพียง 30 บริษัทที่ปรากฏในดัชนี จึงเป็นไปได้ที่จะซื้อหุ้นของแต่ละบริษัทโดยตรง โบรกเกอร์ส่วนใหญ่ไม่เรียกเก็บค่าคอมมิชชั่นในการเทรด และมีหลายแห่งอนุญาตให้ลงทุนหุ้นแบบเศษส่วน ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถซื้อหุ้นบางส่วนได้ ทางเลือกในการลงทุนนี้กำหนดให้คุณต้องจัดการหุ้น 30 ตัวแยกกัน และทำการเปลี่ยนแปลงพอร์ตโฟลิโอของคุณทุกครั้งที่ดัชนีเปลี่ยนแปลง

ซื้อหุ้นที่เน้นดัชนีดาวโจนส์ในกองทุน ETF 

กองทุน ETF ที่ติดตามผลการดำเนินงานของดัชนีดาวโจนส์ เช่น Elements Dow Jones High Yield Select 10 Total Return Index (DOD) และ ProShares Ultra Dow30 (DDM) ให้พอร์ตการลงทุนกับ 30 บริษัทที่จดทะเบียนโดยดาวโจนส์ได้อย่างง่ายดาย การซื้อหุ้นใน ETF นั้นง่ายกว่าการลงทุนในบริษัท 30 แห่งที่แยกจากกัน และคุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงพอร์ตโฟลิโอของคุณเมื่อบริษัทที่จดทะเบียนโดยดาวโจนส์เกิดการเปลี่ยนแปลง

ลงทุนดาวโจนส์ใน CFD หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (futures contracts)

คุณสามารถซื้อสัญญาดาวโจนส์ใน CFD หลักทรัพย์ประเภทนี้เหมาะที่สุดสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการลงทุนที่มีความรู้เกี่ยวกับตลาดหุ้นพอสมควร เนื่องจาก CFD และฟิวเจอร์สสามารถทำกำไรจากเลเวอเรจได้ แต่ก็สามารถสร้างความเสียหายได้มากเช่นกัน

สรุป

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าเมื่อรายงานผลการดำเนินงานประจำวันของตลาดหุ้น ผู้เชี่ยวชาญมักจะอ้างอิงถึงดัชนี DJIA หรือดัชนี S&P 500 แม้ว่า DJIA จะเป็นดัชนีที่ตรงเป้าหมายมากของบริษัทเพียง 30 แห่ง แต่ดัชนี S&P 500 นั้นกว้างกว่ามาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ดัชนี S&P 500 เป็นดัชนีที่ติดตามประสิทธิภาพของบริษัท 500 แห่งที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

ดัชนีดาวโจนส์

ธุรกิจหลักของ S&P 500 คือการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่นักลงทุนสามารถใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการตัดสินใจว่าบริษัทใดควรค่าแก่การลงทุนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่รู้จักดัชนีนี้จากดัชนีของบริษัทขนาดใหญ่ในอเมริกา 500 แห่ง ด้วยเหตุนี้ ดัชนีจึงแสดงถึงขอบเขตเศรษฐกิจโดยรวมที่กว้างกว่าบริษัท 30 แห่งในดัชนีดาวโจนส์ 

S&P 500  จึงต่างจาก ดัชนีดาวโจนส์ที่บริษัทต่าง ๆ จะได้รับการถ่วงน้ำหนักในดัชนีตามมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของบริษัท บริษัทที่มีมูลค่าต้นทุนใหญ่ เช่น Apple มีผลกระทบต่อดัชนีมากกว่าบริษัทขนาดเล็กกว่า เช่น Mattel เป็นต้น

จากที่กล่าวข้างต้น ดัชนีดาวโจนส์ยังเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของสหรัฐอเมริกา ที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ ดังนั้น แม้ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนที่ยังใหม่สำหรับการลงทุนในตลาดการเงิน คุณสามารถเริ่มการเรียนรู้การซื้อขายขั้นพื้นฐานที่โดยส่วนมากจะมีการให้บริการจากโบรกเกอร์ที่คุณเลือก นอกจากนี้ คุณยังสามารถเลือกโบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือ ไม่มีค่าคอมมิชชั่น และเลเวอเรจที่คุณต้องการได้

**คำเตือน การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

เนื้อหาในบทความเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับประกอบการตัดสินใจก่อนการลงทุนเท่านั้น ผู้อ่านควรศึกษาปัจจัยประกอบจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งก่อนการตัดสินใจ และใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลในการพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ลงทุนที่เหมาะสมแก่ท่าน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

รับฟรีทันที! เงินเสมือนจริง $50,000 เพื่อฝึกฝนการเทรดกับ Mitrade!