สรุปภาพรวม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เมื่อเราเริ่มสนใจในลงทุน การเล่นหุ้น แต่อาจจะยังมีความสับสนเกี่ยวกับรายละเอียดของตลาดหุ้นอยู่ หรือแม้แต่ดูสรุปภาพรวมการตลาดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศยังไม่เป็น ยังไม่เข้าใจว่าตัวเลขแต่ละอย่างที่แสดงอยู่คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะมาดูรายละเอียดเกี่ยวกับความหมายของปัจจัยวิเคราะห์ต่าง ๆ ในการสรุปภาพรวมตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปพร้อม ๆ กัน

สำหรับในบทความฉบับนี้ เราจะใช้ตัวอย่างของการดูสรุปภาพรวมตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเว็บไซด์ทางการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราอาจจะดูการดูสรุปภาพรวมตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจากเว็บไซด์อื่น หรือแอพพลิเคชั่นอื่น ๆ

The Stock Exchange of Thailand
มาจาก https://marketdata.set.or.th/mkt

การดูสรุปภาพรวมตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจากเว็บไซด์อื่น หรือแอพพลิเคชั่นอื่น ๆ ก็ได้เช่นกัน

จากภาพนั้นเราจะมาทำความรู้จักกับปัจจัยชี้วัดต่าง ๆ ที่แสดงไว้ประกอบกับการวิเคราะห์และพิจารณาสรุปภาพรวมตลาดหลักทรัพย์ ดังนี้

ความหมายของ“ดัชนี SET Index”

SET Index หรือ ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมายถึง ดัชนีที่สะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมด โดยคำนวณมาจากหุ้นสามัญที่จดทะเบียนไว้ในตลาดหลักทรัพย์ฯ  ซึ่งตัวเลขดัชนี้จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละวัน เปรียบเสมือนตัวชี้วัดให้นักลงทุนเห็นภาพรวมของตลาดหุ้นในแต่ละวัน ว่ามีตัวเลขเป็นเช่นไร มากหรือน้อยลงกว่าค่าเปรียบเทียบในช่วงเวลาอื่น ๆ เช่น เทียบกับเมื่อวาน เทียบกับเดือนที่แล้ว หรือปีที่แล้ว เป็นต้น

สูตรการคำนวณดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ (SET Index)

The Stock Exchange of Thailand-1

นอกจากดัชนี SET Index แล้ว ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ยังมีดัชนีตัวอื่นอีก ยกตัวอย่าง เช่น

SET50 คือ ดัชนีสะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นสามัญ 50 ตัวแรก ซึ่งคัดเลือกมาจากกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตามราคาตลาด และสภาพคล่องในการซื้อขายสูงสุด 50 อันดับแรก

SET100 คือ ดัชนีที่สะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นสามัญ 100 ตัว โดยคัดเลือกกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) และสภาพคล่องในการซื้อขายสูงสุด 100 อันดับแรก

SETHD คือ ดัชนีที่สะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นสามัญ 30 ตัว โดยคัดเลือกมูลค่าราคาตลาดที่มีอัตราจ่ายเงินปันผลสูง และมีสภาพคล่องสม่ำเสมอ

sSET คือ ดัชนีที่สะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นสามัญ ที่อยู่นอกเหนือดัชนี SET50 และ SET100 โดยเป็นหุ้นที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ในลำดับที่ 90% ขึ้นไป แต่ต้องไม่เกินลำดับที่ 98% สภาพคล่องในการซื้อขายสูงสม่ำเสมอ และมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด  

SETCLMV  คือ ดัชนีที่สะท้อนการเคลื่อนไหวราคาของกลุ่มหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีรายได้จากประเทศในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม) โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ พิจารณารายได้จากประเทศในกลุ่ม CLMV จากข้อมูลล่าสุดที่บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งรวมถึงข้อมูลรายละเอียดแหล่งรายได้ที่บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยในงบการเงินประจำปี แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และข้อมูลที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ

SETTHSI คือ ดัชนีสะท้อนความเคลื่อนไหวราคาหุ้นยั่งยืน (Thailand Sustainability Investment : THSI)  เป็นบริษัทที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน มีความโดดเด่นในด้านของ ESG โดยมีการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียอย่างครอบคลุม ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล

SETWB คือ ดัชนีที่สะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น 30 ตัว ใน 7 หมวดธุรกิจที่โดดเด่น ซึ่งนักลงทุนชาวต่างชาติจะห้ความสนใจ เกี่ยวกับการเติบโตของธุรกิจเหล่านี้ เพราะมีผลในการขยายตัว GDP ซึ่งนำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับคนในประเทศ  

SETTRI คือ ดัชนีผลตอบแทนรวมที่คิดจากผลตอบแทนทุกประเภทของการลงทุน ไม่ว่าจะเป็น เงินปันผล (Dividend) ส่วนต่างราคา (Capital Gain / Loss) และสิทธิในการจองซื้อหุ้น (Right) ซึ่งจะแตกต่างจากดัชนีทั่วไปที่จะสะท้อนเฉพาะผลตอบแทนจากส่วนต่างราคา

MAI คือ ดัชนีสะท้อนภาวะการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ  ส่วนมากจะเป็นหุ้นของบริษัทขนาดเล็ก หรือ SME รวมถึงธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีการเติบโตที่ค่อนข้างสูง แต่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดในระดับที่ต่ำ และมีสภาพคล่องการซื้อขายที่น้อยเช่นกัน  

นอกจากดัชนี้ที่แสดงผลในตารางแล้วยังมี ค่าการเปลี่ยนแปลง และเปอร์เซ็นต์ % ของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะมีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละวัน ตามความผันผวนตามดัชนี

The Stock Exchange of Thailand-7

ราคาสูงสุด-ต่ำสุด ที่แสดงผลในตารางหมายถึงอะไร

การกำหนดราคาเสนอซื้อขายสูงสุดและต่ำสุดของหลักทรัพย์ โดยตลาดหลักทรัพย์ได้กำหนดให้ราคาเสนอซื้อเสนอขายหลักทรัพย์ในแต่ละวันเป็นดังนี้

ราคาซื้อขายหลักทรัพย์ทั่วไป สามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 30 ของราคาปิดวันก่อนหน้า

การซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีผู้ถือหุ้นเป็นชาวต่างชาติ  ราคาซื้อขายสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มหรือลดลงได้สูงสุด ไม่เกินร้อยละ 60 ของราคาปิดวันก่อนหน้าของหลักทรัพย์หลัก

ปัจจัยอื่นๆอีกที่สำคัญที่ควรรู้ ได้แก่

การคำนวณค่าสถิติหลักต่าง ๆ

การคำนวณค่าสถิติหลักต่าง ๆ ซึ่งได้ถูกกำหนดเงื่อนไขในการคำนวณค่าสถิติหลักต่างๆ ดังนี้

1. ในการคำนวณค่าสถิติของแต่ละหมวดธุรกิจ แต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม  และสำหรับภาพรวมของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะเลือกใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Average) ตามมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม (Market Capitalization)

2. ค่าสถิติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะถูกคำนวณบนพื้นฐานของผลการดำเนินงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา โดยจะอิงจากตัวเลขที่ประกาศในงบการเงินล่าสุด

มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization)

มูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) หรืออาจจะเรียกง่ายๆว่า Market Cap เป็นการนำเอาค่าที่คำนวณจากการนำราคาปิดของหลักทรัพย์ที่จดทะเบียน X จำนวนหลักทรัพย์จดทะเบียนปัจจุบัน  ซึ่งมูลค่านี้ จะแสดงให้ผู้ลงทุนเห็นถึงขนาดและความน่าสนใจของการลงทุนกับตลาดหลักทรัพย์นั้นๆ ทั้งในด้านของสภาพคล่อง ปริมาณ และประเภทสินค้าที่เลือกลงทุน  โดยในการคำนวณมูลค่าตามราคาตลาดรวมของหลักทรัพย์จดทะเบียน จะครอบคลุมหลักทรัพย์ประเภทหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ และใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญ (วอร์แรนท์) โดยมีสูตรการคำนวณ ดังนี้

มูลค่าตามราคาตลาด = ราคาปิดของหุ้น x ปริมาณหุ้นจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ

อัตราการหมุนเวียนการซื้อขาย (Turnover Ratio)

อัตราการหมุนเวียนการซื้อขาย (Turnover Ratio) คือ อัตราส่วนที่ใช้ในการวัดปริมาณในการซื้อขายหุ้น โดยเทียบกับปริมาณหุ้นที่จดทะเบียน (หน่วยเป็นร้อยละ) เพื่อแสดงให้เห็นถึงสภาพคล่องในการซื้อขายของหลักทรัพย์ โดยอัตราส่วนนี้ยิ่งมีค่าสูง จะแสดงถึงการเคลื่อนไหวของการซื้อ-ขาย ว่ามีมูลค่าที่สูง โดยมีสูตรการคำนวณ

The Stock Exchange of Thailand-2

อัตราส่วนราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น (Price to Earning : P/E)

อัตราส่วนราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น คือ อัตราส่วนทางการเงินที่เทียบกันระหว่าง ราคาตลาดของหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น หรือเข้าใจง่ายๆ ก็คือการนำเอาราคาหุ้น หารด้วย กำไรต่อปี เพื่อเป็นการประมาณจุดคุ้มทุนให้กับผู้ลงทุน ซึ่งค่านี้สามารถนำมาเปรียบเทียบได้ทั้งหุ้นรายตัว และสภาพตลาดโดยรวม

overview-stock-exchange-of-thailand-7
The Stock Exchange of Thailand-3

นอกจากนี้แล้วถ้าหาก หุ้นมีแนวโน้มของกำไรที่เพิ่มมากขึ้น หรือ ที่เรียกว่า Growth Stock หุ้นเหล่านี้จะมี P/E สูง แต่ถ้าหากต้องการดูว่าสูงเกินกว่าราคามากเกินไปหรือเปล่า ซึ่งต้องดูที่ P/E ไม่ให้เกินการขยายตัวของกำไร เช่น คาดว่าหุ้นจะ มีกำไรโต 10% ต่อปี ก็ไม่ควรมี P/E เกิน 10 เท่า หรือนำ P/E หารด้วย Growth ถ้าได้ต่ำกว่า 1 มากเท่าไร ก็จะยิ่งดี

หุ้นที่มีสภาพคล่องดี มักมี P/E สูงกว่า พวกหุ้นที่มี Market Cap ใหญ่ๆ และซื้อขายปริมาณมากในแต่ละวัน

อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี (Price to Book Value : P/BV)

อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี Price to Book Value : P/BV เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่เทียบระหว่าง ราคาตลาดของหุ้นสามัญ ต่อ มูลค่าทางบัญชีของหุ้นสามัญ 1 หุ้น ซึ่งอัตราส่วนนี้จะแสดงให้เห็นว่า ราคาหุ้น ณ ขณะนั้น สูงเป็นกี่เท่าของมูลค่าทางบัญชี  ซึ่งมูลค่าทางบัญชีคือส่วนของผู้ถือหุ้นที่เราจะได้รับทันทีหากบริษัทเลิกกิจการ ยิ่ง P/BV มีค่าสูงจะแสดงให้เห็นว่าผู้ลงทุนทั่วไปในตลาด คาดหวังว่า บริษัทดังกล่าวมีศักยภาพที่จะเติบโตสูง ขณะเดียวกันก็แสดงถึงระดับความเสี่ยงที่สูงด้วย โดยมีสูตรการคำนวณดังนี้

The Stock Exchange of Thailand-4

อัตราเงินปันผลตอบแทน (%) (Dividend Yield)

อัตราเงินปันผลตอบแทน (%) (Dividend Yield)  เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้เปรียบเทียบระหว่าง เงินปันผลต่อหุ้น เทียบกับราคา  ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนทราบว่า เมื่อลงทุนซื้อหุ้น ณ ราคาตลาดในปัจจุบัน จะได้รับเงินปันผลตอบแทนจากการลงทุนในอัตราคิดเป็นร้อยละเท่าไร จากราคาหุ้นที่ซื้อ ซึ่งหากหุ้นตัวใดมีอัตราเงินปันผลตอบแทนที่สูง แสดงว่าจะให้ผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลสูง ซึ่งวิธีการเปรียบเทียบนี้ นักลงทุนมักจะใช้ในการเปรียบเทียบระหว่างหุ้นแต่ละตัว เพื่อที่จะได้ดูว่าในหุ้นแต่ละตัว ตัวใดมีความน่าสนใจ  

The Stock Exchange of Thailand-5

% การเปลี่ยนแปลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์

% การเปลี่ยนแปลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ เกิดจากการที่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของหลักทรัพย์ที่ใช้ในการคำนวณ เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นของหลักทรัพย์ที่เป็นผลมาจากเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มทุนของบริษัท การแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ และใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิเพื่อซื้อหุ้นสามัญของบริษัท เป็นต้น

โดยสรุปแล้วการเข้าใจในภาพรวมของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะช่วยให้ผู้ลงทุนมีความเข้าใจในสภาพของการตลาดมากยิ่งขึ้น และช่วยให้ผู้ลงทุนรู้ว่าควรที่จะไปลงทุนที่ไหนเพื่อให้เกิดกำไรที่ดียิ่งขึ้น วางแผนให้มีความคุ้มทุนกับเงินที่ลงทุนลงไปได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตอีกด้วย เราเหล่านักลงทุนจึงควรทบทวนภาพรวมของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่อย่างสม่ำเสมอเพื่อประเมินสถานการณ์ในระดับมหภาค แล้วนำมาคิดคำนวณกลยุทธ์ในการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเองและเหมาะสมกับสถานการณ์ตลาดในช่วงนั้น ๆ ต่อไป

มาเทรดสัญญาส่วนต่าง CFD กับ Mitrade กันดีกว่า

1. Mitrade ค่าคอมมิชชั่น 0 ให้คุณทำกำไรได้มากขึ้น

2. Mitrade ปัจจุบันมีลูกค้ามากกว่า 1,100,000+ รายทั่วโลก

3. Mitrade มีขนาดซื้อขายต่ำสุดคือ 0.01 ล็อต

4. Mitrade มีฝ่ายบริการลูกค้าออนไลน์ภาษาไทยตลอด 24 ชั่วโมงใน 5 วันทำการ

5. Mitrade รองรับการฝากเงินและถอนเงินผ่านธนาคารไทยได้

6. Mitrade มีระบบป้องกันเงินทุนติดลบ

7. Mitrade เป็นโบรกเกอร์สัญชาติออสเตรเลีย Forex และ CFD ที่นิยมมากที่สุดในหมู่นักลงทุนไทย

8. Mitrade ควบคุมโดยหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติตามกฏระเบียบที่เข้มงวดและให้บริการด้วยความโปร่งใส

The Stock Exchange of Thailand-6

**คำเตือน การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

เนื้อหาในบทความเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับประกอบการตัดสินใจก่อนการลงทุนเท่านั้น ผู้อ่านควรศึกษาปัจจัยประกอบจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งก่อนการตัดสินใจ และใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลในการพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ลงทุนที่เหมาะสมแก่ท่าน

One Comment

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

รับฟรีทันที! เงินเสมือนจริง $50,000 เพื่อฝึกฝนการเทรดกับ Mitrade!