ดัชนี SET50 และ ดัชนี SET100 คืออะไร

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักคำว่า “ดัชนี (Index)” กันก่อน ดัชนีแปลว่า ตัวชี้ ตัววัด หรือตัวเลขทางสถิติที่สะท้อนการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของค่าต่าง ๆ ตัวอย่างของดัชนีที่เรามักจะได้ยินในชีวิตประจำวัน เช่น ดัชนีราคาหุ้น ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ดัชนีเงินเฟ้อ ดัชนีมวลกาย ดัชนีอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น
Table of Contents
ดัชนี SET50 คืออะไร
เรามักจะได้ยินเกี่ยวกับดัชนี SET50 และ SET100 จากที่ไหนกันบ้าง
พวกเราหลาย ๆ คน มักจะได้ยินเกี่ยวกับดัชนี SET50 และ SET100 กันบ่อย ๆ คุ้นหูคุ้นตาอยู่ทุกวัน จากหน้าหนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้นใน Social Media รายงานข่าวเศรษฐกิจประจำวัน นอกจากนี้หากเราลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย โบรกเกอร์ของเราก็มักจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับดัชนี SET50 และ SET100 ซึ่งเราสามารถตรวจสอบการจัดอันดับดัชนี SET50 และ SET100 ในแพลตฟอร์มการลงทุนอยู่แล้ว
มีใครสงสัยกันไหมว่า ดัชนี SET50 และ SET100 คืออะไรกันแน่ และมีความแตกต่างกันอย่างไร เราลองมาทำความรู้จักกับดัชนี SET50 และ SET100 กันในบทความนี้ไปพร้อม ๆ กัน เลย
คำว่า SET ย่อมาจาก “Stock Exchange of Thailand” ที่แปลว่า “ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” ปัจจุบันดำเนินงานภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มีหน้าที่หลักในการรับหลักทรัพย์จดทะเบียนและกำกับดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่บนถนนรัชดาภิเษก
โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะทำการจัดอันดับหลักทรัพย์ SET50 ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) สูงสุด 50 ลำดับแรก โดยพิจารณาจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเฉลี่ยต่อวันย้อนหลัง และจะมีการปรับรายชื่อทุก ๆ 6 เดือนต่อเนื่องเพื่อให้ข้อมูลทันสมัยและเป็นปัจจุบันที่สุด
SET50 เป็นดัชนีราคาหุ้นที่จะสะท้อนภาพรวมของตลาดหุ้นไทยว่ากำลังเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด ตลาดเป็นขาขึ้นหรือขาลง จากราคาหุ้นสามัญ 50 อันดับแรกในตลาดหลักทรัพย์ที่มี มูลค่าตลาดสูง และมีสภาพคล่องสูง
ดัชนี SET100 คืออะไร
นอกจาก SET50 แล้ว ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยังจัดทำกลุ่มดัชนี SET100 ซึ่งเป็นดัชนีราคาหุ้นที่จะสะท้อนภาพรวมของตลาดหุ้นไทยว่ากำลังเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด ตลาดเป็นขาขึ้นหรือขาลง จากราคาหุ้นสามัญ 100 อันดับแรกในตลาดหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดสูง และมีสภาพคล่องสูง โดยพิจารณาจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเฉลี่ยต่อวันย้อนหลังเป็นเวลา 3 เดือน และจะมีการปรับรายชื่อทุก ๆ 6 เดือนต่อเนื่องเพื่อให้ข้อมูลทันสมัยและเป็นปัจจุบันที่สุดเช่นเดียวกันกับ SET50 เพียงแต่นับอันดับรวมเข้าไปถึง 100 ลำดับแรก แทนที่จะตัดที่ 50 ลำดับแรกเท่านั้น

แล้ว SET50 ต่างกับ SET100 อย่างไร
SET50 จะมุ่งดูลำดับของจุดยอดที่แคบกว่าของภาพรวมหลักทรัพย์ไทยมากกว่า SET100 ที่จะเห็นภาพได้กว้างยิ่งกว่า หุ้นที่สามารถเข้าไปอยู่ใน SET50 ได้ มักจะมีมูลค่าราคาตลาดสูงมาก ส่วน SET100 เป็นหุ้นที่มีขนาดรองลงมาจาก SET50
การเลือกใช้ดัชนี SET50 หรือ SET100 เราต้องพิจารณาให้เหมาะสมว่าเราต้องการเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่ยอดนิยมเพียงใด มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดมากน้อยเพียงใด จะเลือกใช้ 50 ลำดับแรก หรือ 100 ลำดับแรก โดยให้ดูความแตกต่างของลำดับที่ 51-100 ใน SET100 ประกอบกันด้วยเพื่อให้เห็นภาพการเคลื่อนไหวของหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เป็นอย่างดียิ่งขึ้น


การปรับรายการหลักทรัพย์
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะกำหนดให้มีการพิจารณาทบทวนรายชื่อหลักทรัพย์ที่ใช้ในการคำนวณ SET50 Index และ SET100 Index ทุกๆ 6 เดือน โดยจะแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ช่วงต่อปี คือ ช่วงแรกในช่วงเดือนมิถุนายน (สำหรับรายชื่อที่ใช้ในช่วงครึ่งหลังของปี) โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่ 1 มิถุนายนปีก่อนหน้า ถึง 31 พฤษภาคมของปีที่ทำการคัดเลือก และช่วงที่สองคือช่วงเดือนธันวาคม (สำหรับรายชื่อที่ใช้ในช่วงครึ่งแรกของปีถัดไป) โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่ 1 ธันวาคมปีก่อนหน้า ถึง 30 พฤศจิกายนของปีที่ทำการคัดเลือกหลักทรัพย์ใหม่
สำหรับหลักทรัพย์ที่จะเป็นองค์ประกอบของดัชนี SET50 และดัชนี SET100 ในแต่ละรอบทบทวนจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. เป็นหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) สูงสุด 200 ลำดับแรก โดยพิจารณาจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเฉลี่ยต่อวันย้อนหลัง 3 เดือน ทั้งนี้ ในกรณีของหลักทรัพย์ ที่ได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงรายชื่อหลักทรัพย์ระหว่างรอบที่มีข้อมูลมูลค่าหลักทรัพย์ ตามราคาตลาดไม่ถึง 3 เดือน จะพิจารณามูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเฉลี่ยต่อวันย้อนหลังตั้งแต่ วันที่หลักทรัพย์นั้นเข้าจดทะเบียนซื้อขาย
2. เป็นหลักทรัพย์ที่มีสัดส่วนผู้ถือหลักทรัพย์รายย่อย (Free-float) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุนชำระแล้ว โดยพิจารณาข้อมูลล่าสุดตามรอบระยะเวลาในการทบทวน
3. เป็นหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยมูลค่าซื้อขายของหลักทรัพย์นั้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อหลักทรัพย์ของหลักทรัพย์ประเภทหุ้นสามัญทั้งตลาดในเดือนเดียวกัน เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 9 ใน 12 เดือน หรือไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 สำหรับหลักทรัพย์ที่เข้าซื้อขายน้อยกว่า 12 เดือน แต่มากกว่า 6 เดือน ทั้งนี้ กรณีหลักทรัพย์ที่ได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงรายชื่อ หลักทรัพย์ระหว่างรอบ มูลค่าซื้อขายของหลักทรัพย์นั้นต้องผ่านเกณฑ์ดังกล่าวเป็นระยะเวลาไม่น้อย กว่า 3 ใน 4 ของระยะเวลาที่หลักทรัพย์เข้าซื้อขาย
4. เป็นหลักทรัพย์ที่มีจำนวนหุ้นซื้อขายไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นจดทะเบียนของหลักทรัพย์ นั้น ๆ ในเดือนที่มูลค่าซื้อขายของหลักทรัพย์ผ่านเงื่อนไขตามข้อ
5. หากมีจำนวนหลักทรัพย์ที่ผ่านเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นน้อยกว่า 105 หลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะ ดำเนินการดังต่อไปนี้
ลดอัตราส่วนของมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อหลักทรัพย์จากร้อยละ 50 ลงครั้งละร้อยละ 5 ทั้งนี้ การลดอัตราส่วนของมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อหลักทรัพย์ต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 |
ลดจำนวนเดือนที่หลักทรัพย์ต้องผ่านเกณฑ์ด้านมูลค่าการซื้อขายจาก 9 เดือน ลงครั้งละ 1 เดือน ทั้งนี้ ต้องไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ยกเว้นหลักทรัพย์ที่ได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์ การเปลี่ยนแปลงรายชื่อหลักทรัพย์ระหว่างรอบ |
ลดอัตราส่วนของจำนวนหุ้นที่มีการซื้อขายจากร้อยละ 5 ลงครั้งละร้อยละ 0.5 ทั้งนี้ ต้อง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1 |
อนึ่ง เพื่อให้ได้หลักทรัพย์ครบตามจำนวนที่กำหนด ตลาดหลักทรัพย์ฯ อาจพิจารณาปรับลดอัตราส่วน ของมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อหลักทรัพย์ หรืออัตราส่วนของจำนวนหุ้นที่มีการซื้อขายลงอีก ทั้งนี้ เป็นไป ตามที่คณะทำงานด้านดัชนีเห็นว่าเหมาะสม
หลักทรัพย์ที่ผ่านคุณสมบัติข้างต้น จะได้รับการจัดลำดับตามมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเฉลี่ย โดยหลักทรัพย์ในลำดับที่ 1-50 จะเป็นหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของดัชนี SET50 และหลักทรัพย์ในลำดับที่ 1-100 จะเป็นหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของดัชนี SET100
สิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับดัชนี SET50 และดัชนี SET100
นอกจากดัชนี SET50 และดัชนี SET100 จะใช้ในการเปรียบเทียบผลตอบแทนจากการลงทุน (Performance Benchmark) แล้วยังใช้เป็นดัชนีอ้างอิง (Underlying Index) ในการพิจารณาลงทุนในสัญญาการซื้อขายส่วนต่าง CFD หรือ Contract for Difference ได้อีกด้วย ว่าจะเปิดคำสั่ง Short หรือ Long เนื่องจากเมื่อพิจารณาภาพรวมแล้ว เราจะทราบว่าตลาดกำลังเป็นขาขึ้นหรือขาลง ทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์จากดัชนีในการกระจายการลงทุน กระจายความเสี่ยงและสร้างกลยุทธ์การลงทุนได้อย่างหลากหลาย ซึ่งหากเราดูเทรนด์ของดัชนี SET50 และ SET100 อยู่เป็นประจำแล้ว เราจะสามารถวางแผนการจัดพอร์ตการลงทุนเพื่อให้ได้รับผลกระทบในตลาดขาลงให้ได้น้อยที่สุด
ถ้าเพื่อน ๆ ยังไม่เคยลงทุน CFD มาก่อนเพื่อน ๆ ต้องระมัดระวังในการเลือกโบรกเกอร์ผู้ให้บริการเทรด CFD เป็นพิเศษ เนื่องจากการเทรด CFD นั้นในปัจจุบันยังไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายไทย เพื่อน ๆ ควรเลือกผู้ที่ให้บริการอย่างเป็นมืออาชีพ หลีกเลี่ยงมิจฉาชีพที่หวังจะฉกฉวยเงินลงทุนของเราไป เราควรหาข้อมูลและรีวิวโบรกเกอร์ที่ให้บริการซื้อขาย CFD ให้ดีก่อนตัดสินใจเปิดบัญชี
ส่วนตัวนั้นเราเคยเทรด CFD กับโบรกเกอร์ทั้ง 10 เจ้าดัง เช่น IG eToro CMC Markets plus500 Mitrade exness octafx AVATrade Pepperstone มาแล้ว จากประสบการณ์นั้น
เราคิดว่า Mitrade สัญชาติออสเตรเลีย มีระบบที่เสถียรและน่าเชื่อถือที่สุดในบรรดาผู้ให้บริการทั้งหมดเพราะว่าเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานได้ง่าย มีภาษาไทย มีระบบป้องกันเงินทุนติดลบหรือระบบ Cut Loss ที่ดี ไม่มีค่าคอมมิชชั่นเลย และค่าสเปรดที่เรียกเก็บก็น้อยมากกว่าที่อื่นมาก
นอกจากนี้ยังมีฝ่ายบริการลูกค้าออนไลน์ที่พูดภาษาไทยได้อีกด้วยซึ่งโบรกเกอร์เจ้าอื่น ๆ มักจะไม่มีบริการช่วยเหลือเทรดเดอร์ตรงนี้ นอกจากนี้ Mitrade ยังได้รับรางวัลมากมาย เช่น ในปี 2019 ได้รับรางวัลโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ที่เติบโตเร็วสุดในออสเตรเลียจากนิตยสาร International Business รางวัลแพลตฟอร์มเทรดบนมือถือที่ดีที่สุดจาก Forex Awards และรางวัลโบรกเกอร์ที่มีนวัตกรรมยอดเยี่ยมจากเว็บไซต์ FxDailyInfo ในปี 2020 อีกด้วย
**คำเตือน การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
เนื้อหาในบทความเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับประกอบการตัดสินใจก่อนการลงทุนเท่านั้น ผู้อ่านควรศึกษาปัจจัยประกอบจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งก่อนการตัดสินใจ และใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลในการพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ลงทุนที่เหมาะสมแก่ท่าน
ใส่ความเห็น