TP กับ SL คืออะไร ตั้งค่ายังไง ในการเทรด Forex

การเทรด Forex แบบเดย์เทรด จะพลาดการทำ Take Profit (TP) และ Stop Loss (SL) ไม่ได้เลย เพราะมันคือหัวใจสำคัญของการเทรดที่มีความผันผวนสูง หรือแม้แต่การเทรดแบบธรรมดาก็อาจจำเป็นต้องตั้งค่า Take Profit และ Stop Loss ไว้ด้วยเช่นกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย และทำกำไรอย่างเหมาะสม วันนี้ Mitrade จะมาแนะนำข้อดี-ข้อเสีย รวมถึงแนวทางการตั้งค่าเพื่อให้คุณสามารถเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้คุณนั้นสามารถควบคุมการขาดทุน และสามารถทำกำไรได้อย่างต่อเนื่อง

Take Profit (TP) คืออะไร?

Take Profit หมายถึงจุดทำกำไร เป็นคำสั่งขายสินทรัพย์ที่มีอยู่เมื่อถึงเงื่อนไขที่กำหนด มีวัตถุประสงค์เพื่อทำกำไรด้วยความเสี่ยงที่น้อยกว่า

อธิบายได้ว่า มันคือจุดที่เราคาดการณ์ว่าจุดนั้นจะเป็นจุดที่ทำกำไรได้อย่างเหมาะสม หรืออาจเป็นจุดที่ดีที่สุดที่เราสามารถทำกำไรได้ จึงมีการตั้งค่าเพื่อให้ดำเนินการ Take Profit หากราคาตลาดขึ้นไปถึงจุดที่เราตั้งค่า เราก็จะทำกำไรได้ในเวลานั้น ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างมาก สามารถลดความเสี่ยงได้ดี อย่างไรก็ตามในบางครั้งจุดทำกำไรหรือ Take Profit อาจไม่ใช่จุดที่ดีที่สุดของตลาดจริง ๆ อาจจะเป็นจุดกึ่งกลาง จุดหนึ่งในสี่ หรือจุดใกล้เคียงของจุดทำกำไรสูงสุดก็ได้ ทำให้การ Take Profit อาจได้กำไรน้อยกว่าการเทรดทั่วไป แต่การเลือก Take Profit จะมีประโยชน์มากกว่า เพราะเราสามารถทำกำไรด้วยความเสี่ยงที่น้อยกว่า ซึ่งค่อนข้างเหมาะสม

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการเทรดมีความไม่แน่นอน มีความผันผวนสูง มีความเสี่ยงเยอะ จึงต้องการความมั่นคงในการเทรด ดังนั้นควรเทรดอย่างมีเหตุผลและปลอดภัย เนื่องจากไม่มีใครคาดการณ์ได้จริง ๆ ว่าจุดไหนคือจุดทำกำไรสูงที่สุด อาจมีบ้างที่เห็นเค้าลางบางอย่าง แต่ก็ไม่มีใครบอกได้ 100% ดังนั้นแล้วการ Take Profit หรือการเลือกจุดทำกำไรที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งถูกต้อง เพราะเราไม่ควรเทรดบนพื้นฐานความโลภโดยหวังว่าราคาสินทรัพย์ที่เราถือจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

Stop Loss (SL) คืออะไร?

Stop Loss หมายถึงจุดหยุดขาดทุน โดยเป็นคำสั่งขายสินทรัพย์ที่มีอยู่เมื่อถึงเงื่อนไขที่กำหนด มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงของการลงทุน ป้องกันไม่ให้เงินทุนสูญเสียเกินกว่าที่รับได้ หรืออาจเป็นจุดหยุดการทำกำไร เพื่อรักษากำไรไม่ให้น้อยลงกว่าที่กำหนด

อธิบายได้ว่า Stop Loss มันคือจุดที่เรายอมรับการสูญเสียทุนหรือสูญเสียเงินกำไรต่ำสุดที่เรายอมรับได้ โดยเฉพาะการเทรด Forex มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องตั้งค่า Stop Loss เพราะยิ่งคุณใช้ Leverage สูง ๆ ยิ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ Stop Loss ไม่เช่นนั้นพอร์ตอาจไม่เหลือมูลค่าเลยก็ได้ 

นอกจากนี้การเทรด Forex มีความผันผวนค่อนข้างมาก ในบางครั้งผลกำไรที่คุณทำได้อาจลดลง การตั้ง Stop Loss ก็คือวิธีหยุดผลกำไรไม่ให้ต่ำลงกว่าจุดที่คุณยอมรับได้ หากในช่วงเวลาหนึ่งคุณทำกำไรไปแล้ว 5 เท่า แต่คุณยังคาดการณ์ว่ามีโอกาสที่จะทำกำไรได้สูงถึง 10 เท่า ถึงอย่างนั้นคุณก็กลัวการสูญเสียผลกำไร จึงตั้งค่า Stop Loss ไว้ที่ 2 เท่า เมื่อตลาดขาลง ต่อให้คุณคาดการณ์ผิดไปไกล ก็ยังสามารถทำกำไรตามจุดต่ำสุดได้อยู่เพราะมี Stop Loss นั่นเอง

นอกจากนี้ Stop Loss กับ Cut Loss มีความใกล้เคียงกัน จนบางครั้งอาจเกิดความสับสน แม้ทั้งคู่จะเป็นจุดหยุดขาดทุนเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันเล็กน้อยดังนี้

Cut Loss เป็นการขายทรัพย์สินแล้วเรายังขาดทุนอยู่ เช่นอาจขายเมื่อทุน -3% -5% หรือ -15% เป็นต้น

Stop Loss เป็นการขาดทรัพย์แล้วเราอาจขาดทุน หรือได้กำไรก็ได้ เช่นอาจขายเมื่อทุนติดลบคล้าย Cut Loss แต่มันมีความเป็นไปได้ สมมติว่าพอร์ตของเราทำกำไรได้แล้ว 10% แต่เรายังอยากเทรดต่อ ตรงนี้อาจมีการตั้ง Stop Loss ที่ +3% +5% ก็ได้ ดังนั้นเมื่อขายทรัพย์สินจริง ๆ เราจะได้กำไร 3% หรือ 5% ก็ได้  ไม่จำเป็นต้องขาดทุนเสมอไป

จะเห็นว่าข้อดีของ Stop Loss นั้นไม่ใช่แค่การหยุดการขาดทุนอย่างเดียว แต่เป็นการปกป้องผลกำไรที่ทำได้อีกด้วย

what-is-tp-and-sl-in-forex

ประโยชน์ของการใช้ Take Profit (TP) และ Stop Loss (SL)

(1) การทำกำไรอย่างมั่นคงและปกป้องเงินลงทุน – ประโยชน์ที่ชัดเจนที่สุดของ Take Profit และ Stop Loss คือการทำกำไรอย่างมั่งคงและปกป้องเงินลงทุนด้วยเหตุผล ไม่ใช่การเทรดด้วยอารมณ์ ความโลภ หรือความอยากเอาชนะพนัน อย่าลืมว่า การเทรดหุ้น เทรด Forex เทรดคริปโทเคอเรนซี หรือการเทรดสินทรัพย์ทางการเงินไม่ใช่การพนัน!  แม้ว่ามันจะมีเรื่องของความเสี่ยงเข้ามาเกี่ยวข้อง และอาจผันผวนสูงจนทำให้หลายคนขาดทุนมากมาย แต่การเทรดทางการเงินไม่ใช่การพนัน อย่ามองว่าแทบไม่ต่างกัน เพราะมันมีหลักการและเหตุผลรองรับอยู่ ซึ่งการ Take Profit และ Stop Loss เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการช่วยหยุดการขาดทุน และสร้างผลกำไรในทางที่ถูกต้องได้

(2) ไม่ต้องจับความเคลื่อนไหวตลอดเวลา – ข้อนี้ก็เป็นอีกข้อสำคัญของเทรดเดอร์แบบเดย์เทรด แม้ว่าการนั่งเฝ้ากราฟ จับตาความเคลื่อนไหวจะช่วยให้คุณสามารถลงทุนได้อย่างถูกต้อง มีเหตุผลรองรับ แต่อย่าลืมว่ามนุษย์ก็ต้องการพักผ่อน ร่างกายมีขีดจำกัด และจำเป็นต้องใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม 

(3) มีแนวทางการเทรดที่ชัดเจน สามารถวัดประสิทธิภาพได้ง่าย – บางครั้งสไตล์การเทรดก็อาจมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป เราอาจไม่รู้ว่าตัวเองเหมาะแบบไหน จึงอาจมีการทดลองเพื่อเปรียบเทียบได้ ถ้าหากต้องการเสี่ยงมาก ๆ  หลังจากเทรด 1 เดือน มีผลอย่างไร ถ้าหากต้องการเสี่ยงน้อย ๆ เทรดอย่างมั่นคง แล้วมีผลอย่างไร มันสามารถนำมาเปรียบเทียบเพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดกับตัวเองได้ อยู่บนพื้นฐานของเหตุผล

อย่างไรก็ตามการ Take Profit และ Stop Loss ก็อาจมีข้อเสียอยู่บ้าง ไม่มีการลงทุนที่แน่นอน และอาจไม่ได้กำไรสูงที่สุด ซึ่งบางครั้งหากเป็นตลาดที่มีการสวิงมาก ๆ ทำให้เกิดการผันผวนอย่างรุนแรง เมื่อเราตั้ง Take Profit และ Stop Loss ผิดจุด ก็อาจทำให้พลาดผลประโยชน์ที่ดีที่สุดไปได้ แต่ขอย้ำว่าตลาดแบบนั้นมักจะเป็นตลาดพนัน เมื่อไม่มีพื้นฐาน ไม่มีเหตุผล คาดเดาไม่ได้ จึงไม่ควรเสี่ยงถึงจะดีที่สุด

ทำไม Stop Loss (SL) จึงสำคัญ หากขาดทุนต้องได้กำไรกลับคืนมากี่เปอร์เซ็นต์จึงจะเท่าทุน

ลองมาคำนวณกันเล่น ๆ ว่าหากมีต้นทุนอยู่ 100,000 บาท แล้วเกิดขาดทุนตามสัดส่วน ต้องทำกำไรทั้งหมดกี่ % จากทุนที่เหลือเพื่อทำให้กลับมาเท่าทุนเดิม

ขาดทุน
ทุนที่เหลือจากการขาดทุน (บาท)
กำไรจากทุนที่เหลือเพื่อเท่าทุนตั้งต้น
5%
95,000
(5,000/95,000)x100% = 5.26%
15%
85,000
(15,000/85,000)x100% = 17.65%
25%
75,000
(25,000/75,000)x100% = 33.33%
50%
50,000
(50,000/50,000)x100% = 100.00%
75%
25,000
(75,000/25,000)x100% = 300.00%
95%
5,000
(95,000/5,000)x100% = 1,900.00%

ถ้าหากใครดูตัวเลขแล้วจะรู้สึกสยองมาก เอาแค่ขาดทุน 50% ก็ต้องเทรดให้ได้ผลกำไรกลับคืนมา 1 เท่าจากทุนที่เหลือ ลองคิดดูว่าปกติเทรดแล้วเคยได้กำไรมากขนาดนี้อยู่กี่ครั้ง ?

แล้วถ้าขาดทุน 75% ต้องเอากำไรกลับคืนมาถึง 3 เท่าจากทุนที่เหลือ ซึ่งกว่าจะเทรดให้ได้ 3 เท่าของทุนตั้งต้น คุณเคยทำได้กี่ครั้ง และใช้เวลากี่เดือน ?

ยิ่งไปกว่านั้นถ้าขาดทุนถึง 95% ต้องเอากำไรกลับคืนมาถึง 19 เท่าจากทุนที่เหลือ ซึ่งการเทรดมีกี่ครั้งที่คุณสามารถทำเงินได้สูงขนาดนั้น ? ต่อให้เทรดหลายครั้ง เทรดรวมกันก็ต้องใช้เวลานานมาก ๆ หรืออาจเป็นไปไม่ได้ด้วยซ้ำ ยกเว้นว่าคุณจะมีทุนเสริม

หลักการทำงานของ Take Profit (TP) และ Stop Loss (SL)

  • Take Profit

  เราจะกำหนดจุดที่คาดการณ์ว่าจะทำกำไร โดยแต่ละคนก็อาจใช้วิธีต่างกัน แต่โดยทั่วไปใช้เป็นเปอร์เซ็นต์จากทุนตั้งต้น เช่น คิดที่ 10% จากเงินทุน เมื่อราคาตลาดถึงจุดที่กำหนด โปรแกรมก็จะดำเนินการขายสินทรัพย์ทันทีเพื่อกำไร และเราก็สามารถรับกำไรได้ 10% โดยไม่ต้องกังวลว่าตลาดจะผันผวนเพียงใด

  • Stop Loss

เราจะกำหนดจุดขาดทุนสูงสุดที่เรายอมรับได้ แม้ว่าผลของการคาดการณ์ตลาดจะไม่ถูกต้องก็จะสามารถปกป้องเงินทุนและผลกำไรได้ โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 กรณี คือ

(1) อยู่ในสภาวะขาดทุน   

หากขาดทุนสูงถึง -5% หรือ -10% จะขายทรัพย์สินเพื่อหยุดการขาดทุนทันทีซึ่งขึ้นกับสไตล์การลงทุนของบุคคลนั้นว่าจะกำหนดจุด Stop Loss ไว้ที่จุดใด

(2) อยู่ในสภาวะได้กำไร

หากได้กำไรอยู่แล้ว 10% แต่ยังคาดการณ์ว่าจะได้กำไรอีกเป็น 20% จึงลงทุนต่อไป อย่างไรก็ตามผลลัพธ์อาจไม่แน่นอน จึงตั้งเอาไว้ว่าเมื่อตลาดถึงจุดได้กำไรเพียง 5% จะดำเนินการขายทรัพย์สินเพื่อปกป้องผลกำไรทันที

what-is-tp-and-sl-in-forex

จะหาจุด Take Profit (TP) และ Stop Loss (SL) ? ยังไงดี ใช้อะไรเป็นมาตรฐาน ?

การ Take Profit และ Stop Loss จะขึ้นกับความพึงพอใจของนักลงทุนเป็นหลัก อาจจะใช้เหตุผลหรืออาจจะใช้ดวงในการกำหนดค่าก็ได้ อย่างไรก็ตามต่อให้คุณใช้ดวงคุณก็จะไม่สูญเสียมากจนเกินไป หรือถ้าหากคุณใช้การคาดคะเนจากการวิเคราะห์ข่าว มันก็สามารถปกป้องผลกำไรของคุณได้เป็นอย่างดี ซึ่งหลายคนก็มักจะยึดหลักสัดส่วนของกำไรและความเสี่ยงในการประกอบการพิจารณา เช่น ยึดกำไร 1.5 เท่าของความเสี่ยง นอกจากนี้อาจจะเป็นสายกราฟเทคนิคก็ได้ ดังนั้นคุณก็สามารถเลือกกำหนดจุด Take Profit และ Stop Loss ตามสไตล์ของคุณได้เลย

อย่างไรก็ตามหากสนใจเทคนิคที่แม่นยำขึ้น เราก็จะแนะนำเทคนิคที่นักลงทุนส่วนใหญ่เลือกใช้กันสำหรับการเลือกจุด Take Profit และ Stop Loss โดยจะแบ่งออกเป็นดังนี้

  • พิจารณาจุด Take Profit และ Stop Loss ผ่านแนวรับ-แนวต้าน
  • พิจารณาจุด Take Profit และ Stop Loss ผ่านฟีโบนัชชี
  • พิจารณาจุด Take Profit และ Stop Loss ผ่าน Indicator

ตัวอย่างการใช้ Take Profit (TP) และ Stop Loss (SL)

ลองมาดูตัวอย่างกัน สมมติว่าคุณมีเงินลงทุนอยู่ 10,000 บาท หากไม่ตั้ง Take Profit มันก็มีความเป็นไปได้ที่คุณอาจจะได้รับผลกำไร 5% 10% 15% 30% 60% หรือ 100% แต่คุณไม่มีทางมั่นใจได้เลยว่าจุดนั้นเป็นจุดทำกำไรสูงสุดจริง ๆ ทำให้คุณรับทราบแค่การเคลื่อนไหวของเงินลงทุนเท่านั้น แม้พอร์ตเขียวโตเกือบ 100% คุณก็คิดว่ายังทำกำไรได้ ดังนั้นจึงไม่ปิดคำสั่งเพราะคาดการณ์ว่าราคามันจะสูงขึ้นกว่านี้ แต่ในเวลาสั้น ๆ จากผลกำไร 50% อาจลดเหลือ 20% และคุณยังคงคิดว่าเดี๋ยวกำไรก็เด้งกลับคืน ทำให้คุณยังมีความเชื่อมั่นใจการลงทุนของคุณอยู่ ซึ่งอาจตะไม่ตั้งอยู่บนหลักการและเหตุผล แต่อาศัยอารมณ์และความเชื่อล้วน ๆ ผลลัพธ์จึงทำให้กำไรลดลงเป็น 0% หรืออาจหนักถึงขั้น -5% แต่ขณะนั้นเองคุณก็ยังเชื่อว่าตลาดผันผวนสูง และกำลังกลับมาเป็นขาขึ้น คุณก็ยังนิ่งเฉยกลับสิ่งที่เกิดขึ้น ในที่สุดพอร์ตของคุณก็ติดลบ 20% และยังคิดที่จะเอาชนะพนันอยู่ สุดท้ายพอร์ตก็อาจติดลบ 50% หรือไม่มีค่าเลยก็ได้

อย่างไรก็ตามถ้าหากคุณตั้ง Take Profit ไว้ที่ 20% จากเงินทุนที่มี 10,000 บาท ก็จะเป็น 12,000 บาท ไม่ใช่ 5,000 บาท หรือ 0 บาท

ในทำนองเดียวกัน ถ้าหากคุณตั้ง Stop Loss ไว้ที่ผลกำไร 50% ในขณะกำไรอยู่ที่ 100% ต่อให้คุณคาดเดาทิศทางตลาดคลาดเคลื่อนหรือผิดทาง จากเงินทุนที่มี 10,000 บาท ก็ยังจะได้เป็น 15,000 บาท ไม่ใช่ 5,000 บาท หรือ 0 บาท

ดังนั้นคุณก็จะสามารถปกป้องเงินลงทุนและผลกำไรได้ ซึ่งคุณจะสามารถนำเงินลงทุนก้อนใหม่เพื่อใช้สำหรับเทรดต่อไป หากมีการขาดทุนเกิดขึ้นก็ปกป้องเงินทุนได้อย่างดี

สรุป

การ Take Profit (TP) และ Stop Loss (SL) เป็นหัวใจสำคัญของเทรดเดอร์ Forex โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเทรดที่มีความผันผวนสูง ๆ มีการตั้งค่า Leverage สูง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกำหนดจุดทำกำไรและจุดหยุดขาดทุนอย่างเหมาะสม โดยสามารถเลือกได้ตามสไตล์ที่เหมาะสมกับตนเองเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด

หากพิจารณาจากตารางในหัวข้อที่ 4 จะยิ่งทำให้รู้ว่าการขาดทุนนั้นโหดร้ายเพียงใด ยิ่งขาดทุนมาก ยิ่งต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการทำกำไร

Mitrade จึงขอแนะนำให้ผู้ลงทุนใช้กระบวนการ Take Profit (TP) และ Stop Loss (SL) จึงจะดีที่สุด เพราะสามารถทำให้คุณมั่นใจในการทำกำไรอย่างมั่นคง ปกป้องผลกำไรของคุณ และลดความเสี่ยงที่จะสูญเสียทุนทั้งหมดไว้ได้

เทรด Forex กับโบรกเกอร์ที่เชื่อถือได้และตอบโจทย์ความต้องการของคุณ ซึ่ง Mitrade อาจเป็นโบรกเกอร์ที่ใช่สำหรับคุณ

ทำไมถึงเทรดกับ Mitrade

  • Mitrade มีการดำเนินการซื้อขายที่ง่าย สะดวกและรวดเร็ว
  • Mitrade มีระบบป้องกันเงินทุนติดลบ เครื่องมือการจัดการความเสี่ยง
  • Mitrade ควบคุมโดยหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติตามกฏระเบียบที่เข้มงวดและให้บริการด้วยความโปร่งใส
  • Mitrade มีแพลตฟอร์มรูปแบบที่ง่ายต่อการใช้งาน
  • Mitrade ให้บริการด้วยความจริงใจพร้อมให้การสนับสนุนเพื่อแก้ปัญหาและให้คำแนะนำ 24 ชั่วโมง ตลอด 5 วันทำการ
  • Mitrade ค่าคอมมิชชั่น 0 และด้วยการที่มีสเปรดต่ำ จะช่วยประยัดต้นทุนของนักลงทุน

what-is-tp-and-sl-in-forex

**คำเตือน การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

เนื้อหาในบทความเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับประกอบการตัดสินใจก่อนการลงทุนเท่านั้น ผู้อ่านควรศึกษาปัจจัยประกอบจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งก่อนการตัดสินใจ และใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลในการพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ลงทุนที่เหมาะสมแก่ท่าน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

รับฟรีทันที! เงินเสมือนจริง $50,000 เพื่อฝึกฝนการเทรดกับ Mitrade!