Blockchain คืออะไร และวิธีการลงทุนใน Blockchain?

ในทศวรรษปัจจุบัน หากเราติดตามการธนาคาร การลงทุน หรือสกุลเงินดิจิทัลในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เราอาจเคยได้ยินคำว่า “Blockchain หรือ บล็อกเชน” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลที่อยู่เบื้องหลังการเทรด Bitcoin หากเราต้องการที่จะลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลหรือคริปโตเคอเรนซีให้ประสบความสำเร็จ เราต้องรู้จักเทคโนโลยี ในการทำงานจัดเก็บข้อมูลแบบ Blockchain ที่อยู๋เบื้องหลังสกุลเงินดิจิทัลต่าง ๆ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน บทความนี้เราจะมาอธิบายให้เพื่อน ๆ เข้าใจว่า Blockchain มีความสำคัญอย่างไรบ้าง
Table of Contents
Blockchain คืออะไร
Blockchain บล็อกเชน คือ ก้อนหรือลูกบาศก์ ลองคิดถึงตัวต่อในเกมส์ที่เป็นบล็อก ๆ หรือเป็นกล่อง ๆ มาเรียงกันดู ส่วน Chain (เชน) แปลว่า สายโซ่ เมื่อนำสองคำนี้มารวมเข้าด้วยกัน Blockchain ก็จะแปลว่า ลูกบาศก์สำหรับเก็บข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเป็นแบบสายโซ่
Blockchain เป็นเหมือนกับสายโซ่ที่สร้างขึ้นมาเพื่อกระจายข้อมูลที่เก็บไว้ในชิ้นส่วนลูกบาศก์ที่ต่อกัน โดยข้อมูลเหล่านั้นไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้ ข้อมูลที่อยู่บน Blockchain จะไม่ได้ถูกเก็บไว้ที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้แบบใช้เทคโนโลยีการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ หรือที่เรียกว่า Distributed Ledger Technology (DLT) โดยเปิดเผยเป็นสาธารณะและสามารถถูกเข้ามาตรวจสอบได้จากทุกคนตลอดเวลา โดยไม่มีส่วนกลางเข้ามาทำหน้าที่ควบคุมและปกป้อง นอกจากนั้นแฮกเกอร์จะไม่สามารถเข้ามาขโมยข้อมูลเหล่านี้ไปได้ด้วย เนื่องจากไม่มีศูนย์กลางของข้อมูลให้โจมตี
ข้อมูลที่ถูกบันทึกในระบบ Blockchain นั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการใช้ระบบ Peer-to-Peer ที่เชื่อมคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายเข้าด้วยกัน ส่งข้อมูลไปมาได้โดยไม่จําเป็นที่จะต้องผ่านหน่วยที่เป็นศูนย์กลาง ซึ่งแต่ละคนก็จะมีการเก็บไฟล์ข้อมูลไว้เป็นหลักฐานของตัวเองไว้ก่อนหนึ่งชุด ก่อนทีจะส่งสําเนาไปให้อีกคนหนึ่งต่อไป โดยที่คนรับจะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลชุดแรกได้ ลอกนึกภาพของเอกสารฉบับหนึ่งที่ถูกคัดลอกเป็นพัน ๆ ครั้งบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และเครือข่ายได้ถูกออกแบบมาให้อัพเดทข้อมูลในเอกสารดังกล่าวอยู่ตลอด ซึ่งจะทําให้ Blockchain มีความปลอดภัยในการป้องกันการปลอมแปลงชุดข้อมูลสูงมาก ช่วยเพิ่มความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือให้แก่ข้อมูล
ทำไมถึงเรียกว่า Blockchain ?
Blockchain คือวิธีการเก็บข้อมูลบัญชีรูปแบบหนึ่ง พอมีธุรกรรม Transaction ใหม่ ๆ เข้ามา มันก็จะถูกกองรวมกันไว้ พอได้จำนวนหนึ่งเราก็จะจัดบรรจุธุรกรรมเหล่านั้นลงกล่องบัญชี (Block) และทำการปิดกล่อง พอเราปิดกล่องเสร็จ เราก็จะได้กล่องใหม่หรือ Block ใหม่ขึ้นมานั่นเอง
สิ่งที่ทำให้ Blockchain ต่างจากการเก็บบัญชีแบบอื่นคือ เราไม่ได้กลับไปเปิดกล่องบัญชีเก่าเพื่อแก้หรืออัพเดทข้อมูลธุรกรรม แต่กล่องธุรกรรมใหม่จะถูกสร้างขึ้นเรื่อย ๆ ไปในทางเดียว โดยจะเชื่อมและอ้างอิง reference กับกล่องเก่าอยู่เสมอ ในลักษณะของกล่องหลาย ๆ กล่องที่มีโซ่เชื่อมกัน ถึงเรียกว่า Blockchain นั่นเอง
Blockchain ก็เหมือนกับเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่มีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาทุกครั้งจะนำมาซึ่งคุณประโยชน์และประสิทธิภาพที่สูงขึ้น โดยสำหรับ Blockchain ปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รุ่น ได้แก่
รุ่นที่ 1: ใช้สำหรับการทำธุรกรรม (Bitcoin)
ในปี 2008 Satoshi Nakamoto ที่เป็นนามแฝงได้ให้กำเนิดสิ่งที่เรียกว่า Bitcoin ขึ้นมา โดยใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการบันทึกธุรกรรม เกิดเป็นสกุลเงินดิจิทัลสกุลแรกในประวัติศาสตร์แบบกระจายศูนย์ตัวแรกของโลก โดย Blockchain และธุรกรรมแรกของ Bitcoin คือ Satoshi Nakamoto ส่ง Bitcoin จำนวน 10 เหรียญ ให้กับ Hal Finney
รุ่นที่ 2: สามารถเขียน Smart Contract ได้ (Ethereum)
คือ Ethereum ที่ใช้ Smart Contract โดยคอนเซ็ปท์ของ Smart Contract สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเองเมื่อครบตามเงื่อนไขได้อย่างอัตโนมัติ ทำให้ไม่ต้องมีคนกลางทำหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร และยังมีความปลอดภัยสูงเนื่องจากอยู่บน Blockchain
รุ่นที่ 3: แก้ไขปัญหา Scalability (Cardano, Nano, IOTA)
จะเป็นการแก้ไขปัญหาในด้าน Scalability หรือความสามารถในการรองรับจำนวนธุรกรรมที่สูงขึ้น ทำให้เกิดปัญหาอย่าง ความล่าช้าในการทำธุรกรรม
รุ่นที่ 4: ยังไม่ได้การยอมรับอย่างชัดเจน
แต่มีการคาดคะเนแล้วว่าน่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาด้านการ Mass Adoption หรือไม่ก็น่าจะเป็นการประสานเทคโนโลยี AI เข้ากับ Blockchain ที่จะทำให้ Blockchain สามารถเข้าถึงคนทั่วไป สถานศึกษา หรือธุรกิจขนาดเล็ก ได้ง่ายยิ่งขึ้น
ข้อดีของ Blockchain
1. เป็นการกระจายศูนย์ข้อมูล ไม่ได้ถูกควบคุมโดยคนใดคนหนึ่ง แฮกเกอร์จะไม่สามารถเข้ามาขโมยข้อมูลเหล่านี้ไปได้ด้วย เนื่องจากไม่มีศูนย์กลางของข้อมูลให้โจมตี
2. ข้อมูลมีคุณภาพสูง โปร่งใส มีความคงทนปลอดภัย และเชื่อถือได้ เพราะการดำเนินธุรกรรมแต่ละครั้งจะถูกบันทึกลงใน Blockchain และข้อมูลชุดนี้และไม่สามารถเปลี่ยนรูปหรือลบได้ ทำให้ Blockchain มีความโปร่งใส เปลี่ยนแปลงไม่ได้และเชื่อถือได้
3. ข้อมูลถูกจัดเก็บได้ยืนยาว ไม่มีวันล่มหรือถูกลบหายไป เมื่อจุดใดจุดหนึ่งในระบบเสีย จะไม่ส่งผลทำให้ระบบทั้งระบบล่ม
4. ทำธุรกรรมได้เร็วขึ้น Blockchain ย่อขั้นตอนต่าง ๆ ในการประมวลผลให้น้อยลง เช่น การโอนเงินระหว่างประเทศด้วย Blockchain สามารถทำธุรกรรมได้ภายในไม่กี่วินาที เปรียบเทียบกับการโอนเงินระหว่างประเทศด้วยระบบของธนาคารตามปกติอาจต้องใช้เวลานาน 5-7 วัน และ Blockchain ยังเป็นเทคโนโลยีที่สามารถดำเนินการได้เกือบทุกอย่างทางออนไลน์ การดูแลรักษาระบบก็ง่ายกว่ามาก
5. ลดต้นทุนการทำธุรกรรม เพราะไม่ต้องมีคนกลางเป็นผู้ให้บริการ นอกเหนือจากการนำเสนอธุรกรรมที่รวดเร็วขึ้นแล้ว ยังมีต้นทุนการทำธุรกรรมที่ต่ำกว่า จึงทำให้การใช้ Blockchain นั้น มีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่ามาก เช่น โอนเงินระหว่างประเทศด้วยระบบของธนาคารตามปกติ อาจจะมีค่าธรรมเนียม 500 บาทต่อครั้ง แต่การโอนเงินระหว่างประเทศด้วยระบบ Blockchain มีค่าธรรมเนียมเพียง 150 บาทต่อครั้งเท่านั้น
6. เป็นการเปิดโลกให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ ข้อดีอีกอย่างของ Blockchain คือมาพร้อมกับมุมมองใหม่ในการสร้างโมเดลธุรกิจ ด้วยการใช้เทคโนโลยีนี้ทำให้เกิดตลาดใหม่ขึ้นและมีการสร้างโอกาสใหม่ ๆ นอกจากนี้ยังเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ดีกว่าเก่า ช่วยขจัดปัญหามากมายที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กรของเรามากยิ่งขึ้น เพิ่มรายได้ในทางอ้อมและส่งเสริมความไว้วางใจในข้อมูลระหว่างกัน
7. ช่วยในการตรวจสอบย้อนกลับได้ สำหรับองค์กรที่ต้องรับมือกับลักษณะที่ซับซ้อนของห่วงโซ่อุปทาน การตรวจสอบย้อนกลับไปว่าเราจัดการอะไรหรืออย่างไรในการผลิตสินค้าเป็นสิ่งสำคัญ ในทุกขั้นตอนเราต้องมั่นใจว่ามีคุณภาพสูงสุด เทคโนโลยี Blockchain ช่วยให้มั่นใจได้ว่าเราสามารถติดตามรายการเหล่านี้จากต้นทางไปยังปลายทางได้ ส่วนการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ เช่น Bitcoin เรายังสามารถตรวจสอบสินทรัพย์ใด ๆ แบบย้อนกลับหรือใช้ Traceability ได้อีกด้วย

ข้อเสียของ Blockchain
1. การประมวลที่ซ้ำซ้อน Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่ต้องการการคำนวณที่ซ้ำซ้อนมากกว่าเซิร์ฟเวอร์แบบรวมศูนย์ เนื่องจากทุกครั้งที่มีการอัปเดตบัญชีแยกประเภทโหนดทั้งหมดจำเป็นต้องอัปเดตเวอร์ชั่นของบัญชีแยกประเภทตามไปด้วย เป็นเพราะลักษณะการกระจายของระบบบัญชีแยกประเภทได้ถูกกำหนดเอาไว้ว่าทุกโหนดควรมีสำเนาของระบบบัญชีแยกประเภท ดังนั้นจึงต้องผ่านกระบวนการเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า
2. กระบวนการตรวจสอบลายเซ็น ECDSA ที่ซับซ้อน ข้อเสียอีกประการหนึ่งคือกระบวนการตรวจสอบลายเซ็น โดยพื้นฐานแล้วสำหรับทุกธุรกรรมในระบบเราจะต้องมีการยืนยันลายเซ็นการเข้ารหัสแบบส่วนตัวและสาธารณะ ใช้ ECDSA (Elliptic Curve Digital Signature Algorithm) เพื่อให้แน่ใจว่าธุรกรรมเกิดขึ้นระหว่างโหนดที่ถูกต้อง ดังนั้นทุกโหนดจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องของผู้ใช้ซึ่งเป็นกระบวนการที่ยุ่งยากและซับซ้อน
3. ต้องมีคีย์ส่วนตัว ในการทำธุรกรรมบนเครือข่ายเราจะต้องเป็นเจ้าของคีย์ส่วนตัว แม้ว่าผู้ใช้รายอื่นจะสามารถมองเห็นคีย์สาธารณะของเราได้ แต่คีย์ส่วนตัวก็มีความสำคัญมากกว่าเนื่องจากยังคงซ่อนอยู่ นอกจากนี้ที่อยู่ Blockchain ทั้งหมดจะมีคีย์ส่วนตัว เราต้องรักษาคีย์ส่วนตัวของเราให้ปลอดภัยไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ หากเราไม่ต้องการให้คนอื่นมาร่วมเข้าถึงและใช้สินทรัพย์ของเราไปในทางที่ผิดหรือโอนไปเป็นของเขาเสียหมด อย่างไรก็ตามหากเราทำคีย์ส่วนตัวหาย เราก็จะไม่สามารถเข้าถึงเงินของเราบนระบบ Blockchain ได้ตลอดกาลและไม่มีวิธีกู้คืนอีกต่อไป
4. มีกฎระเบียบที่ไม่แน่นอน ในความเป็นจริงไม่ใช่ว่าเทคโนโลยี Blockchain ทั้งหมดจะมาพร้อมกับชุดระเบียบที่เหมาะสมบนเครือข่าย ดังนั้นหลายคนจึงไม่ไว้วางใจระบบนี้เลย หลายคนตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวง Initial Coin Offerings (ICO) และในปัจจุบันสถาบันของรัฐต่างก็พยายามที่จะออกข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้มีการหลอกลวง ICO เกิดขึ้นในประเทศของตน
5. ใช้พลังงานไฟฟ้าสูง เพื่อให้แน่ใจว่าทุกธุรกรรมถูกต้องจำเป็นต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบให้ตรงกันทุกบรรทัด ทุกโหนด และโหนดทั้งหมดจำเป็นต้องสื่อสารกลับไปกลับมาเพื่อให้แน่ใจว่าธุรกรรมนั้นถูกต้อง ในการพิสูจน์การทำงานด้วยอัลกอริทึมต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการคำนวณเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเพิ่มการใช้พลังงานโดยรวม แต่ในตอนนี้ก็มีการพัฒนาโปรโตคอลที่ใช้พลังงานน้อยลงมากกว่าเดิมออกมาเรื่อย ๆ
Blockchain ใช้อย่างไร และตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Blockchain
อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า Blockchain ใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงิน แต่จริงๆ แล้ว Blockchain ก็ยังคงใช้เป็นวิธีจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมประเภทอื่นๆ ที่เชื่อถือได้เช่นกัน
บริษัทระดับโลกบางแห่งที่ใช้ Blockchain ในองค์กรแล้ว เช่น Walmart Pfizer, AIG Siemens Unilever และบริษัทอื่นๆ
ตัวอย่างเช่น IBM ได้สร้าง Food Trust Blockchain เพื่อช่วยให้แบรนด์สามารถติดตามเส้นทางของผลิตภัณฑ์อาหารจากแหล่งผลิต ผ่านจุดแวะและแปรรูปแต่ละจุด และสุดท้ายคือการส่งมอบไปสู่ผู้บริโภค หากพบว่าอาหารมีการปนเปื้อน ก็สามารถตรวจสอบย้อนกลับหรือ Trace Back ผ่านจุดแวะและแปรรูปแต่ละจุดกลับไปยังแหล่งกำเนิดได้ ไม่เพียงเท่านั้นแต่บริษัทเหล่านี้ยังสามารถเห็นทุกสิ่งที่อาจสัมผัสด้วย ทำให้สามารถระบุปัญหาได้เร็วกว่ามาก และอาจช่วยชีวิตผู้คนให้รอดพ้นจากโรคระบาดของเชื้ออีโคไล ซัลโมเนลลา ลิสเตอเรีย และสารอันตรายจำนวนนับไม่ถ้วนได้ และนี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของที่นำ Blockchain มาใช้ในการจัดการ Supply chain
เรายังสามารถนำ Blockchain ไปประยุกต์ใช้งานในรูปแบบอื่นๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วน เช่น นำ Blockchain มาเก็บข้อมูลแทนโฉนด (Land Registry) นำ Blockchain มาช่วยในการแบ่งการเป็นเจ้าของ (Asset Tokenization) ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นำ Blockchain มาเก็บข้อมูลการรักษาของคนไข้ เพิ่มความโปร่งใส และความปลอดภัยในธุรกิจโรงพยาบาล การออกปริญญาบัตร Certificate และ Transcript บนเทคโนโลยี Blockchain การจดสิทธิบัตร การทำ E-voting เพื่อลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย การทำดิจิทัลไอดีแทนบัตรประชาชน เป็นต้น

วิธีการลงทุนใน Blockchain
1. การสะสม Bitcoin นักลงทุนจำนวนมากเลือกที่จะสะสมทองคำโดยคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น นักลงทุนบางรายก็กำลังสะสม Bitcoin ความแตกต่างก็คือทองคำเป็นสิ่งที่จับต้องได้และ Bitcoin ไม่ใช่ อย่างไรก็ตาม หลักการลงทุนขั้นพื้นฐานยังคงเหมือนเดิม ทรัพย์สินทั้งสองนี้ถือว่าหายากและมีจำกัด ในขณะที่อัตราที่ Bitcoins ถูกสร้างขึ้นในช่วงแรก ๆ ของเทคโนโลยีนั้นค่อนข้างเร็ว แต่อัตรานั้นได้ช้าลงในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาเนื่องจากจำนวนที่มีอยู่จำกัดเพียง 21 ล้านเหรียญทำให้สินทรัพย์ทั้งสองอยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยอุปสงค์และอุปทาน เมื่ออุปทานของผลิตภัณฑ์มีจำกัดและความต้องการเพิ่มขึ้น มูลค่าของผลิตภัณฑ์ก็จะเพิ่มขึ้น
2. การระดมทุน Crowdfunding ได้กลายเป็นวิธีการหลักในการระดมทุนสำหรับการลงทุนทุกประเภท หากเราต้องการมีส่วนร่วมในเทคโนโลยี Blockchain ทางเลือกหนึ่งที่ควรพิจารณาคือวิธีการระดมทุนในเหรียญทางเลือก
อุปทานทั้งหมดของเหรียญจะถูกขุดไว้ล่วงหน้าแล้วเริ่มเสนอขายเหรียญเริ่มต้นหรือ ICO ก่อนที่เครือข่ายจะเปิดตัวสู่สาธารณะ เช่น Bitshares เป็นหนึ่งในเครือข่ายเหรียญที่ใช้วิธีนี้ในการเริ่มต้น เหล่าผู้ให้บริการและแอพพลิเคชั่นที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain ได้ใช้วิธีการขายล่วงหน้านี้เพื่อระดมทุน นักลงทุนจะได้รับโอกาสในการซื้อเหรียญโดยคาดหวังว่าราคาจะเพิ่มขึ้นหากบริการได้รับความนิยม
3. Angel Funding และ Startups การจัดหาเงินทุนและการระดมทุนจาก Angel Funding ไม่ใช่แนวคิดใหม่ แต่การลงทุนในสตาร์ทอัพที่สร้างขึ้นจากเทคโนโลยี Blockchain นั้นอาจจะดูเป็นรูปแบบที่ค่อนข้างใหม่ เนื่องจากช่วงหลังมานี้ Bitcoin ได้รับการยอมรับมากขึ้นทำให้จำนวนผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนในเทคโนโลยี Blockchain ที่อยู่เบื้องหลังคริปโตเคอเรนซีพุ่งสูงขึ้น
บริษัทหลายแห่งรวมถึง Intel Corp. (INTC) IBM Corp. (IBM) Galaxy Digital Holdings (GLXY) หรือ Silvergate Capital Corp. (SI) กำลังลงทุนมหาศาลในเทคโนโลยี Blockchain เพื่อเตรียมใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นวงกว้าง ทำให้นักลงทุนมีโอกาสที่จะได้เป็นเจ้าของหุ้นของบริษัทที่ลงทุนใน Blockchain จริง ๆ และได้สิทธิเหมือนผู้ถือหุ้นทั่วไปทุกประการ
การลงทุนในหุ้นที่ออกโดยบริษัทผู้ให้บริการทางการเงินรายใหญ่ที่กำลังทดลองศักยภาพของเทคโนโลยี Blockchain ในการปรับปรุงบริการ หรือบริษัทเทคโนโลยีที่ลงทุนในแอพพลิเคชั่นสำหรับ Blockchain สามารถถือสถานะได้ในระยะยาวโดยไม่มีต้นทุนในการเก็บรักษา
4. การลงทุนในคริปโตเตอเรนซีที่ไม่ยุ่งยากด้วยการซื้อขายสัญญาส่วนต่างหรือ CFD เป็นการซื้อขายสัญญาส่วนต่างที่อ้างอิงราคาบนเหรียญคริปโตเคอเรนซีต่าง ๆ เช่น Bitcoin วิธีนี้แม้นักลงทุนจะได้เป็นเจ้าของเหรียญจริง ๆ โดยตรง แต่นักลงทุนก็สามารถสร้างผลกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคาเหรียญคริปโตเคอเรนซีได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องแบกรับความเสี่ยงจากการเก็บรักษาเหรียญไม่ให้โดนแฮ็กไป สัญญาส่วนต่างหรือ Contract For Difference มักมีลักษณะเป็นสัญญาที่มีราคาเคลื่อนไหวตามราคาของสินทรัพย์อ้างอิง สามารถทำกำไรได้ไม่ว่าทิศทางราคาในตลาดขาขึ้นและขาลง โดยการเปิดคำสั่ง Long หากเล็งเห็นว่าแนวโน้มราคาเป็นขาขึ้น หรือเปิดคำสั่ง Short เมื่อเล็งเห็นว่าทิศทางราคาเป็นขาลง โดยที่นักลงทุนจะได้รับ Leverage หรืออัตราทดและไม่จำเป็นต้องวางเงินเต็มจำนวนในการซื้อขาย ซึ่งการเทรด CFD หรือสัญญาซื้อขายส่วนต่างนี้ ถือได้ว่าเป็นที่นิยมในกลุ่มนักเทรดทั่วโลกมากที่สุด
Blockchain กับธนาคาร
หากต้องการดูว่าธนาคารแตกต่างจากบล็อกเชนอย่างไร ให้เปรียบเทียบระบบธนาคารกับการนำบล็อกเชนของ Bitcoin ไปใช้ ดังตารางด้านล่างนี้
คุณสมบัติ | ธนาคาร | Bitcoin |
---|---|---|
ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม | ค่าธรรมเนียมจะแตกต่างกันไป โดยที่ผู้ใช้จะไม่ได้จ่ายโดยตรง แต่ค่าธรรมเนียมจะถูกจ่ายให้กับธนาคาร ซึ่งผลกระทบของค่าธรรมเนียมนี้อาจทำให้ค่าบริการสูงขึ้น และการโอนเงินผ่านธนาคารระหว่างประเทศที่มีค่าใช่จ่ายสูง | Bitcoin มีค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่ผันแปร (แบบไม่มีราคาตายตัวขึ้นอยู่กับว่านักขุดหรือผู้ใช้จะกำหนดเท่าไหร่) พวกนี้ทำให้เกิด open marketplace ซึ่งถ้าหากผู้ใช้ตั้งค่าค่าธรรมเนียมต่ำเกินไป ธุรกรรมของพวกเขาอาจไม่ได้รับการประมวลผล |
ความเร็วในการทำรายการ | – การชำระเงินด้วยบัตร 24-48 ชั่วโมง – เช็ค 24-72 ชั่วโมงเพื่อหักบัญชี – ACH 24-48 ชั่วโมง – การโอนเงิน ภายใน 24 ชั่วโมง | ธุรกรรม Bitcoin ใช้เวลาเพียง 15 นาทีและมากถึงหนึ่งชั่วโมงขึ้นอยู่กับเครือข่ายในการทำธุรกรรม |
เวลาเปิดทำการ | ธนาคารทั่วไปเปิดให้บริการตั้งแต่ 9.00 น. ถึง 17.00 น. ในวันธรรมดา ธนาคารบางแห่งเปิดทำการในวันหยุดสุดสัปดาห์ และธนาคารทั้งหมดปิดทำการในวันหยุดราชการ | ไม่มีกำหนด เปิดทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง 365 วันต่อปี |
กฎเกณฑ์ของลูกค้า | รัฐบาลสามารถติดตามบัญชีธนาคารของประชาชนและยึดทรัพย์สินภายในบัญชีได้ด้วยหลายเหตุผล | ไม่ถูกควบคุมจากรัฐบาล เพราะบิตคอยน์เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่อยู่ภายใต้การดูแลของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลก จึงไม่มีรัฐบาลใดสามารถเข้าไปควบคุมหรือแทรกแซงค่าเงินได้ |
การอนุมัติธุรกรรม | ธนาคารสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการทำธุรกรรมด้วยหลายเหตุผลหรือสำหรับรายการที่ผิดปกติ อาจถูกยกเลิกรายการได้ | เครือข่าย Bitcoin ไม่ได้กำหนดรูปแบบการใช้งาน สามารถทำธุรกรรม Bitcoin ได้ตามที่เห็นสมควร แต่ควรปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของประเทศ |
ระเบียบข้อบังคับ | บัญชีธนาคารอื่น ๆ ต้องมีการยืนยันข้อมูลตัวตนถูกต้องตามกฎหมายสำหรับธนาคารในการบันทึกข้อมูลประจำตัวของลูกค้าก่อนที่จะเปิดบัญชี | ทุกคนสามารถเข้าร่วมในเครือข่ายของ Bitcoin ได้โดยไม่ต้องมีการยืนยันตัวตน |
ความเป็นส่วนตัว | ข้อมูลบัญชีธนาคารถูกเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัวของธนาคารและหากเซิร์ฟเวอร์ของธนาคารถูกบุกรุก บัญชีของบุคคลนั้นก็จะถูกบุกรุกเช่นกัน | Bitcoin สามารถเป็นบัญชีผู้ใช้ส่วนตัวได้ตามต้องการ และสามารถตรวจสอบบัญชีย้อนหลังได้ |
ความปลอดภัย | ข้อมูลบัญชีธนาคารจะมีความปลอดภัยเท่ากับเซิร์ฟเวอร์ของธนาคารที่มีข้อมูลบัญชีลูกค้าเท่านั้น | ยิ่งเครือข่าย Bitcoin ใหญ่ขึ้นก็ยิ่งปลอดภัยมากขึ้น |
Blockchain กับ Bitcoin
เป้าหมายของ Blockchain คือการอนุญาตให้บันทึกและแจกจ่ายข้อมูลดิจิทัล แต่ไม่สามารถแก้ไขได้ เทคโนโลยี Blockchain ถูกร่างขึ้นครั้งแรกในปี 1991 โดย Stuart Haber และ W. Scott Stornetta นักวิจัยสองคนที่ต้องการใช้ระบบที่ไม่สามารถแก้ไขการประทับเวลาของเอกสารได้ แต่ไม่นานจนกระทั่งเกือบสองทศวรรษต่อมา ด้วยการเปิดตัว Bitcoin ในเดือนมกราคม 2009
Bitcoin สร้างขึ้นบน Blockchain โดย Satoshi Nakamoto นามแฝงของผู้สร้าง ที่เรียก Bitcoin ว่าเป็นระบบเงินสดอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ที่ทำงานแบบ peer-to-peer อย่างเชื่อถือได้ Bitcoin ใช้ Blockchain เป็นเครื่องมือในการบันทึกบัญชีแยกประเภทการชำระเงินอย่างโปร่งใส แต่ในทางทฤษฎีแล้ว Blockchain สามารถใช้เพื่อบันทึกจุดข้อมูลจำนวนเท่าใดก็ได้โดยไม่เปลี่ยนรูป
Blockchain ของ Bitcoin นั้นไม่เคยมีรายงานว่าระบบการทํางานมีความผิดพลาดหรือล้มเหลวเลย แม้ในปัจจุบันที่มีการแฮ็กหรือการจัดการทีผิดพลาดเกิดขึ้นบ้าง ก็ล้วนแต่เป็นเพราะ Human Error หรือความผิดพลาดโดยมนุษย์ ไม่ใช่ที่ตัวระบบ และไม่ใช่การเจาะระบบ Blockchain แต่อย่างใด เช่น การแฮ็กเว็บผู้ให้บริการซื้อขายเหรียญคริปโตเคอเรนซี
สรุปบทความ
เทคโนโลยี Blockchain นับว่ามีความปลอดภัยในการทำธุรกรรมแต่ละรายการใช้การเข้ารหัสที่ซับซ้อน มีความสามารถด้านการติดตามตรวจสอบได้ตลอดเวลา สร้างความเชื่อมั่นและทำให้เกิดความโปร่งใส สามารถเก็บบันทึกข้อมูลได้อย่างต่อเนื่องและไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด ทำธุรกรรมได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย ในปัจจุบันนั้นธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมทางการเงินดูจะเป็นผู้ที่นําเทคโนโลยี Blockchain ไปใช้มากที่สุด การนําเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ทําให้สามารถตัดคนกลางสําหรับการทําธุรกรรมต่าง ๆ ออกไปได้ นับว่าเป็นคลื่นเทคโนโลยีลูกใหม่ที่ด้รับการยอมรับในวงกว้าง และหลายภาคส่วนต่างให้ความสำคัญที่จะนำเอาเทคโนโลยีนี้เข้ามาประยุกต์ใช้ ทําให้ขณะนี้นักพัฒนา Blockchain จะเป็นที่ต้องการในตลาดโลกเป็นอย่างมาก และต่อจากนี้ไปเทคโนโลยี Blockchain จะเป็นตัวแปรสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่
แนะนำโบรกเกอร์ Mitrade ผู้ให้บริการการซื้อขายสัญญาส่วนต่าง CFD เพื่อเทรด Bitcoin ที่ดีที่สุดสำหรับคนไทยเปรียบเทียบกับโบรกเกอร์เจ้าอื่น ๆ อีก 4 แห่ง คือ IC Markets XM Forex4You และ Exness
หากเทรด Bitcoin กับ Mitrade จะได้เปรียบมากกว่าโบรกเกอร์อื่น ๆ ดังนี้
1. Mitrade เป็นโบรกเกอร์สัญชาติออสเตรเลีย Forex และ CFD ที่นิยมมากที่สุดในหมู่นักลงทุนไทย ปัจจุบันมีลูกค้ามากกว่า 1,100,000+ รายทั่วโลก
2. Mitrade มีความน่าเชื่อถือสูง เนื่องจาก MiTrade ได้รับการกำกับดูแลจากหน่วยงานด้านการเงินของเกาะเคย์แมน (CIMA) ด้วยใบอนุญาต SIB เลขที่ 1612446 ควบคุมโดยหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติตามกฏระเบียบที่เข้มงวดและให้บริการด้วยความโปร่งใส
3. Mitrade มีสกุลเงินดิจิทัล 9 สกุลให้เลือกเทรด คือ Bitcoin Bitcoin Cash Litecoin Ethereum Cardano Dogecoin DOT Solana และ Uniswap นอกจากนี้ยังมีหุ้นของบริษัทยักษ์ใหญ่กว่า 90 ตัว เช่น Facebook PayPal NVIDIA Square’s และ Google คู่สกุลเงินกว่า 60 คู่ เช่น AUD/USD EUR/USD GBP/USD GBP/JPY และ USD/CHF สินค้าโภคภัณฑ์กว่า 10 ชนิด เช่น ทองคำ เงิน น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และกาแฟ ดัชนีหุ้นมากกว่า 12 ชนิด เช่น NASDAQ100 S&P500 HSI DJA30 NIKKEI 225 ให้เลือกเทรดกันอย่างหลากหลาย
4. Mitrade เก็บเงินทุนของลูกค้าไว้ในบัญชีทรัสต์แยกต่างหากจากบัญชีบริษัท เงินทุนลูกค้าจะยังคงถูกเก็บรักษาอย่างปลอดภัยและถูกส่งกลับคืนได้อย่างปลอดภัยเสมอ
5. Mitrade มีฝ่ายบริการลูกค้าออนไลน์ภาษาไทยที่ยอดเยี่ยม ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงใน 5 วันทำการ
6. Mitrade รองรับInternet banking และ QR Code ฝากเงินะและถอนเงินผ่านธนาคารไทยได้
7. Mitrade มีระบบป้องกันเงินทุนติดลบ จัดหาเครื่องมือสำหรับจัดการความเสี่ยงที่ดีให้ลูกค้าใช้งานได้ฟรี
8. Mitrade ให้อัตราทดหรือเลเวอเรจ 1:10 ถือว่าไม่ต่ำและไม่สูงมากด้วย
9. Mitrade มีขนาดซื้อขายต่ำสุดคือ 0.01 ล็อต ช่วยลดเงินทุนเริ่มต้นของเทรดเดอร์
10. Mitrade ค่าคอมมิชชั่น 0 ค่าธรรมเนียมถูก สเปรดต่ำ ช่วยลดต้นทุนในการเทรด ให้เราได้ทำกำไรเพิ่มมากขึ้น
**คำเตือน การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
เนื้อหาในบทความเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับประกอบการตัดสินใจก่อนการลงทุนเท่านั้น ผู้อ่านควรศึกษาปัจจัยประกอบจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งก่อนการตัดสินใจ และใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลในการพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ลงทุนที่เหมาะสมแก่ท่าน
ใส่ความเห็น