Commodities คืออะไร และสินค้าโภคภัณฑ์ มีอะไรบ้าง?

สำหรับใครที่กดเข้ามาอ่านบทความนี้ น่าจะรู้จักกับสินค้าโภคภัณฑ์กันก่อนบ้างอยู่แล้ว บทความนี้จะพาไปเจาะลึกเกี่ยวกับความหมาย ข้อดีข้อเสีย ปัจจัย วิธีการลงทุน ในการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ว่าเหมาะแก่การลงทุนหรือไม่ ในบทความนี้มีคำตอบรอคุณอยู่

สินค้าโภคภัณฑ์หรือ Commodities คืออะไร?

สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) คือ ผลิตภัณฑ์ วัตถุดิบ หรือสินค้าทางการเกษตรที่เป็นพื้นฐานในระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะจับต้องได้ สามารถซื้อขายได้ มีคุณสมบัติใช้แทนกันได้อย่างสมบูรณ์ (Fungibility) และตัวสินค้ามีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ผลิตก็ตาม เช่น น้ำตาลเกรด A ที่ผลิตในไทย ต้องมีลักษณะเดียวกันกับน้ำตาลเกรด A ที่ผลิตในบราซิล จึงสามารถใช้แทนกันได้อย่างสมบูรณ์

Commodities มักเป็นผลิตภัณฑ์หรือวัตถุดิบตั้งต้นจากทรัพยากรธรรมชาติ ที่จะนำไปเป็นวัตถุดิบหลัก ในการผลิตสินค้าที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เช่น น้ำตาลกับเมล็ดโกโก้ จัดเป็น Commodity ประเภทหนึ่ง และใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตสินค้าที่ซับซ้อนมากขึ้นอย่าง ช็อกโกแลตแท่ง ช็อกโกแลตบาร์ หรือเครื่องดื่มช็อกโกแลตต่าง ๆ เป็นต้น

โดยนักลงทุนหรือนักเก็งกำไรสามารถซื้อและขายสินค้าโภคภัณฑ์โดยตรงได้ด้วยเงินสด หรือสร้างกำไรผ่านการถือครองตราสารอนุพันธ์อย่างฟิวเจอร์ส ออฟชั่นที่ใช้กับฟิวเจอร์ส หรือหน่วยลงทุนของกองทุน ETFs (Exchange Traded Fund) ที่มีราคาสินค้าโภคภัณฑ์อ้างอิงอยู่ก็เป็นได้

การถือครองสินค้าโภคภัณฑ์หรือหลักทรัพย์อ้างอิงในพอร์ตจะช่วยลดการเสื่อมมูลค่าสินทรัพย์จากเงินเฟ้อ เพราะสินค้าโภคภัณฑ์ที่สามารถเก็บไว้ได้นานอย่างโลหะหรือน้ำมัน มีคุณสมบัติรักษามูลค่าของตัวมันเอง เมื่อเงินเฟ้อ สินค้าโภคภัณฑ์ก็จะมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้สินค้าโภคภัณฑ์ที่นักลงทุนสนใจอาจจะใช้พิจารณาคู่กับราคาหุ้นเพื่อสลับสับเปลี่ยนสินทรัพย์ในการลงทุนไปมาได้ เพราะราคาสินค้าโภคภัณฑ์บางประเภทจะมีทิศทางสอดคล้องหรือสวนทางกับราคาหุ้นบางตัว สินค้าโภคภัณฑ์มี 3 หมวดหมู่ ได้แก่ Soft Commodity Hard Commodity และ Energy Commodity

  • Soft commodity  

เป็นสินค้าทางการเกษตรต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์พื้นฐานที่สามารถได้มาโดยการเพาะปลูกหรือใช้กระบวนทางการเกษตร เป็นสินค้าที่สามารถเกิดจากการควบคุมดูแลของมนุษย์ เช่น เมล็ดกาแฟ ไม้แปรรูป เนื้อสัตว์ น้ำตาลข้าวสาลี ถั่วเหลือง ฯลฯ

  • Hard commodity

เป็นสินค้าประเภทวัตถุดิบต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์พื้นฐานที่ไม่สามารถผลิตได้โดยการเพาะปลูกหรือใช้กระบวนทางการเกษตร มนุษย์ไม่สามารถผลิตเองได้ การจะได้วัตถุดิบเหล่านี้มา จึงต้องใช้วิธีการสกัดหรือผ่านกระบวนทางเหมืองแร่ เช่น แร่ธาตุต่าง ๆ ทองคำ น้ำมัน เงิน แพลทินัม ฯลฯ

  • Energy commodity

เป็นวัตถุดิบต่าง ๆ ที่นำมาใช้เพื่อผลิตพลังงาน เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นต้น

และสินค้าโภคภัณฑ์พื้นฐานอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังมีรวมทั้งหมดจำนวนกว่า 100 รายการ โดยครึ่งหนึ่งของจำนวนเหล่านี้เป็นสินค้าโภคภัณฑ์หลักที่ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษในการเทรด

what-is-commodity

สินค้าโภคภัณฑ์ มีอะไรบ้าง?

  • สินค้าโภคภัณฑ์เกษตร Agricultural

สินค้าทางการเกษตร โดยสินค้าโภคภัณฑ์กลุ่มนี้เกินกว่าครึ่งหนึ่ง ถูกนำไปใช้ผลิตอาหารทั้งคนและสัตว์ที่ปลายทาง ที่พบได้บ่อย ๆ ได้แก่ กาแฟ ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง น้ำตาล ยางพารา เป็นต้น

  • สินค้ากลุ่มพลังงาน Energy

สินค้าโภคภัณฑ์ที่เราจะพบกันได้บ่อย ๆ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน น้ำมันดิบ น้ำมันเตา เป็นต้น

  • โลหะอุตสาหกรรม Industrial Metals

สินค้าโภคภัณฑ์ที่จะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่อุตสาหกรรมหนักไปจนถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ เหล็ก ทองแดง อลูมิเนียม ตะกั่ว เป็นต้น

  • โลหะมีค่า Precious metals

โลหะมีค่า  เป็นกลุ่มโลหะที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงกว่าโลหะทั่วไป  ส่วนใหญ่ไม่ค่อยทำปฏิกิริยารีดอกซ์ ทำให้ไม่มีการขึ้นสนิม เป็นโลหะที่หายากนิยมทำเป็นเครื่องประดับ เช่น เงิน ทองคำ แพลทินัม โรเดียม อิริเดียม ออสเมียม รีเนียม รูทีเนียม ทองขาว  โลหะที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับในปัจจุบัน คือ ทอง  เงิน  และแพลตินั่ม ซึ่งจุดเด่นของโลหะทั้ง 3 ชนิด คือ มีความอ่อนตัว ไม่เปราะ หาได้ยากและมีความสวยงาม โลหะมีค่าที่มีมูลค่าด้านเศรษฐกิจสูงที่สุดคือ โรเดียม ซึ่งราคาสูงกว่าทองคำประมาณ 10 เท่า มีจุดหลอมละลายสูง เป็นต้น

  • สินค้าปศุสัตว์ Livestook

เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ ได้แก่ วัว หมู และสินค้า อื่น ๆ ที่มาจากปศุสัตว์

ข้อดี ข้อเสียของการเทรด Commodities

ข้อดี

  1. มีความหลากหลายในการเลือกเทรดมาก สามารถเพิ่มความหลากหลายในการเทรดให้กับพอร์ตการลงทุนของคุณได้มากมาย
  2. ความสัมพันธ์ของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ กับราคาหลักทรัพย์และพันธบัตร นั้นมักเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกัน คือเมื่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้น ราคาหลักทรัพย์และพันธบัตรจะลดลง  ซึ่งจะสามารถช่วยปกป้องตนเองจากการลงทุน และเสริมสร้างสภาพคล่องในการลงทุนในหุ้นได้
  3. ใช้ป้องกันผลจากภาวะอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจากสินค้าโภคภัณฑ์เป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันเงินเฟ้อได้ดีแม้ว่าภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ราคาของพันธบัตรและหุ้นตกต่ำลง แต่สินค้าโภคภัณฑ์กลับได้ประโยชน์จากภาวะดังกล่าว เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น และราคาโภคภัณฑ์ที่นำมาใช้ผลิตสินค้าเหล่านี้ก็สูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ส่งผลทำให้นักลงทุนในตลาดการเงินได้เข้าลงทุนซื้อสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อเป็นส่วนมาก
  4. โอกาสในการเติบโตสูงตามระยะเวลา เนื่องจากอุปสงค์ในสินค้าโภคภัณฑ์บางตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ และมีทรัพยากรลดน้อยลงเรื่อย ๆ เช่น น้ำมันซึ่งต้องใช้เวลายาวนานในการย่อยสลายฟอสซิล ดังนั้นราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าวจึงสูงขึ้นตามไปด้วยตามระยะเวลา

ข้อเสีย

1. ความผันผวนสูง ราคาจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสภานการณ์การลงทุน สินค้าโภคภัณฑ์ถือว่าเป็นหนึ่งในตราสารที่มีความผันผวนมากที่สุดในการซื้อขาย ซึ่งโดยเฉลี่ยจะมีความผันผวนเป็นสองเท่าของหุ้นและผันผวนมากกว่าพันธบัตรเป็นสี่เท่า 

what-is-commodity

อะไรคือปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์? และวิธีทำกำไร?

1. กลุ่มอุปสงค์ (Demand Factors) ที่สำคัญคือรายได้และจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นจะกดดันต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์แต่ละประเภทแตกต่างกัน เช่น ในประเทศที่มีรายได้ต่ำ (Low and Lower middle income) จะมีความยืดหยุ่นของรายจ่ายหมวดอาหารต่อรายได้สูง ดังนั้น เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นก็จะใช้จ่ายในสินค้าประเภทอาหารมากกว่าประเทศที่มีรายได้สูง

พฤติกรรมการบริโภค การใช้จ่ายและอายุจะกระทบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์แต่ละประเภทเช่นกัน อย่างเช่นแนวโน้มการหันมาบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (Meat and Dairy products) มากขึ้นกว่าพวกธัญญาหารซึ่งจะกลายเป็น Inferior goods เมื่อรายได้สูงขึ้นก็จะยิ่งส่งผลต่อโครงสร้างการผลิตและราคาอาหารแต่ละประเภทแตกต่างกัน

2. กลุ่มอุปทาน (Supply Factors) ขึ้นอยู่กับปัจจัยการผลิต แรงงาน ทุน ที่ดินเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ แหล่งน้ำ วัตถุดิบ ทรัพยากรธรรมชาติ ประสิทธิภาพการผลิต การบริหารจัดการ และเวลา นอกจากนี้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต้องอาศัยการลงทุน การวิจัยและพัฒนา แต่หลังวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินโลกในปี 2008 การลงทุนทางด้านการผลิตซบเซาลง

3. ความไม่แน่นอน (Uncertainties) เป็นตัวแปรที่ควบคุมยาก เช่น ความรุนแรงและแปรปรวนของสภาพอากาศจากภาวะโลกร้อน ซึ่งจะส่งผลต่อภาคเกษตรโดยตรง

4. วงจรสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้าโภคภัณฑ์ กับปัจจัยอื่น ๆ (Feedback loops) ได้แก่ การลงทุนและการเก็งกำไรในตลาดล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ที่อาจส่งผลให้ราคาสูงขึ้น และเมื่อราคาสูงขึ้นก็จะจูงใจให้เข้ามาลงทุนและเก็งกำไรเพิ่มขึ้น

ดังนั้นสิ่งที่ทำให้ราคาผันผวนก็คือความไม่สมดุลของกลุ่มอุปสงค์และกลุ่มอุปทาน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ราคาอาจพุ่งสูงขึ้นหากอุปสงค์เพิ่มขึ้นหรืออุปทานถูกจำกัด

วิธีการทำกำไรจากสินค้าโภคภัณฑ์

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์หลักการทำงานจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งว่าการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์คืออะไร วิเคราะห์อุปสงค์และอุปทานปัจจัยพื้นฐาน หาแหล่งข่าวอื่น ๆ ที่มีการวิเคราะห์เผยแพร่เกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ และเลือกโบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจได้

กลยุทธ์ในการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์นั้นมีรูปแบบหลักการวิธีที่แตกต่างกันไป และวันนี้ได้เลือกกลยุทธ์ที่นักเทรดนิยมใช้ในการทำกำไรมากที่สุดในการเทรดฟิวเจอร์สสินค้าโภคภัณฑ์ 

1. เทคนิคการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์จากราคาเบรค (Breakout) เป็นกลยุทธ์หลักในการเทรดทำกำไรสินค้าโภคภัณฑ์ การทำกำไรจากราคาที่วิ่งไปในระยะสั้น ๆ 

2.  การเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ตามข่าว และคิดวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ

3. กลยุทธ์เทรดสินค้าโภคภัณฑ์ในกรอบราคาแคบ (Range-Bound) มีโอกาสเทรดทำกำไรด้วยกลยุทธ์นี้ได้ หากท่านเข้าใจเกี่ยวกับสภาวะของตลาดว่าตลาดกำลังอยู่ในสภาวะซื้อมากเกินไปหรือขายมากเกินไป

ทำไมสินค้าโภคภัณฑ์จึงเป็นการลงทุนที่ได้รับความนิยม

การป้องกันเงินเฟ้อ สินค้าโภคภัณฑ์สามารถป้องกันเงินเฟ้อให้กับพอร์ตของนักลงทุนได้ เนื่องจากราคาของ สินทรัพย์ถาวรดังกล่าวอาจเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปเช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อ ความสัมพันธ์กับสินทรัพย์อื่น ๆ ต่ำ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มักจะเคลื่อนไหวด้วยเหตุผลที่แตกต่างจากเศรษฐกิจในวงกว้าง และขึ้นอยู่กับปัจจัยเฉพาะของสินค้าโภคภัณฑ์แต่ละรายการ

ดังนั้นผลการดำเนินงานจึงสัมพันธ์กับหุ้นและพันธบัตรน้อยกว่า เนื่องจากสินค้าโภคภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ น้อยกว่า จึงสามารถใช้เป็นช่องทางในการกระจายพอร์ตการลงทุนลดความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ราบรื่น

การป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนอื่น ๆ การเป็นเจ้าของสินค้าเองสามารถลดความเสี่ยงในการลงทุนอื่น ๆ ของนักลงทุนได้ ตัวอย่างเช่น หากนักลงทุนเป็นเจ้าของบริษัท เช่น สายการบินที่อาจเผชิญกับราคาน้ำมันอย่างหนัก และจะลดลงหากน้ำมันขึ้น นักลงทุนสามารถเป็นเจ้าของน้ำมันได้โดยตรงและช่วยชดเชยความเสี่ยงนั้นได้

ช่วงเวลาการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์

ชั่วโมงเวลาการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ จะไม่ได้ซื้อขายกัน 24 ชั่วโมง มีช่วงเวลาเปิดปิด และขึ้นอยู่กับภูมิภาค ต้องตรวจสอบตารางเวลากับทางโบรกเกอร์ที่อนุญาตให้เทรดได้

ที่ Mitrade ตารางเวลาสำหรับการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์หลัก ตามเวลาของประเทศไทยเป็นดังตารางด้านล่างนี้

ลำดับสัญลักษณ์ชื่อการซื้อขายรายสัปดาห์เวลาเปิดเวลาปิด
1XAUUSDทองวันจันทร์:
วันอังคารถึงวันศุกร์:

วันเสาร์:
ปิดวันอาทิตย์
06.00 น.
00.00 น.
06.00 น.
00.00 น.
24.00 น.
05.00 น.
24.00 น.
05.00 น.
2XAGUSDเงิน วันจันทร์:
วันอังคารถึงวันศุกร์:

วันเสาร์:
ปิดวันอาทิตย์
06.00 น.
00.00 น.
06.00 น.
00.00 น.
24.00 น.
05.00 น.
24.00 น.
05.00 น.
3XPDUSDแพลเลเดียม วันจันทร์:
วันอังคารถึงวันศุกร์:

วันเสาร์:
ปิดวันอาทิตย์
06.00 น.
00.00 น.
06.00 น.
00.00 น.
24.00 น.
05.00 น.
24.00 น.
05.00 น.
4XPTUSDแพลทินัม วันจันทร์:
วันอังคารถึงวันศุกร์:

วันเสาร์:
ปิดวันอาทิตย์
06.00 น.
00.00 น.
06.00 น.
00.00 น.
24.00 น.
05.00 น.
24.00 น.
05.00 น.
5USOILน้ำมันดิบ WTI วันจันทร์:
วันอังคารถึงวันศุกร์:

วันเสาร์:
ปิดวันอาทิตย์
06.00 น.
00.00 น.
06.00 น.
00.00 น.
24.00 น.
05.00 น.
24.00 น.
05.00 น.
6UKOILน้ำมันดิบ Brentวันจันทร์:
วันอังคารถึงวันศุกร์:

วันเสาร์:
ปิดวันอาทิตย์
06.00 น.
00.00 น.
08.00 น.
00.00 น.
06.00 น.
00.00 น.
08.00 น.
00.00 น.
7NATGASก๊าซธรรมชาติวันจันทร์:
วันอังคารถึงวันศุกร์:

วันเสาร์:
ปิดวันอาทิตย์
06.00 น.
00.00 น.
06.00 น.
00.00 น.
24.00 น.
05.00 น.
24.00 น.
05.00 น.
8USOIL-FWTI Futuresวันจันทร์:
วันอังคารถึงวันศุกร์:

วันเสาร์:
ปิดวันอาทิตย์
06.00 น.
00.00 น.
06.00 น.
00.00 น.
24.00 น.
05.00 น.
24.00 น.
05.00 น.
9ALUMINIUMอะลูมิเนียมวันจันทร์:
วันอังคารถึงวันศุกร์:

วันเสาร์:
ปิดวันอาทิตย์
08.00 น.
00.00 น.
08.00 น.
00.00 น.
24.00 น.
02.00 น.
24.00 น.
02.00 น.
10COPPERทองแดงวันจันทร์:
วันอังคารถึงวันศุกร์:

วันเสาร์:
ปิดวันอาทิตย์
08.00 น.
00.00 น.
08.00 น.
00.00 น.
24.00 น.
02.00 น.
24.00 น.
02.00 น.
11COFFEEกาแฟวันจันทร์:
วันอังคารถึงวันศุกร์:

วันเสาร์:
ปิดวันอาทิตย์
16.15 น.
00.00 น.
16.15 น.
00:00 น.
24.00 น.
01.30 น.
24.00 น.
01:30 น.
12SUGARน้ำตาลวันจันทร์:
วันอังคารถึงวันศุกร์:

วันเสาร์:
ปิดวันอาทิตย์
15.30 น.
00.00 น.
15.30 น.
00.00 น.
24.00 น.
01.00 น.
24.00 น.
01.00 น.
13UKOIL-FBrent Futuresวันจันทร์:
วันอังคารถึงวันศุกร์:

วันเสาร์:
ปิดวันอาทิตย์
06.00 น.
00.00 น.
08.00 น.
00.00 น.
24.00 น.
06.00 น.
24.00 น.
05.00 น.

วิธีการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์

  • ฟิวเจอร์ส

การซื้อสินค้าผ่านตลาดฟิวเจอร์สเป็นวิธีการที่รู้จักกันดีที่สุดในการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ แม้ว่าจะไม่ใช่วิธีที่ง่ายที่สุดก็ตาม ฟิวเจอร์สเป็นวิธีที่มีความเสี่ยงสูงและให้ผลตอบแทนสูงในการเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ และนั่นคือสิ่งที่ดึงดูดนักเทรดที่ไม่ยอมใครง่าย ๆ ให้เข้ามาเทรดกันมากมาย

ฟิวเจอร์สทำให้นักลงทุนสามารถใช้เงินทุนเพียงเล็กน้อยในการเปิดสัญญา และนักลงทุนสามารถใช้เลเวอเรจเพื่อชนะ (หรือแพ้) ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นวิธีเก็งกำไรที่คุ้มต้นทุน

ความเสี่ยงสิ่งต่าง ๆ เป็นเรื่องปกติของการซื้อขายที่เคลื่อนไหวสวนทาง นักลงทุนต้องยอมรับกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ดังนั้นเมื่อนักลงทุนสามารถทำเงินได้มากมายอย่างรวดเร็ว หรือสูญเสียเงินไปอย่างรวดเร็ว นั่นคือเปรียบเสมือนการลงทุนสำหรับนักเทรดเดอร์

  • ETF 

 ETF หรือ Exchange Traded Fund คือ กองทุนรวมดัชนี (Index Fund) หากนักลงทุนที่ต้องการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์โดยไม่ต้องยุ่งยากกับการเป็นเจ้าของสินค้าหรือซื้อขายในตลาดซื้อขายล่วงหน้า นักลงทุนมีตัวเลือกในการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ผ่าน ETF เพื่อให้ซื้อขายได้สะดวกเสมือนหุ้น ซึ่งเป็นวิธีการลงทุนที่ง่าย และมีต้นทุนต่ำ

ตัวอย่างเช่น คุณสามารถซื้อ ETF ที่เป็นเจ้าของทองคำ น้ำมัน หรือแม้แต่สินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ  ที่มีการซื้อขายที่โปร่งใสกับสินค้าโภคภัณฑ์พร้อมกับความสะดวกและคล่องตัวของ ETF

ความเสี่ยง ETF จะช่วยให้นักลงทุนได้สัมผัสกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งอาจผันผวนได้มาก มากกว่าราคาหุ้น และเนื่องจากตัวสินค้าเองไม่ได้สร้างกระแสเงินสด ผลตอบแทนที่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนคือผลตอบแทนจากสินค้าโภคภัณฑ์ลบด้วยราคาของกองทุนเอง และ ETF ช่วยให้คุณหลบเลี่ยงความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดของการเป็นเจ้าของสินค้าโภคภัณฑ์อันตรายจากการโจรกรรม และอาจรวมถึงค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสินค้าโภคภัณฑ์

  • การซื้อขาย CFD สินค้าโภคภัณฑ์กับโบรกเกอร์คุณภาพอย่าง Mitrade

หากอยากลองการซื้อขาย CFD ลงเทรดสินค้าโภคภัณฑ์โดยไม้มีความเสี่ยง Mitrade แพลตฟอร์มรูปแบบที่ใช้งานง่ายน่าเชื่อถือ เป็นบริษัทเทคโนโลยีทางการเงินที่ยึดมั่นในมาตรฐานการกำกับดูแลที่เข้มงวด มีการซื้อขายที่ง่ายและสะดวกแก่นักลงทุนในสัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) แพลตฟอร์มการซื้อขายที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ Mitrade ได้รับการยกย่องอย่างสูงและได้รับรางวัลมากมาย เช่น Best Mobile Trading Platform และ Most Innovative Brokerage Firm และเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

ทำไมต้อง Mitrade ?

  • เงื่อนไขการเทรดที่เหนือกว่า
  • ควบคุมโดยหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง
  • แพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย
  • ฝ่ายบริการลูกค้าออนไลน์ยอดเยี่ยม
  • ค่าธรรมเนียมถูก
what-is-commodity

**คำเตือน การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

เนื้อหาในบทความเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับประกอบการตัดสินใจก่อนการลงทุนเท่านั้น ผู้อ่านควรศึกษาปัจจัยประกอบจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งก่อนการตัดสินใจ และใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลในการพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ลงทุนที่เหมาะสมแก่ท่าน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

รับฟรีทันที! เงินเสมือนจริง $50,000 เพื่อฝึกฝนการเทรดกับ Mitrade!