ตราสารอนุพันธ์ คืออะไร? ใช้อย่างไรดี

คำว่า “อนุพันธ์” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน มีความหมายถึง “ที่ติดต่อ หรือ ที่เกี่ยวเนื่อง” ส่วนตราสารอนุพันธ์ในการลงทุนนั้น เป็นตราสารที่มีมูลค่าที่อ้างอิงเกี่ยวเนื่องกับสินค้าอ้างอิง (Underlying Asset) อยู่ เช่น น้ำมัน สินค้าโภคภัณฑ์ โลหะมีค่า สินค้าเกษตร หรือสินค้าอื่นใดที่มีดัชนีแน่นอนรองรับการออกตราสารอนุพันธ์ได้ ต่อไปนี้เราจะมาศึกษาและทำความเข้าใจกับตราสารอนุพันธ์ให้เข้าใจไปพร้อม ๆ กัน

ตราสารอนุพันธ์ คืออะไร?

ตราสารอนุพันธ์ หรือ Derivative คือ ตราสารทางการเงินประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาหรือข้อตกลงที่จะซื้อหรือขายสินค้าในราคา ปริมาณ และเงื่อนไขอื่นที่ตกลงกันไว้ โดยจะทำการส่งมอบสินค้ากันในอนาคต ทั้งนี้ มูลค่าของอนุพันธ์ขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินค้าที่ตกลงซื้อขาย หากมูลค่าของสินค้านั้นเปลี่ยนแปลงไป อนุพันธ์ก็จะมีมูลค่าเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย หรืออาจอธิบายได้อีกนัยหนึ่งว่า เป็นสัญญาระหว่างสองฝ่ายขึ้นไป ที่มีมูลค่าสัญญาตามสินทรัพย์อ้างอิงโดยที่มูลค่าของตราสารจะขึ้นอยู่กับกระแสเงินตามตลาดของสินทรัพย์อ้างอิง ไม่ได้มีค่าจากกระแสเงินของตัวตราสารเองโดยตรง

ตัวอย่างประกอบการอธิบายของตราสารอนุพันธ์เทียบเคียงที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใบจองซื้อรถยนต์ เช่นนายเทรดไปงาน Motor Show แล้วซื้อใบจองรถยนต์คันหนึ่ง ราคา 10,000 บาท เพื่อจองซื้อรถยนต์ในราคาที่แสดงไว้ คือ 3,000,000 บาท โดยมีกำหนดรับรถในอีก 1 เดือนข้างหน้า บริษัทขายรถจึงออกใบจองให้แก่นายเทรด อันใบจองรถยนต์ใบนี้เทียบเคียงเสมือนได้กับอนุพันธ์ เนื่องจากเป็นสัญญาที่จะซื้อขายรถยนต์ในเงื่อนไขที่ตกลงกัน โดยจะส่งมอบรถยนต์ในอนาคต ทั้งนี้ มูลค่าของใบจองขึ้นอยู่กับราคารถยนต์ เช่น หลังงานแสดงรถยนต์ บริษัทอาจปรับราคารถขึ้นเป็น 3,500,000 บาท แต่นายเทรดจะซื้อรถได้ในราคาเพียง 3,000,000 บาทตามที่ตกลงกันไว้ จึงอาจกล่าวได้ว่า มูลค่าของใบจองหลังงานแสดง เพิ่มขึ้น 500,000 บาท เมื่อราคารถยนต์เพิ่มเป็น 3,500,000 บาท

สินทรัพย์ที่ตราสารอนุพันธ์สามารถอ้างอิงได้กับสินทรัพย์เกือบทุกประเภท โดยอาจแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้

1. อนุพันธ์สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity Derivatives) อ้างอิงกับสินค้าด้านพลังงาน เช่น น้ำมัน ก๊าซ  อ้างอิงกับโลหะ เช่น อลูมิเนียม ทอง ดีบุก  อ้างอิงกับสินค้าเกษตร เช่น ยางพารา ข้าว ข้าวโพด กาแฟ มันสำปะหลัง นม กุ้ง เนื้อสุกร เป็นต้น

2. อนุพันธ์สินทรัพย์ทางการเงิน (Financial Derivatives) อ้างอิงกับ  ตราสารทุน ได้แก่ ดัชนีราคาหลักทรัพย์ หลักทรัพย์  อ้างอิงกับตราสารหนี้ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราดอกเบี้ย

3. ตัวแปรทางการเงิน ได้แก่ ดัชนีของหลักทรัพย์ต่างๆ อัตราแลกเปลี่ยน  เงินตราระหว่างประเทศ (Forex) คาร์บอนเครดิต อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน หรืออันดับความน่าเชื่อถือ เป็นต้น

4. ตราสารอนุพันธ์ เช่น ตราสารสิทธิเพื่อซื้อขายล่วงหน้า ตราสารสิทธิเพื่อแลกเปลี่ยน เป็นต้น

what is derivative-2

อนุพันธ์มีลักษณะอย่างไร

นอกจากตราสารอนุพันธ์จะมีลักษณะพิเศษคือ มีมูลค่าสัญญาตามสินทรัพย์อ้างอิง หรือ Underlying Asset แล้ว ยังมีลักษณะเด่นอีก 2 ประการ ดังนี้

1. อนุพันธ์เป็นสัญญาที่มี Leverage หรืออัตราทด กล่าวคือ หากเราจะเปรียบเทียบการใช้เงินลงทุน 100 บาท เพื่อซื้อ Warrant ของหุ้นตราสารอนุพันธ์น้ำมัน ซึ่งเป็นอนุพันธ์ทางการเงินประเภทหนึ่ง กับการใช้เงินจำนวนเท่ากันเพื่อซื้อหุ้น XXX โดยตรงนั้น การซื้อขายอนุพันธ์จะใช้เงินต้นทุนเริ่มต้นในจำนวนที่น้อยกว่าการลงทุนโดยตรงในสินค้าอ้างอิง อัตราผลกำไรจึงเป็นอัตราที่สูง ในทางตรงกันข้ามหากเกิดผลขาดทุนจากอนุพันธ์ อัตราผลขาดทุนก็เป็นอัตราที่สูงกว่าปกติเช่นกัน ลักษณะดังกล่าว เรียกว่า Leverage

2. อนุพันธ์เป็นสัญญาหรือข้อตกลงที่มีอายุจำกัด มีกำหนดเวลาชัดเจน เช่น 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน หรือ 1 ปี เป็นต้น การปฏิบัติตามข้อผูกพันหรือการรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในสัญญาจะต้องกระทำภายในระยะเวลาที่กำหนดนั้น เช่น อนุพันธ์ที่เป็นสัญญาให้สิทธิซื้อหุ้นในอีก 3 เดือนข้างหน้า ผู้ซื้อสัญญาอนุพันธ์ต้องซื้อหุ้นภายในระยะเวลา 3 เดือนดังกล่าว เมื่อพ้นกำหนดแล้ว สัญญาจะหมดอายุและสิทธิของผู้ซื้อสัญญาจะหมดไปด้วย ดังนั้นผู้ที่ต้องการซื้อขายสัญญาอนุพันธ์ จึงต้องคำนึงถึงข้อจำกัดนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนในตราสารอนุพันธ์ด้วยทุกครั้ง

ประเภทของตราสารอนุพันธ์

อนุพันธ์ที่ซื้อขายกันในตลาดเงินทั่วโลก แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

1. ฟิวเจอร์ส (FUTURES) หรือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบมาตรฐาน เป็นสัญญา Forwards ประเภทหนึ่ง คือ เป็นสัญญาที่จะซื้อจะขายสินค้าอ้างอิง โดยตกลงราคากันในวันนี้ เพื่อส่งมอบสินค้าและชำระเงินในอนาคต

Futures แตกต่างจาก Forwards ตรงที่ Futures เป็นสัญญาที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายอนุพันธ์ ลักษณะของสัญญาจึงเป็นแบบมาตรฐาน กล่าวคือ ศูนย์ซื้อขายอนุพันธ์จะกำหนดรายละเอียดของสัญญาไว้ล่วงหน้าอย่างชัดเจน

2. ฟอร์เวิร์ด (FORWARD) หรือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่มาตรฐาน คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าคล้ายกับฟิวเจอร์ส แต่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงซื้อขายกันได้โดยไม่จำกัดสถานที่ หรือเรียกว่า เป็นการซื้อขายแบบ Over-the-counter (OTC) และมีการกำหนดรายละเอียดของสัญญาตามความต้องการระหว่างผู้ซื้อผู้ขายไว้ล่วงหน้าอย่างชัดเจน


ทั้งฟิวเจอร์ส (FUTURES) และ ฟอร์เวิร์ด (FORWARD) ต่างก็เป็นสัญญาซึ่งทำการตกลงกันระหว่างบุคคล หรือสถาบัน 2 ฝ่าย โดยมีฝ่ายของผู้ซื้อ และฝ่ายของผู้ขาย ทำการตกลงกันในสัญญาว่า จะมีการซื้อขายสินทรัพย์ (ซึ่งอาจเป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตน หรือสินทรัพย์ทางการเงิน) ในอนาคต โดยทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะมีภาระผูกพันที่จะต้องทำตามสัญญาที่กำหนดไว้ คือ ฝ่ายผู้ขายจะต้องนำสินทรัพย์มาทำการส่งมอบในอนาคต และฝ่ายผู้ซื้อจะทำการชำระราคาในอนาคต เช่น คู่สัญญาทำการตกลงจะซื้อขายเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐในอีก 1 เดือนข้างหน้า เมื่อระยะเวลาถึงกำหนดตามข้อตกลงในสัญญาทั้งฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องทำตามสัญญา (มักจะเรียกว่าวันที่สัญญาครบกำหนดอายุ หรือ Maturity Date) คือ ผู้ซื้อจะต้องนำเงินบาทมาชำระค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และฝ่ายผู้ขายก็จะต้องนำเงินดอลลาร์สหรัฐมาส่งมอบเช่นเดียวกัน

3. ออปชั่น (OPTIONS) หรือ ตราสารสิทธิ ผู้ขายมีภาระต้องปฎิบัติตามพันธะในสัญญา ในขณะที่ผู้ซื้อมีสิทธิ จะเลือกใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้  ออปชั่นต่างกันที่สัญญาประเภทออปชัน เป็นสัญญาที่ให้สิทธิแก่ผู้ที่ทำการซื้อสัญญาออปชัน ว่าจะมีสิทธิในการซื้อหรือขายสินทรัพย์ใด ๆ ตามสัญญา ดังนั้นสิทธิของการทำตามสัญญานั้นจะเป็นของฝ่ายผู้ซื้อสัญญาซื้อหรือขายล่วงหน้า สิทธินั้นขึ้นอยู่กับว่าสัญญาเป็นการซื้อหรือขาย สำหรับฝ่ายผู้ขายเป็นฝ่ายที่ไม่มีสิทธิเลือกใด ๆ เพราะฝ่ายขายเป็นผู้ที่เขียนสัญญาขึ้นมาขาย และเป็นผู้ที่ได้รับค่าสัญญาไปตั้งแต่ต้น จึงไม่มีสิทธิในการเลือกใด ๆ

ผู้ถือตราสารสิทธิไม่มีพันธะต้องส่งมอบหรือรับมอบเมื่อถึงเวลาส่งมอบถ้าผู้ถือตราสารไม่ต้องการ เพราะตราสารสิทธิเป็นเสมือนทางเลือกให้นักลงทุน เลือกว่าจะเข้าใช้สิทธิหรือไม่ มิใช่ข้อบังคับหรือพันธะที่ต้องส่งมอบ เมื่อนักลงทุนทำการใช้สิทธิ ผู้ออกตราสารจะนำหุ้นที่มีการซื้อขายในตลาดอยู่แล้วมาส่งมอบ ไม่ต้องมีการออกหุ้นสามัญใหม่

4. สวอป (SWAP) หรือ ตราสารแลกเปลี่ยน เป็นสัญญาที่มีการแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตระหว่างคู่สัญญา เป็นข้อตกลงระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย ที่จะทำการแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดในอนาคต เช่น บริษัทหนึ่ง ซึ่งมีภาระดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราลอยตัว ต้องการแลกเปลี่ยนเป็นภาระดอกเบี้ยในอัตราคงที่กับบริษัทสอง ข้อตกลงเช่นนี้เรียกว่า Interest Rate Swap แต่ถ้าบริษัทสาม ซึ่งมีเงินกู้เป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ต้องการแลกเปลี่ยนเป็นเงินสกุลบาทกับบริษัทสี่ ข้อตกลงเช่นนี้เราจะเรียกว่า Currency Swap

ประเภทของผู้ค้าตราสารในตลาดอนุพันธ์

ผู้ค้าตราสารอนุพันธ์ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. นักป้องกันความเสี่ยง (Hedger) ผู้ค้าในตลาดตราสารอนุพันธ์ประเภทนี้ใช้ตราสารอนุพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาในการทำธุรกิจหรือการลงทุน

2. นักเก็งกำไร (Speculator) เป็นผู้ที่เข้ามาซื้อขายตราสารอนุพันธ์ในตลาดอนุพันธ์ทุกประเภท ด้วยเหตุผลของการลงทุนที่จะเข้ามาเพื่อการเก็งกำไรจากการซื้อและขายเป็นหลัก นักเก็งกำไรต้องการทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคา ทั้งในกรณีที่ราคาขึ้น หรือราคาลดลง ซึ่งการลงทุนในตลาดอนุพันธ์ทุกประเภท นักเก็งกำไรจะสามารถทำกำไรได้ในทั้งกรณีที่ราคาของตราสารอนุพันธ์ หรือสินทรัพย์ที่อ้างอิงมีราคาเพิ่มขึ้นหรือลดลง เพราะตราสารอนุพันธ์จะมีลักษณะที่มีความแตกต่างจากการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นสามัญ หรือพันธบัตร จึงสามารถทำกำไรได้จากทั้งกรณีที่มีราคาเพิ่มขึ้น หรือราคาลดลง

นักเก็งกำไร เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในตลาดตราสารอนุพันธ์เป็นอย่างมาก เพราะนักเก็งกำไรจะเป็นผู้ที่ช่วยให้ตลาดอนุพันธ์ทุกประเภทมีสภาพคล่อง หากตลาดอนุพันธ์ขาดนักเก็งกำไร หรือมีจำนวนนักเก็งกำไรไม่มากพอ จะทำให้ตราสารอนุพันธ์ที่มีการซื้อขายขาดสภาพคล่อง และที่สำคัญคือ ราคาของตราสารอนุพันธ์จะมีราคาที่แพง เปรียบเสมือนการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ หากตลาดหลักทรัพย์มีแต่นักลงทุน ไม่มีนักเก็งกำไรแล้ว ตลาดหลักทรัพย์คงไม่มีการเคลื่อนไหวของราคาเช่นกัน เพราะนักลงทุนจะเป็นผู้ที่ลงทุนตามปัจจัยพื้นฐานที่แท้จริง เป็นผู้ลงทุนที่หวังผลตอบแทนในรูปเงินปันผล และลงทุนในระยะเวลาที่ยาวนาน แต่นักเก็งกำไร จะเป็นผู้ที่เข้ามามีบทบาทในตลาดอย่างฉาบฉวย หวังผลตอบแทนจากการเปลี่ยนแปลงของราคา เป็นสำคัญ โดยมากนักเก็งกำไร จะเป็นผู้ที่ลงทุนในระยะสั้น ตลาดอนุพันธ์ หรือตลาดหลักทรัพย์ใดมีนักเก็งกำไรจำนวนน้อย ก็จะส่งผลให้การเคลื่อนไหวของราคาเป็นไปได้ช้า

3. นักค้ากำไร (Arbitrageurs) เป็นผู้ที่แสวงหารายได้จากการลงทุนในตลาดสองตลาดพร้อม ๆ กัน เพื่อรับส่วนแตกต่างระหว่างตลาด หรือในบางครั้งอาจเลือกลงทุนในตลาดเดียวกัน แต่ลงทุนในตราสารอนุพันธ์คนละชนิดกัน เพื่อหากำไร นักค้ากำไร จะเป็นผู้ที่ทำให้ช่วงห่างของราคาในตลาดที่อยู่ในภูมิภาคที่แตกต่างกัน กลับมาอยู่ในจุดสมดุล

เราจะเห็นได้ว่าบุคคลทั้ง 3 กลุ่ม เป็นผู้ที่มีประโยชน์ต่อตลาดตราสารอนุพันธ์เป็นอย่างมาก หากขาดคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไปแล้ว ตลาดอาจไม่เกิดสมดุลอย่างที่ควรจะเป็นเหมือนดังปัจจุบัน

what is derivative

ประโยชน์ของตลาดอนุพันธ์

1. ช่วยในการคาดการณ์ราคาสินค้าในอนาคตได้ใกล้เคียงยิ่งขึ้น (Price Discovery)

การซื้อขายอนุพันธ์เป็นการตกลงราคากันในวันนี้เพื่อส่งมอบสินค้าอ้างอิงในอนาคต จึงเป็นราคาที่สะท้อนความต้องการซื้อหรือขายสินค้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งสามารถนำมาใช้อ้างอิงในการตัดสินใจผลิตสินค้า ลงทุน หรือจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หากมีตลาดอนุพันธ์ ชาวนาจะทราบราคาของสัญญาซื้อขายข้าวล่วงหน้า ซึ่งจะทำให้สามารถคาดการณ์ราคาข้าวในอนาคตและวางแผนเพาะปลูกข้าวได้ดียิ่งขึ้น

2. ช่วยในการบริหารความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคา (Risk Management)

ตลาดอนุพันธ์เป็นช่องทางในการบริหารความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าอ้างอิง (Price Risk) สำหรับผู้ที่ครอบครองสินค้าหรือผู้ที่ต้องการสินค้าในอนาคตแต่เกรงว่าราคาสินค้าจะผันผวน และต้องประสบผลขาดทุนหรือมีต้นทุนสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น

ตัวอย่าง โรงกลั่นน้ำมันเกรงว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดจะสูงขึ้นในอีก 4 เดือนข้างหน้า ซึ่งอาจทำให้ต้องซื้อน้ำมันดิบในราคาแพง และมีต้นทุนสูงขึ้น การมีตลาดอนุพันธ์จะช่วยให้โรงกลั่นบริหารความเสี่ยงได้ โดยโรงกลั่นนี้สามารถ ซื้อ Futures ของน้ำมันดิบอายุ 4 เดือน เพื่อตรึงราคาน้ำมันดิบไว้ และรู้ต้นทุนที่แน่นอนตั้งแต่วันนี้ โดยไม่ต้องกังวลว่าราคาน้ำมันดิบในอีก 4 เดือนจะปรับตัวสูงขึ้น

ข้อดีของตราสารอนุพันธ์

1. ใช้เพื่อบริหารความเสี่ยง ผู้ลงทุนที่มีสินทรัพย์ เช่น หุ้น ในความครอบครอง จะมีความเสี่ยง เนื่องจากราคาของสินทรัพย์นั้นอาจเปลี่ยนแปลงไปแล้วทำให้สินทรัพย์ที่ผู้ลงทุนถือครองอยู่มีมูลค่าลดลง แต่ผู้ลงทุนสามารถใช้อนุพันธ์เพื่อป้องกันผลขาดทุนหรือประกันราคา

2. มีโอกาสได้อัตราผลตอบแทนสูง ในขณะที่ใช้ต้นทุนต่ำ  ใช้สร้างผลตอบแทนแบบทวีคูณ เพราะใช้เพียงเงินหลักประกันขั้นต้นเท่านั้น ซึ่งน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินที่จะซื้อ  ผู้ลงทุนที่ซื้อหรือขายอนุพันธ์ จะไม่ต้องจ่ายเงิน เต็มมูลค่าสัญญา เพียงแค่วางเงินประกันมูลค่า ประมาณ 10 – 15% ของมูลค่าสัญญาทั้งจ านวน ก่อนซื้อขาย ในขณะที่ผลตอบแทนจะได้จาก มูลค่าสัญญาเต็มจ านวน ท าให้เมื่อค านวณเป็น อัตราผลตอบแทนเทียบกับเงินลงทุนตั้งต้นแล้ว จะพบว่าอนุพันธ์จะให้ผลตอบแทนทั้งด้านบวกสูง กว่าการซื้อขายหุ้น และในทางตรงกันข้ามอนุพันธ์ ก็อาจสร้างผลขาดทุนได้สูงกว่าการซื้อขายหุ้น โดยทั่วไป เช่นกัน นอกจากนี้ยังสามารถลงทุนได้ แม้มีเงินจำกัด ด้วยสินค้าอ้างอิงในรูปของดัชนีต่างๆ

3. สามารถทํากําไรจากส่วนต่างของราคาได้ทั้งในตลาดขาขึ้นและขาลง ในการตกลงซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น ผู้ซื้อและผู้ขายจะตกลง “ราคา” กันว่าจะซื้อ หรือจะขายสินค้ากันในอนาคตที่ราคาเท่าไร แต่การช าระราคาจริงนั้นยังไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงสามารถใช้กลยุทธ์ “ซื้อก่อน ขายทีหลัง” สําหรับทํากําไร ตามปกติในตลาดขาขึ้น หรืออาจจะ “ขายก่อน ซื้อทีหลัง” หากคาดว่าตลาดเป็นตลาดขาลง หากราคาฟิวเจอร์สเคลื่อนไหวขึ้นหรือลงตามที่ คาดไว้จริง ผู้ลงทุนก็จะได้กำไรตามส่วนต่างที่เกิดขึ้น

การซื้อขายตราสารอนุพันธ์

กลไกการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ เป็นการทำสัญญาเพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าอ้างอิงในอนาคต โดยการซื้อขายตราสารอนุพันธ์โดยผ่านระบบตลาดอนุพันธ์นั้นสามารถทำได้ 2 รูปแบบคือ

1. การซื้อขายผ่านระบบตลาดทางการ (Organized Exchange) ซึ่งเป็นตลาดที่มีการซื้อและขายหลักทรัพย์หรือตราสารอนุพันธ์อย่างเปิดเผย มีการกำหนดราคา และช่วงของการขึ้นลงราคาอย่างชัดเจน ข้อมูลข่าวสารของผู้ลงทุนจะได้รับอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน มีการเปิดเผยราคาหลักทรัพย์และราคาอนุพันธ์ให้ประชาชนผู้ลงทุนทราบ

ในศูนย์ซื้อขายอนุพันธ์ จะมีสำนักหักบัญชีเป็นคู่สัญญาของผู้ซื้อและผู้ขาย ผู้ลงทุนจึงไม่ต้องกังวลว่าคู่สัญญาจะบิดพริ้ว ไม่ปฏิบัติตามสัญญา การมีสำนักหักบัญชีเป็นคู่สัญญา ยังช่วยให้การซื้อขายมีความคล่องตัวมากกว่า ผู้ลงทุนสามารถล้างภาระผูกพันตามสัญญา โดยการทำรายการซื้อหรือขายในลักษณะตรงกันข้ามกับรายการที่เคยทำไว้ผ่านศูนย์ซื้อขายอนุพันธ์ โดยไม่ต้องไปหาคู่สัญญาเดิม

2. การซื้อขายผ่านตลาดเจรจาต่อรอง (Dealer หรือ Over-The-Counter: OTC) เป็นการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ที่เราสามารถเรียกได้ว่าเป็นตลาดไม่เป็นทางการ คือ อนุพันธ์แบบ OTC เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ลงทุนกันเองทั้ง 2 ฝ่าย สัญญาจึงเป็นลักษณะเฉพาะเจาะจง เพื่อให้ตรงกับความต้องการของคู่สัญญา ความเสี่ยงของการซื้อขายอยู่ที่คู่สัญญาอาจบิดพริ้ว ไม่ปฏิบัติตามสัญญา

นอกจากนี้ หากต้องการยกเลิกข้อตกลง จะทำได้ก็ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งยินยอมด้วยเท่านั้น การซื้อขายอนุพันธ์แบบนี้จึงมีสภาพคล่องต่ำ โดยการตกลงกันเองระหว่างผู้ลงทุน โดยที่การซื้อขายตราสารอนุพันธ์นั้นจะทำการชำระราคาและส่งมอบกันนอกระบบตลาด คือ ไม่มีการซื้อขายผ่านตลาดทางการ แต่ในต่างประเทศการซื้อขายในระบบ OTC นี้ เป็นการซื้อขายที่มีนักลงทุน และนักเก็งกำไรทำการซื้อขายมากที่สุด เป็นตลาดที่ได้รับความนิยมมาก

ความแตกต่างของการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ในตลาดทางการและตลาดเจรจาต่อรองมีความแตกต่างกันอยู่หลายประการ เช่น ลักษณะของสัญญา ความเป็นมาตรฐาน การวางเงินประกัน สภาพคล่องของการซื้อขาย ความเสี่ยงจากการลงทุน และการส่งมอบและชำระราคา เป็นต้น

ตลาดทางการเป็นตลาดที่มีสถานที่การทำการซื้อขายแน่นอน มีกระบวนการในการดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย มีพระราชบัญญัติรองรับในการเปิดดำเนินงาน มีเวลาเปิดเวลาปิดแน่นอน ราคาซื้อขายมีการเสนอซื้อหรือขายอย่างเป็นระบบ มีช่วงห่างของการขึ้นหรือลงของราคา มีการประกาศราคาและข้อมูลในการลงทุนให้ผู้ลงทุนทราบตลอดเวลา

ตลาดเจรจาต่อรองเป็นตลาดที่ไม่มีการซื้อขายกันอย่างเป็นระบบ การเจรจาซื้อขายเป็นการต่อรองกันเอง ซึ่งจำนวนสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ที่ตกลงกันในสัญญาจะมีขนาดที่ไม่เท่าเทียมกัน แต่ตลาด OTC เป็นตลาดที่มีความนิยมมากในปัจจุบัน ซึ่งขนาดของตลาด OTC ในหลายประเทศจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าตลาดแบบมีระเบียบ และมีแนวโน้มที่จะมีอัตราการเจริญเติบโตสูงมากขึ้น

การซื้อขายตราสารอนุพันธ์ในตลาดแบบมีระเบียบจะแตกต่างจากตลาดต่อรอง ในรูปแบบของสัญญาที่เป็นมาตรฐาน คือ สัญญาที่จะสามารถนำไปซื้อขายกันในตลาดแบบมีระเบียบได้ จะต้องเป็นสัญญาที่มีมาตรฐานเดียวกัน เช่น ขนาดของสัญญาต้องมีขนาดเท่ากัน วิธีการส่งมอบต้องเหมือนกัน คุณภาพของสินค้าหรือสินทรัพย์ที่กำหนดในสัญญาต้องมีคุณภาพเดียวกัน ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายมีความเข้าใจกันว่าตนเองนั้นกำลังซื้อหรือขายสัญญาประเภทใด

การทำให้สัญญาเป็นมาตรฐานเดียวกันนี้ จะทำให้สัญญาที่ซื้อขายในตลาดแบบมีระเบียบสามารถซื้อขายได้สะดวกมากขึ้น เพราะจำนวนผู้ซื้อและผู้ขายจะมีมาก หากสัญญามีความแตกต่างกันมาก การซื้อและการขายจะไม่คล่องตัว เนื่องจากผู้ลงทุนอาจต้องการซื้อหรือขายสินทรัพย์ในจำนวนที่ไม่เท่ากัน

การซื้อขายในตลาดแบบมีระเบียบนี้ เพื่อให้ผู้ลงทุนลดความสี่ยงจากการผิดนัดชำระเงิน หรือผิดนัดส่งมอบสินทรัพย์ ตลาดจะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการเรียกเงินประกันจากทั้งสองฝ่าย เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าผู้ลงทุนหรือผู้เก็งกำไรทั้งสองฝ่ายจะไม่ผิดนัดตามสัญญาในอนาคต และการเรียกเงินประกันนี้จะต้องมีการปรับค่าตามราคาตลาดทุกวัน หากผู้ลงทุนฝ่ายใดเกิดการขาดทุนจากการลงทุน ตลาดจะทำหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินประกันเพิ่ม เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงให้แก่คู่สัญญา

โดยสรุปแล้ว ตราสารอนุพันธ์ล่วงหน้าเป็นสินค้าที่ไม่มีมูลค่าในตัวเอง แต่มีมูลค่าขึ้นอยู่กับสินทรัพย์อ้างอิงอื่น มีอายุจำกัด เมื่อสัญญาหมดอายุ มูลค่าของสัญญาก็จะหมดไป การลงทุนในตราสารอนุพันธ์นั้น เป็นการลงทุนซับซ้อน มีความเสี่ยงสูงมาก ๆ แต่ก็เป็นที่นิยมอย่างยิ่ง เนื่องจากให้โอกาสสร้างผลตอบแทนแบบเท่าทวีคูณ และก็อาจทำให้มูลค่าเงินลงทุนของคุณลดลงจนกลายเป็น 0 บาทได้ด้วยเช่นกัน อยู่ที่การคาดคะเนเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต และผลกระทบต่อสินทรัพย์อ้างอิง ผู้ลงทุนในตราสารอนุพันธ์นั้น ต้องมีความเข้าใจในตัวสินค้าและกระบวนการซื้อขายอย่างแท้จริง

ไม่ว่าจะเป็นระดับความเสี่ยงของตัวสินค้าที่ต้องดูว่ารับได้หรือไม่ มีข้อผูกพันเกี่ยวกับการทำสัญญาซื้อขายรวมทั้งการวางเงินประกันอย่างไร หากคาดการณ์ทิศทางตลาดไม่ถูกต้องควรทำอย่างไร เป็นต้น และอย่าลืมติดตามข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องและพอร์ตการลงทุนของตนเองอย่างใกล้ชิดด้วยเพื่อความไม่ประมาท คอยจับตาดูความผันผวนของภาวะตลาด

โดยส่วนใหญ่เมื่อปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป อาทิ การขึ้นลงของอัตราดอกเบี้ย จะส่งผลให้ราคาสินค้าอ้างอิงและราคาอนุพันธ์มีความผันผวนตามไปด้วย  อย่างไรก็ตามหากศึกษาเจาะลึกเป็นอย่างถ่องแท้ดีแล้ว การลงทุนอย่างมีแบบแผนในตราสารอนุพันธ์ ก็คงไม่ยากเกินความสามารถของนักลงทุนอย่างเราที่จะประสบความสำเร็จในตลาดนี้ได้เป็นอย่างแน่นอน

เราขอแนะนำโบรกเกอร์ Mitrade ผู้ให้บริการการซื้อขายสัญญาส่วนต่าง CFD เพื่อเทรดหุ้น เทรดตราสารอนุพันธ์ที่ดีที่สุด

หากเทรดหุ้น CFD เทรดตราสารอนุพันธ์กับ Mitrade จะได้เปรียบมากกว่าโบรกเกอร์อื่น ๆ ดังนี้

1. Mitrade ฝาก-ถอนเงินอย่างรวดเร็ว รองรับทุกช่องทางหลัก

2. Mitrade แพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย ประสบการณ์การซื้อขายที่เป็นมิตรต่อลูกค้า

3. Mitrade รองรับการกำหนดค่าเลเวอเรจที่ยืดหยุ่น

4. Mitrade คอมมิชชั่น 0 บาท สเปรดต่ำ

5. Mitrade มีฝ่ายบริการลูกค้าออนไลน์ภาษาไทยให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงใน 5 วันทำการ

6. Mitrade ควบคุมโดยหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง

**คำเตือน การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

เนื้อหาในบทความเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับประกอบการตัดสินใจก่อนการลงทุนเท่านั้น ผู้อ่านควรศึกษาปัจจัยประกอบจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งก่อนการตัดสินใจ และใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลในการพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ลงทุนที่เหมาะสมแก่ท่าน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

รับฟรีทันที! เงินเสมือนจริง $50,000 เพื่อฝึกฝนการเทรดกับ Mitrade!