Margin แปลว่า อะไร ? วิธีการคำนวณ Margin

ในการเทรด Forex มีคำสำคัญว่า Margin หรือแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า เงินประกันหรือเงินวางประกัน ซึ่งนับเป็นคำศัพท์สำคัญที่นักลงทุนต้องทำความเข้าใจก่อนเริ่มการลงทุน ในครั้งนี้เราได้รวบรวมสิ่งที่จะต้องเข้าใจและต้องเรียนรู้มาให้อย่างครบถ้วนแล้ว

Margin แปลว่า อะไร?

อันที่จริง Margin นั้นมีหลายความหมาย แต่ในบทความนี้เราขออธิบายคำว่า Margin ที่ใช้สำหรับการเทรดซื้อขายแลกเปลี่ยนในตลาดเงินตราระหว่างประเทศ หรืออาจเรียกว่า Forex Margin ตลอดจนระบบการเทรดในตลาดตราสารการเงินรูปแบบการซื้อสัญญาล่วงหน้ากับโบรกเกอร์ผู้ให้บริการ หรือการเก็งกำไรแบบ Binary Option ที่มีทั้งการออกคำสั่งสัญญาซื้อ (Call) หรือสัญญาขาย (Put)

Margin แปลว่า เงินหลักประกันของเทรดเดอร์ที่ต้องนำมาวางไว้ก่อนเริ่มต้นการเทรด ซึ่งจะมากหรือน้อยไม่ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของนักลงทุนเพียงอย่างเดียว แต่ยังเชื่อมโยงกับเงื่อนไขของการเทรดในแต่ละครั้งด้วย เช่น ข้อกำหนดของโบรกเกอร์ อัตราส่วนของค่า Leverage ขนาดของล็อตในการเทรด เป็นต้น หากจะอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นอีกนิดก็คือ Margin เป็นเงินที่เราต้องใส่ไว้ในพอร์ตการลงทุนให้เพียงพอถึงจะทำการซื้อขายได้

ส่วนคำศัพท์อีกหนึ่งคำที่มักมาคู่กันกับ Margin ก็คือ Leverage ซึ่งหมายถึง อัตราทดซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราลงทุนได้ง่ายมากขึ้น โดยไม่ต้องมีเงินลงทุนมากเท่ากับจำนวนทั้งสัญญาที่กำหนดไว้ โดย Leverage จะระบุไว้ในลักษณะของอัตราส่วนเพื่อบอกว่าจะได้วงเงินในการลงทุนเท่าไร อย่างเช่น 1:500 หมายความว่า ถ้าเราวาง Margin หรือเงินหลักประกัน 1 บาท จะสามารถถือครองสินทรัพย์ได้มากถึง 500 บาท ช่วยให้เราสามารถซื้อขายสัญญาที่มีมูลค่าแท้จริงสูงกว่าเงินที่เรามีอยู่ได้ คล้ายกับการใช้วงเงินของบัตรเครดิตนั่นเอง เทรดเดอร์ที่สามารถใช้ Margin ได้อย่างเต็มศักยภาพจะสามารถสร้างผลตอบแทนมหาศาลด้วยเงินทุนที่น้อยกว่าปกติได้

วิธีการคำนวณ Margin หรือ เงินประกัน

หลังจากได้รู้ถึงความหมายของ Margin กันไปแล้ว ต่อมาจะเป็นส่วนของการคำนวณเพื่อหาจำนวนเงินที่ต้องใช้ในการเทรดแต่ละครั้ง ซึ่งสูตรนี้ไม่ใช่ตรรกะทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนอะไร ทุกคนสามารถหาผลลัพธ์ได้ด้วยเครื่องคิดเลขพื้นฐานทั่วไป อีกทั้งยังเป็นองค์ความรู้ที่ช่วยให้เราเข้าใจและบริหาร Margin ได้ดีขึ้นด้วย

สูตรในการคำนวณ Margin มีดังนี้

Margin = Lot Size x Contract Size x Price / Leverage

หรือ  จำนวนเงินประกัน = จำนวน Lot ที่ต้องการซื้อ x หน่วยของสินทรัพย์ต่อ Lotx ราคาสินทรัพย์ต่อหน่วย / อัตราทด

เรามาเริ่มทำความเข้าใจกับตัวแปรทั้งหมดที่อยู่ในสูตรคำนวณกันเสียก่อน

1. Margin หรือ จำนวนเงินประกัน คือ จำนวนเงินลงทุนที่เป็นหลักประกันในการซื้อสินทรัพย์ที่ต้องการ

2. Lot Size หรือ จำนวน Lot ที่ต้องการซื้อ คือ ปริมาณของสัญญาการซื้อขาย เป็นจำนวน Lot ที่เราต้องการซื้อ

3. Contract Size หรือ หน่วยของสินทรัพย์ต่อ Lot คือ จำนวนหน่วยของสินทรัพย์ในสัญญาซื้อขาย เช่น Lot Size ที่เป็นแบบ Standard Lot จะมีจำนวนหน่วยของสินทรัพย์เท่ากับ 100,000 หน่วยต่อ Lot ตัวเลข 100,000 นี่เองที่หมายถึงค่า Contract Size

4. Price หรือ ราคาของสินทรัพย์ต่อหน่วย คือ ราคาสินทรัพย์ในขณะวินาทีที่จะทำการซื้อขาย

5. Leverage หรือ อัตราทด คือ อัตราส่วนระหว่างเงินหลักประกันและมูลค่าสินทรัพย์

what is margin

ตัวอย่างการคำนวณ

สมมติว่าสินทรัพย์ที่เราสนใจคือ สินทรัพย์ A ที่ปัจจุบันมีราคาซื้ออยู่ที่ 1.25 USD และการซื้อขายขั้นต่ำจะอยู่ที่ 10,000 หน่วยต่อ Lot โดยเราต้องการซื้อทั้งหมด 3 Lot และเลือกใช้ Leverage ที่อัตรา 1:200 เราจะสามารถคำนวณ Margin ที่ต้องใช้วางประกันได้ดังนี้

Margin = 3 x 10,000 x 1.25 / 200= 187.5 USD

คำตอบที่ได้จากการคำนวณตามสูตรก็คือ Margin หรือจำนวนเงินวางประกันเท่ากับ 187.5 USD ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ต้องใช้ในการเปิดคำสั่งซื้อตามเงื่อนไขนี้

หากในพอร์ตการเทรดของเรามีเงินคงเหลือเท่ากับหรือมากกว่าจำนวนนี้ ก็สามารถเปิดคำสั่งซื้อตามต้องการได้ หรือถ้าเงินคงเหลือมีน้อยกว่านั้น เราสามารถแก้ปัญหาได้โดย

1. เติมเงินเพิ่มเข้าไปในพอร์ต ให้เพียงพอกับระดับ Margin ที่กำหนดไว้

2. ใช้วิธีปรับลดจำนวน Lot ให้น้อยลง ภายใต้เงิน Margin ที่เรามีวงเงินสำหรับการเทรดในพอร์ต

3. รอจนกว่าราคาซื้อขายจะเปลี่ยนแปลงลดน้อยลงไป

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับจังหวะและความสะดวกของนักลงทุนเอง

Margin Available และ Margin Used

สำหรับการเทรด Forex นั้น ในระหว่างที่เราทำการเทรด Forex จะมีโอกาสได้พบ Margin ที่สำคัญอีก 2 ตัวคือ Margin Used และ Margin Available ระบุไว้ในพอร์ต

1. Margin Available หมายถึง วงเงินของเงินวางประกัน หรือเงินทุนที่ยังคงเหลืออยู่ในพอร์ต ซึ่งสามารถใช้เพื่อเปิดคำสั่งซื้อสินทรัพย์ที่ต้องการเพิ่มได้อีก โดยปกติ Margin Available จะถูกตัดในลดลงและนับเฉพาะการซื้อสินทรัพย์ ไม่นับการขายสินทรัพย์ และหลังจากที่ได้เปิดคำสั่งขายสินทรัพย์ที่มีอยู่ไปแล้ว เราก็จะได้วงเงินคืนกลับมาอยู่ในส่วน Margin Available นี้เช่นเดิม

2. Margin Used หมายถึง วงเงินของเงินวางประกัน หรือเงินทุนที่ได้ใช้ไปเรียบร้อยแล้ว วงเงินลงทุนในพอร์ตที่ถูกใช้ไปเพื่อเปิดคำสั่งซื้อสินทรัพย์เรียบร้อยแล้ว เป็นการบอกให้รู้ว่าเราใช้เงินลงทุนไปกับการซื้อสกุลเงินแต่ละตัวเป็นจำนวนเท่าไรบ้างแล้ว วงเงินที่เคยมีอยู่ในพอร์ตก็จะถูกตัดออกไปตั้งแต่เปิดคำสั่งซื้อทันที หากคำสั่งซื้อนั้นไม่สำเร็จวงเงินก็จะถูกโยกย้ายกลับมาไว้ที่ Margin Available เหมือนเดิม

เราขอยกตัวอย่างความสัมพันธ์ของคำศัพท์เหล่านี้ให้เทรดเดอร์เห็นภาพชัดเจนขึ้น โดยสมมติว่าเราเปิดพอร์ตครั้งแรกด้วยเงินจำนวน 10 USD สิ่งที่แสดงในพอร์ตลงทุนของเราจะเป็น Margin Available 10 USD และ Margin Used 0 USD

ต่อมาหลังจากเจอสินทรัพย์ที่สนใจแล้วเปิดคำสั่งซื้อออกไปด้วยเงินจำนวน 2 USD หน้าพอร์ตของเราก็จะเปลี่ยนแปลงเป็น Margin Available 8 USD และ Margin Used 2 USD

จากนั้นถ้าเราทำการขายสินทรัพย์ที่ซื้อมาก่อนหน้านี้ออกไป พร้อมกับได้เงินทุนคืนมาบวกกับกำไรเพิ่มเติมกลับมาด้วย รวมทั้งหมดเป็น 4 USD หน้าพอร์ตของเราก็จะปรับเปลี่ยนใหม่อีกครั้งเป็น Margin Available 12 USD และ Margin Used 0$ นั่นเอง

นอกจากประเภทของ Margin ที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังมีเงินวางประกันในการรักษาสถานะสัญญา (Maintenance Margin หรืออาจใช้คำว่า Free Margin) ซึ่งเป็นเงินวางขั้นต่ำสำหรับการรักษาสถานะสัญญาเอาไว้ เป็นการแสดงผลแบบ Margin level ที่เป็นค่าที่แสดงถึงเปอร์เซ็นต์ยอดเงินคงเหลือที่สัมพันธ์กับระดับ Leverage เมื่อระดับเปอร์เซ็นต์ลดลงจนต่ำกว่า 60 เราจะได้รับการแจ้งเตือนเพื่อให้เติมเงินเข้ามาเพิ่มเติม แต่ถ้าเหลือ 0 หรือหากมูลค่าสัญญาลดต่ำกว่าเงินวางประกันในการรักษาสถานะสัญญา  และสัญญาทั้งหมดในบัญชีก็จะถูกบังคับปิด (Force Sell) โดยอัตโนมัติ และรับรู้เป็นผลขาดทุนทันที ดังนั้นเราควรวางเงินประกันในการรักษาสถานะสัญญานี้เอาไว้ให้เพียงพออยู่เสมอ

what is margin-1

การจัดการความเสี่ยงของการเทรด Margin

ทุกรูปแบบการลงทุนนั้นมีย่อมความเสี่ยง แต่เราต้องใช้หลักการบริหารความเสี่ยงเหล่านั้นให้อยู่ในระดับที่เทรดเดอร์อย่างเรายอมรับได้เสมอ มิฉะนั้นการลงทุนกับการพนันนั้นก็คงแทบจะไม่ต่างกันไปเลย

สำหรับการเทรดในลักษณะของการใช้ Margin นี้ก็มีหลายจุดที่ต้องพิจารณาร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับทุกจังหวะการตัดสินใจลงทุน เราลองไปดูกันเลยว่ามีอะไรที่สำคัญบ้าง

1. กำหนดความเสี่ยงของเราต่อการซื้อขายทุกครั้ง

เทรดเดอร์มือใหม่มักจะซื้อขายสัญญาที่ใหญ่และมากเกินไป โดยหวังว่าจะทำกำไรได้มาก ซึ่งเป็นความคิดที่ใช้ได้และดีมาก หากเราคาดกาณ์ถูกต้อง แต่กลับมีเทรดเดอร์เพียงไม่กี่รายที่พิจารณาว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเขาต้องสูญเสียเงินจากการเทรดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เนื่องจ่ากความผันผวนของตลาดไม่เป้นไปอย่างที่คิดไว้ เราควรมีการวางจุดหยุดการขาดทุน หรือจุด Stop Loss ไว้ทุกครั้งที่ทำการเทรด Forex

2. ใส่ใจในความสัมพันธ์ระหว่าง Margin และ Leverage

ยิ่งค่า Leverage เป็นอัตราส่วนที่สูงมากเท่าไร ก็ยิ่งช่วยให้สร้างผลกำไรได้มากเท่านั้น แต่ในขณะเดียวกันความเสี่ยงที่จะขาดทุนก็สูงตามไปด้วย อย่าลืมว่าทุกการลงทุนนั้นมีผลลัพธ์ออกได้ 2 รูปแบบเสมอ คือ กำไรและขาดทุน ดังนั้นการเลือกใช้ Leverage ที่สูงที่สุดโดยไม่คำนึงถึง Margin ของเราเลยก็เป็นการตัดสินใจที่มีความเสี่ยงสูงพอสมควรซึ่งเราต้องระลึกเอาไว้อยู่เสมอ

หากโบรกเกอร์ของเรา กำหนดให้อัตราทดแก่เราที่ 1:20 ก็ให้นำเลขด้านหน้ามาหารด้วยเลขด้านหลัง กดเครื่องคิดเลขคำนวณ 1 หาร 20 แล้วนำไปคูณ 100 เช่น (1/20)x100 = 5% ซึ่งจะหมายหมายความว่าเราสามารถวางเงินวางประกัน (Margin) เพียงแค่ 5% ของมูลค่าสัญญาทั้งหมดที่เราจะลงทุนได้ เช่น เราสามารถนำเงิน 500 บาทมาเป็นหลักประกันเพื่อลงทุนมูลค่า ได้ถึง 10,000 บาท

– รักษาระดับ Margin ที่ดีเอาไว้เสมอ

เมื่อไรที่เราเริ่มขาดทุนไปจนถึงจุดที่ต่ำกว่าข้อกำหนดของโบรกเกอร์ จะมีการแจ้งเตือนเพื่อให้เราฝากเงินเพิ่มเข้าไป เรียกสถานการณ์นี้ว่า Margin Call หากเราเพิกเฉยก็จะมีผลกระทบรุนแรงหลายอย่าง อย่างเช่น การโดนปิดทุกออเดอร์ซื้อขายและยกเลิกสถานะถือครองที่มีอยู่ นับว่าสร้างความเสียหายค่อนข้างมากทั้งเรื่องเงินทุนของเราและสภาพคล่อง

พัฒนาหาความรู้และติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ

เพื่อหลีกเลี่ยงการเปิดออเดอร์ซื้อขายในจังหวะที่ผิด การติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องทั้งภาคเศรษฐกิจและสังคมทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างทันโลกทันเหตุการณ์นั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ใช่เพียงการอ่านบทวิเคราะห์ของสินทรัพย์ที่เราถือครองอยู่เท่านั้น แต่ต้องมองภาพรวมการลงทุนทั้งหมดด้วย นำทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกมาพิจารณาร่วมกัน นอกจากนี้การพัฒนาตัวเองด้วยการศึกษาเทคนิคใหม่ ๆ ก็จะช่วยให้เราลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพและมากประสบการณ์ยิ่งขึ้นในทุก ๆ วันอีกด้วย

ข้อดีของ Margin

การเทรดแบบ Margin หรือการใช้ Margin Trading นั้นมีข้อดีหลายอย่าง หากนักลงทุนเข้าใจและปรับใช้ให้สอดคล้องกับแนวทางการลงทุนของตัวเองได้ ก็จะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนแบบอื่นด้วยเงินทุนจำนวนเท่ากัน เราจะขอแสดงข้อดีของ Margin เป็นประเด็นดังนี้

– สามารถลงทุนด้วยเงินจำนวนน้อยได้

เพราะเราไม่ได้ทำการเทรดด้วยเงินเทียบเท่ากับมูลค่าของสินทรัพย์จริง แต่ใช้อัตราส่วน Leverage เข้ามาช่วย สมมติว่าเราต้องการซื้อสินทรัพย์มูลค่า 100,000 USD ก็อาจจะใช้เงินทุนจริงๆ แค่ 10 USD เท่านั้น ขึ้นอยู่กับการเลือกอัตราส่วน Leverage ที่โบรกเกอร์กำหนดไว้ให้ ทำให้มีโอกาสเปิดกว้างในการลงทุนมากขึ้น เพราะหากเราต้องเก็บเงินให้ถึง 100,000 USD หรือประมาณ 3,380,800 บาทซึ่งเทียบเท่ากับการซื้อบ้านได้หนึ่งหลังเลยทีเดียว แล้วค่อยนำเงินไปซื้อสินทรัพย์เต็มจำนวนทั้งมูลค่า คงจะเป็นการจำกัดการเทรด Forex จนเกินไปอย่างแน่นอน การใช้ Margin และ Leverage นี้เองที่ทำให้การลงทุน Forex เป้นเรื่องง่ายและเข้าถึงได้สำหรับทุกคน

– สร้างผลตอบแทนที่มากกว่าได้

นอกเหนือไปจากกลยุทธ์ในการลงทุนที่เฉียบคมแล้ว จำนวนเงินทุนที่ใช้ก็มีน้ำหนักต่อผลตอบแทนเช่นเดียวกัน เมื่อเทียบการลงทุนในสินทรัพย์ชนิดเดียวกันแล้ว คนที่ลงทุนด้วยเงินมากกว่ายอมสร้างผลกำไรได้สูงกว่าคนที่มีเงินต้นทุนน้อย แต่การเทรดแบบ Margin คนที่มีเงินต้นทุนน้อยสามารถถือครองสินทรัพย์มูลค่ามากเทียบกับคนที่มีต้นทุนมาก แต่ไม่ได้ใช้การเทรดแบบ Margin ได้ เลยทำผลกำไรได้มากตามไปด้วย

– อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำมาก

เงินกู้ที่กำลังพูดถึงอยู่นี้ก็คือส่วนของ Leverage นั่นเอง ซึ่งดอกเบี้ยตรงนี้อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ แล้วแต่ประเภทสินทรัพย์และโบรกเกอร์ที่เราใช้บริการอยู่ อย่างไรก็ตาม ต่อให้มีการคิดดอกเบี้ยเพิ่มก็จะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีอัตราต่ำมาก จนแทบจะไม่มีผลต่อการตัดสินใจต่อการใช้เงินทุนที่เป็นอัตราทดในการเทรดแบบ Margin นี้เลย อัตราดอกเบี้ยถูกมาก ๆ ดีกว่าการกู้ยืมจากธนาคารเพื่อนำเงินมาลงทุนอย่างเห็นได้ชัด

– มีการสะสมความน่าเชื่อถือ

หลังจากที่เราเทรดแบบ Margin ไปเรื่อยๆ แล้วมีการลงทุนที่ถูกทางจนสร้างผลกำไรได้ ระดับ Margin ในพอร์ตลงทุนก็สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่จะตามมาคือความน่าเชื่อถือของเราที่มีต่อสถาบันการเงินหรือโบรกเกอร์ผู้ให้บริการของเรา ทำให้เราได้รับสิทธิประโยชน์ที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง เช่น โบรกเกอร์ให้อัตราส่วน Leverage ที่สูงขึ้น หรือปล่อยเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงไปอีก เป็นต้น

ตัวอย่างของ Margin

มาถึงตรงนี้เชื่อว่าหลายคนคงได้เห็นภาพรวมทั้งหมดของ Margin กันไปแล้ว ในส่วนนี้จึงเป็นเหมือนการสรุปเรื่องราวของ Margin ให้เป็นรูปธรรมที่เข้าใจได้ง่ายอีกครั้ง ว่าความเคลื่อนไหวของ Margin จะเป็นไปอย่างไรบ้างในแต่ละช่วง

ในครั้งแรกที่เราเปิดพอร์ต สมมติว่าเริ่มต้นด้วยเงินลงทุนจำนวน 50 USD เราก็จะมี Margin Available 50 USD ที่สามารถใช้เพื่อเปิดคำสั่งซื้อสินทรัพย์ตัวไหนก็ได้ ถ้าตัดสินใจเปิดคำสั่งซื้อไปที่ 10 USD ด้วยการเลือกค่า Leverage 1:100 สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เราจะได้ถือครองสินทรัพย์ 1,000 USD แล้วค่า Margin Used จะเปลี่ยนเป็น 10 USD ส่วนค่า Margin Available จะลดน้อยลงเหลือแค่ 40 USD หรือต่ำกว่านั้นเล็กน้อย เนื่องจากอาจจะมีการหักค่าธรรมเนียมบางส่วนไปโดยโบรกเกอร์ ซึ่งค่าธรรมเนียมตรงนี้ก็จะไปแสดงตัวเลขติดลบเอาไว้ที่ส่วนของ Profit ในพอร์ตให้เห็นด้วย

ต่อมาถ้าสินทรัพย์ที่เลือกไว้ทำกำไร ตัวเลขในส่วนของ Margin Available จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามการเติบโตของผลกำไรนั้น และส่วนของ Profit ก็จะกลายเป็นค่าบวกที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน แต่หากขาดทุนก็จะเปลี่ยนสถานการณ์ให้กลายเป็นตรงกันข้าม ประเด็นสำคัญอยู่ตรงนี้ ถ้าเราขาดทุนแล้วทำให้ค่า Margin Available ลดลงเรื่อยๆ จนถึงจุดที่ต่ำกว่าค่ากำหนดต่ำสุด จะเกิดสถานะ Margin Call ที่ต้องเติมเงินเพิ่มเข้าไปเพื่อให้บัญชีดำเนินการต่อได้ ไม่เช่นนั้นพอร์ตลงทุนของเราก็จะถูกปิดอัตโนมัติหรือ Force Sell แล้วถูกบังคับรับรู้การขาดทุนในทันที

เราจะเห็นได้ว่าเรื่องราวของ Margin ในตลาดการลงทุนนั้นมีรายละเอียดค่อนข้างมาก แต่โดยรวมแล้วก็ไม่ได้ยากเกินกว่าจะเข้าใจ แถมยังทำประโยชน์ให้กับนักลงทุนได้หลายอย่าง การฝึกใช้งาน Margin ในช่วงแรกอาจทำให้รู้สึกยุ่งยากไปบ้าง เพราะมีหลายปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาร่วมกัน การคำนวณตามสูตรแล้วหาทางเลือกในการลงทุนที่ตอบโจทย์นักลงทุนได้ดีที่สุด ทั้งเรื่องเงินลงทุนและผลตอบแทน แต่พอผ่านการใช้งานไปสักพักหนึ่งแล้ว เราจะสามารถคำนวณสูตรการหา Margin ได้อย่างคล่องแคล่วและเป็นอัตโนมัติ สิ่งนี้จะกลายเป็นเครื่องมือที่สามารถคิดวิเคราะห์ให้เสร็จสิ้นได้ในเวลาอันรวดเร็ว ทั้งยังมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกครั้งที่ลงทุน คุณจะเก่งขึ้นเรื่อย ๆ อย่างแน่นอน

มาเทรด Forex กับ Mitrade กันดีกว่า

^^ Mitrade มีเงื่อนไขการเทรดที่เหนือกว่า ครอบคลุมทั้งข้อมูลทางด้านตราสาร ราคา และอื่น ๆ อีกมากมาย

^^ Mitrade แพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย ผู้นำนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีทางการเงิน

^^ Mitrade ค่าธรรมเนียมถูก ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของเราได้ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้ท่านมั่นว่าจะไม่มีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จากทางเรา

^^ Mitrade ควบคุมโดยหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติตามกฏระเบียบที่เข้มงวดและให้บริการด้วยความโปร่งใส

^^ Mitrade ฝ่ายบริการลูกค้าออนไลน์ภาษาไทยที่ยอดเยี่ยม

^^ Mitrade มีระบบป้องกันเงินทุนติดลบ จัดหาเครื่องมือสำหรับจัดการความเสี่ยงที่ดีให้ลูกค้า

**คำเตือน การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

เนื้อหาในบทความเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับประกอบการตัดสินใจก่อนการลงทุนเท่านั้น ผู้อ่านควรศึกษาปัจจัยประกอบจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งก่อนการตัดสินใจ และใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลในการพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ลงทุนที่เหมาะสมแก่ท่าน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

รับฟรีทันที! เงินเสมือนจริง $50,000 เพื่อฝึกฝนการเทรดกับ Mitrade!