P/E Ratio คืออะไร ใช้ยังไง ทำไมคนเล่นหุ้นต้องดู?

การเล่นหุ้นโดยไม่รู้จัก P/E Ratio ก็เหมือนกับการขับรถไปเรื่อย ๆ ทั้งที่เรายังไม่รู้ว่ารถของเรานั้นต้องเติมน้ำมันชนิดใด เติมเต็มถังได้เท่าไหร่ สามารถวิ่งไกลได้แค่ไหน มีอัตราการประหยัดน้ำมันมากน้อยเท่าใด แต่ที่กล่าวมานั้นไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่ไปถึงที่หมาย แต่เราคงไม่ได้รู้รายละเอียดของรถยนต์ที่เราขับดีเพียงพอนั่นเอง เช่นเดียวกับค่า P/E Ratio จะเป็นตัวช่วยในการบ่งบอกให้เราทราบถึงรายละเอียดต่าง ๆ ว่าเทรดเดอร์อย่างเรานั้น ต้องจ่ายเงินเท่าไรเพื่อให้ได้กำไร 1 บาท สำหรับในการลงทุนสินทรัพย์ประเภทหุ้น วันนี้เราจึงพาไปรู้จักกับค่า P/E Ratio กัน

P/E Ratio คืออะไร

P ย่อมาจาก Price คือ ราคา ส่วน E ย่อมาจาก Earning คือ กำไร ค่า P/E ถ้าใช้วิเคราะห์จะช่วยบอกให้เราทราบว่า นักลงทุนต้องจ่ายเงินเท่าไรเพื่อให้ได้กำไร 1 บาท

คิดโดย นำราคาหุ้น มาหารด้วย กำไรสุทธิต่อหุ้น ตัวอย่างเช่น หุ้น ก ราคา 100 บาท  บริษัทมีผลกำไรต่อหุ้นในปีล่าสุดอยู่ที่ 20 บาท   ค่า P/E ที่คำนวนได้จะเท่ากับ 100/20 = 5 และจะแปลผลได้ว่า นักลงทุนต้องจ่ายเงิน 5 บาท เพื่อให้ได้กำไร 1 บาท ต่อปี

ดังนั้น P/E Ratio มาจาก Price to Earnings Ratio หรือ ราคาตลาดต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น มีหน่วยเป็นเท่า หรือมีหน่วยเป็นปี เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่เทียบกันระหว่าง Price/Earning Per Share

นอกจากนี้ P/E Ratio จะเป็นตัวบอกว่า ถ้าเราซื้อหุ้นในราคาเท่านี้ ตอนนี้ เราจะได้ทุนคืนในอีกกี่ปี หากบริษัทยังทำกำไรได้เท่าเดิมในทุก ๆ ปี P/E Ratio จะเป็นตัวเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดของหุ้นสามัญต่อกำไรสุทธิต่อหุ้นสามัญที่บริษัทนั้นทำได้ในรอบระยะเวลา 12 เดือน หรือในรอบ 1 ปีล่าสุด ว่าเป็นกี่เท่าของกันและกัน

อัตราส่วน P/E เป็นอัตราส่วนทางการเงินยอดนิยมของนักลงทุนสายคุณค่า (VI) โดยนำข้อมูลทางการเงินมาใช้วิเคราะห์พื้นฐานของบริษัท โดยคำนวณมาจากราคาตลาดของหุ้นหารด้วยกำไรต่อหุ้น (Price/Earnings Per Share) หรือก็คือ การนำราคาหุ้นมาเทียบกับความสามารถในการสร้างกำไรของบริษัท

P/E ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ

1. Trailing P/E หรือ P/E ย้อนหลัง เป็นการคำนวณมาจากกำไรย้อนหลังของ 4 ไตรมาส

2. Forward P/E หรือ P/E ล่วงหน้า คำนวณจากการคาดการณ์กำไรในอนาคต จะใช้กำไรต่อหุ้น 4 ไตรมาสข้างหน้า

หมวดหมู่หุ้นกับค่า P/E โดยทั่วไปแล้ว เราอาจจะแบ่งหุ้นตามลักษณะ P/E ได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1.หุ้นมูลค่า (Value Stocks) เป็นหุ้นที่มีทรัพย์สิน หรือหลังจากคิดมูลค่าอันแท้จริงของบริษัทแล้ว ราคาในตลาดต่ำกว่าความเป็นจริง หรือหุ้นที่ดูมูลค่าได้นั่นเอง ตลาดมักจะมองว่ากลุ่ม value มี P/E ที่ไม่สูงจะมีค่า P/E ที่ไม่สูงมาก

เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินใจว่าหุ้นตัวไหนเป็นหุ้นคุณค่า มีดังนี้

  • อัตราการจ่ายเงินปันผล (High Dividend Yield)
  • อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น (P/E Ratio)
  • มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (P/BV Ratio)

2. หุ้นเติบโต (Growth Stocks) เป็นหุ้นที่เติบโตไปกับอนาคต ราคาแพง PE สูง เนื่องจากคาดหวังการเติบโต คาดหวัง EPS Growth ที่สูง  หรือราคาอาจให้ความหวังไปกับเรื่องราว และนวัตกรรมต่าง ๆ ในอนาคต ดังนั้นเราจึงเห็นค่า PE สูง ๆ ในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีหรือกลุ่ม Healthcare ที่มีโปรเจคเปลี่ยนแปลงโลกในอนาคตต่าง ๆ ต้องคำนึงไว้อย่างนึงด้วยว่า หุ้นเติบโตเป็นหุ้นที่เล่นไปกับอนาคตผ่านความคาดหวังที่ค่อนข้างสูงซึ่งอาจมีความไม่แน่นอนได้ จึงเป็นที่รู้จักของนักลงทุนทั่วไปว่า “หุ้นดี ราคาแพง”

เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินใจว่าหุ้นตัวไหนเป็นหุ้นคุณค่า มีดังนี้

  • อัตราการจ่ายเงินปันผล (Low Dividend Yield)
  • หุ้นที่มีการซื้อขายที่มีอัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น (P/E Ratio)
  • หุ้นที่มีมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (P/BV Ratio)

วิธีคำนวณของ P/E Ratio

สูตรการหาค่า P/E = ราคาหุ้น (price) / กำไรต่อหุ้น (EPS) 4 ไตรมาส (ย้อนหลัง หรือ คาดการณ์)

ข้อจำกัดของ P/E Ratio

1.กำไรต่อหุ้น ที่อาจไม่ตรงกับความเป็นจริง

2.สภาวะที่อัตราเงินเฟ้อสูงอย่างรวดเร็ว ก็ทำให้ธุรกิจที่มีสินค้าคงคลังจำนวนมาก ดูเหมือนจะมีค่า P/E ต่ำ เพราะ EPS(กำไรต่อหุ้น) สูง แต่เมื่อสินค้าดังกล่าวหมดไป แนวโน้ม EPS(กำไรต่อหุ้น) ในอนาคต ก็อาจจะลดลง ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

3.หุ้นที่มีค่า P/E ต่ำ ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นหุ้นที่อยู่ในช่วงราคาที่เหมาะสมต่อการลงทุนเสมอไป เพราะบางบริษัทที่ถูกคาดการณ์ว่าจะมีอัตรากำไรในอนาคตที่ต่ำลง ราคาหุ้นก็จะลดลงก่อน ทำให้ P/E ต่ำ

ความเสี่ยงของกิจการทางธุรกิจ ทางการเงิน และอื่น ๆ อาจะทำให้ค่า P/E ดูบิดเบือนได้

แต่ละอุตสาหกรรม มีค่า P/E เฉลี่ยแตกต่างกัน ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้ บริษัทขนาดเล็กขนาดใหญ่เหมือนกันหมด ดังนั้น การใช้ค่า P/E เฉลี่ยที่แตกต่างกัน ต้องชึความระมัดระวังเพราะ ค่า P/E ที่เหมาะสมเป็นค่าที่ต้องใช้การวิเคราะห์คำนวณเอง ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ดังนั้นควรใช้ P/E เป็นเครื่องมือเปรียบเทียบภายในบริษัทในภาคส่วนเดียวกัน เนื่องจากวิธีการสร้างรายได้ และระยะเวลาที่ต่างกันด้วย ดังนั้นการที่เราจะทำการเลือกซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่งไม่สามารถบอกได้จาก P/E Ratio เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ต้องพิจารณาอัตราอย่างอื่นร่วมด้วย 

นอกจากนี้ข้อจำกัดในการคำนวณอัตราส่วน P/E ที่จะให้ความแม่นยำ และได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ต้องดูมูลค่าของตลาดหุ้นการประมาณการกำไรหุ้นที่ถูกต้อง เพราะว่าข้อมูลมาจากหลายแหล่งที่เชื่อถือมากมายควรมีการวิเคราห์กลั่นกรอง

what is pe

ตัวอย่างของ P/E Ratio

ตัวอย่างหุ้น A ราคา 300 บาท บริษัทมีผลกำไรต่อหุ้นใน 4 ไตรมาสล่าสุดอยู่ที่ 40 บาท

            ค่า P/E ที่คำนวณของ A ได้จะได้เท่ากับ 300/40 = 7.5

ทั้งนี้จะแสดงให้เห็นว่า นักลงทุนต้องจ่ายเงิน 7.5 บาท เพื่อให้ได้กำไร 1 บาท ต่อปี และสามารถพิจารณาเปรียบเทียบอัตราส่วน P/E ดูว่าบริษัทใดมีมูลค่าสูงหรือต่ำเกินไปได้อีกด้วย

ใช้ P/E Ratio วิเคราะห์หุ้นได้อย่างไร

1.  PE ยิ่งต่ำยิ่งดี คือ เมื่อคุณซื้อหุ้น P/E ต่ำคือ ซื้อหุ้นถูก ก็เพราะนักลงทุนสามารถคาดการณ์ผลตอบแทนได้ในระยะเวลาที่น้อยกว่า แต่การซื้อหุ้น P/E ต่ำ ก็ไม่ใช่ข้อดีเสมอไป โดยนักลงทุนต้องวิเคราะห์ปัจจัยอื่น ๆ ด้วยได้แก่ ความเสี่ยงของกิจการ ความผันผวนของกำไร สถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อกำไรของบริษัท การเติบโตของบริษัท ธรรมาภิบาลของผู้บริหาร ฯลฯ เพราะนอกจากค่า P/E ที่ต่ำจะสะท้อนถึงการประเมินราคาหุ้นในปัจจุบันแล้ว อาจยังหมายถึง หุ้นที่มีราคาตกลงมาอย่างรวดเร็จจากการเทขายของนักลงทุนเนื่องจากเป็นหุ้นที่กำลังตกต่ำและไม่น่าสนใจ หรือพูดง่าย ๆ นักลงทุนส่วนใหญ่มองไม่เห็นอนาคตในหุ้นดังกล่าวแล้ว ก็สามารถเป็นไปได้นั่นเอง

2. ใช้ค่า P/E เปรียบเทียบหุ้นกับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน ว่าบริษัทไหนภายในอุตสาหกรรมที่น่าสนใจลงทุนมากกว่า โดยการเปรียบเทียบค่า PE ไม่ควรทำข้ามอุตสาหกรรมเพราะมักมีอัตราส่วน PE แตกต่างกันตามลักษณะและธรรมชาติของกิจการ

แล้วทำไมคนเล่นหุ้นต้องดู P/E Ratio

เพื่อให้เห็นว่าผู้ลงทุนยินดีจะลงทุน ในการจ่ายเงินซื้อหุ้นนั้นเป็นกี่เท่าของกำไรสุทธิทุก 1 บาท และเพื่อเป็นการช่วยนักลงทุน สามารถประมาณการจุดคุ้มทุนในการลงทุนหุ้นได้ และสามารถเปรียบเทียบ P/E ของบริษัทกับหุ้นอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือกับตลาดในวงกว้างได้

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ P/E Ratio

หุ้น P/E ที่ว่าแพง ทำไมถึงยังมีคนสนใจ

คำตอบ นั่นก็เพราะว่า บริษัทที่ P/E สูงก็อาจจะไม่ใช่บริษัทที่หุ้นมีราคาแพงเสมอไป เพราะบางครั้งนักลงทุนอาจมองเห็นศักยภาพการเติบโตของบริษัท แต่ก็มีหุ้นของบางบริษัทที่มีอัตราส่วน P/E สูง และต่อมาราคาก็ลดลงอีกเช่นกัน ซึ่งไม่ว่าจะลงทุนในหุ้นที่มีอัตราส่วน P/E เท่าใดก็ตาม สิ่งสำคัญนั่นก็คือนักลงทุนต้องหมั่นศึกษาข้อมูลของบริษัทอยู่ตลอดนั่นเอง

PE สูงมาก หรือหาค่าไม่ได้วิเคราะห์อย่างไร

คำตอบ  PE สูงมาก หรือหาค่าไม่ได้วิเคราะห์โดย ต้องปรับกำไรให้เป็นกำไรปกติก่อน เพราะ บริษัทหลายบริษัทมีกำไรขาดทุนพิเศษ ทำให้ตัวเลขกำไรเพี้ยนไปเป็นอย่างมาก เช่น มีการปรับมาตรฐานทางบัญชี มีกำไรหรือขาดทุนที่ไม่ได้มาจากการดำเนินงาน ควรแยกคิดจากกำไรขาดทุนปกติที่นำมาคิดค่า PE เมื่อตัดตัวเลขก้อนนี้ทิ้ง เราจะเห็น PE ของบริษัทที่เป็นจริงมากขึ้น

การใช้ P/E Ratio ในการวิเคราะห์กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้น

คำตอบ  นั่นก็เพราะว่า นักลงทุนยังสามารถใช้ P/E Ratio ในการวิเคราะห์กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นได้เหมือนกัน P/E Ratio ที่ใช้ในการวิเคราะห์กองทุนรวมเรียกว่า Price/Prospective Earnings โดยเป็นการตัวกำไรที่นำมาใช้คำนวณ มาจากค่าคาดการณ์กำไรในอนาคตของหุ้นทุกตัวที่กองทุนรวมถืออยู่

PE หรือ Price to Earning Ratio คืออะไร

คำตอบ  PE คือ อัตราส่วนทางการเงินที่แสดงถึง อัตราส่วนหุ้นต่อกำไรสุทธิ ที่ได้จากการนำ ราคาหุ้น มาเทียบกับกำไรต่อหุ้น ซึ่งมักถูกนำมาใช้บอกความถูกหรือแพงของหุ้น รวมถึงการนำมาใช้บอกระยะเวลาของหุ้นนั้น ๆ อีกด้วย

รู้อัตราราคาต่อกำไรสุทธิ (P/E Ratio) ไปทำไม

คำตอบ เพื่อแสดงอัตราส่วนนี้ให้เห็นว่า ผู้ลงทุนยินดีจะลงทุน หรือจ่ายเงินซื้อหุ้นนั้นเป็นกี่เท่าของทุก ๆ 1 บาท ของกำไรสุทธิของบริษัทนั้น ๆ

ความสำคัญของอัตราส่วน P/E Ratio

คำตอบ PE Ratio ถือเป็นอัตราส่วนขั้นตอนพื้นฐานของนักลงทุนทั้งมือใหม่และมือเก่า ที่มักนำไปใช้วิเคราะห์หุ้น เนื่องจากอัตราส่วน PE สามารถใช้วิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ได้ดี

พัฒนาการของ Long-Term P/E Ratio คืออะไร

คำตอบ โดยทั่วไปแล้วมักจะใช้ค่ากำไรสุทธิ 1 ปีหรือ 4 ไตรมาสล่าสุดในการคำนวณ แต่อาจไม่ได้สะท้อนถึงประสิทธิภาพของค่า P/E Ratio ในการประเมินมูลค่าหุ้นที่มีอยู่อย่างแท้จริง จึงเป็นที่มาของการใช้ระยะเวลาย้อนหลังของค่ากำไรสุทธิที่ยาวนานขึ้น และเกิดเป็นแนวคิดของการใช้ค่า P/E Ratio ในระยะยาว (Long Term P/E Ratio) ขึ้นมาในที่สุด

สรุป

P/E Ratio คือ ค่าของการเปรียบเทียบระหว่างตลาดของหุ้นสามัญต่อกำไรสุทธิต่อหุ้นสามัญ ในรอบ 1 ปี ว่าเป็นกี่เท่าของกันและกัน บอกความถูกความแพงของราคาหุ้น และความคาดหวังของนักลงทุน โดยมีการคำนวณ ดังนี้ ค่า P/E = ราคาหุ้น (price) / กำไรต่อหุ้น (EPS) 4 ไตรมาส (ย้อนหลัง หรือ คาดการณ์)

เพราะฉะนั้น หุ้นที่ราคาเกือบร้อยอาจจะไม่ได้แปลว่าแพงก็เป็นได้ หรือหุ้นราคาหลักหน่วย หลักสิบอาจจะไม่ได้แปลว่าถูกเสมอไป โดยขึ้นอยุ่กับอัตราส่วนประกอบ P/E และอัตราอื่น ๆ ประกอบ ไปจนถึงความพึงพอใจของผู้ลงทุนที่ยินดีลงทุนหุ้นนั้นด้วย

what is pe -1

ข้อมูลเพิ่มเติม>>>

เปรียบเทียบค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น โบรกไหนค่าคอมถูกสุด

เล่นหุ้นเริ่มต้นกี่บาท? ควรเริ่มอย่างไรสำหรับเล่นหุ้นมือใหม่

ตลาดหุ้นเปิดปิดกี่โมง และวันหยุดตลาดหุ้นประจำปี 2564 และ 2565

เปิดพอร์ตหุ้นที่ไหนดี และวิธีการเปิดพอร์ตหุ้น?

การเล่นหุ้นระยะสั้นเหมาะกับมือใหม่ไหม?

**คำเตือน การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

เนื้อหาในบทความเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับประกอบการตัดสินใจก่อนการลงทุนเท่านั้น ผู้อ่านควรศึกษาปัจจัยประกอบจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งก่อนการตัดสินใจ และใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลในการพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ลงทุนที่เหมาะสมแก่ท่าน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

รับฟรีทันที! เงินเสมือนจริง $50,000 เพื่อฝึกฝนการเทรดกับ Mitrade!