ROA คือ อะไร? ค่า ROA กับ ค่า ROE แตกต่างกันอย่างไรบ้าง?

การลงทุนในช่วงนี้นักลงทุนจะต้องเน้นในหุ้นพื้นฐานกันมากยิ่งขึ้น ในการวัดดูอัตราส่วนทางการเงิน ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น และวัดประสิทธิภาพของการดำเนินงานบริษัทนั้น ๆ ให้แม่นยำก่อนการลงทุน โดยวัดความสามารถในการดำเนินงานด้วยอัตราส่วน ROE และ ROA ซึ่งบทความนี้จะบอกถึงความหมาย การคำนวณและความแตกต่างของค่า ROE กับ ROA นั่นเอง

 (Return on asset) ROA คืออะไร? ข้อจำกัดของ ROA

Return on asset (ROA) คือ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ เป็นสัดส่วนระหว่างกำไรสุทธิ (Net Profit) และสินทรัพย์รวม (Asset) ซึ่งวัดผลออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) บ่งบอกว่าบริษัททำกำไรได้มากน้อยเท่าไรเมื่อเทียบกับสินทรัพย์รวมของบริษัทนั้น

ROA บอกอะไรเราบ้าง

  • บอกความสามารถของบริษัทในการทำกำไรต่อสินทรัพย์ที่มีอยู่
  • ROA ยิ่งสูงยิ่งดี
  • ROA สูงขึ้นในแต่หล่ะปี เมื่อเทียบปีต่อปี ก็บอกความสามารถของบริษัทในการลงทุนเพื่อสร้างกำไรมากขึ้น
  • ROA กับ ROE จะมีค่าเท่ากันถ้าหากบริษัทไม่มีหนี้สินเพราะ Total Assets = shareholders equity – Total Liabilities
  • ถ้าเป็นบริษัทที่มีหนี้สินสูง ก็ควรจะใช้ ROA ในการคำนวนวัดความสามารถ

ข้อจำกัดของ ROA

ประการแรก ROA ไม่สามารถใช้ข้ามอุตสาหกรรมได้ เป็นเพราะบริษัทในอุตสาหกรรมหนึ่งมีฐานสินทรัพย์ที่ แตกต่าง จากในอุตสาหกรรมอื่น ดังนั้นฐานสินทรัพย์ของบริษัทในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซจึงไม่เหมือนกับในอุตสาหกรรมค้าปลีก

ประการที่สอง นักวิเคราะห์บางคนยังรู้สึกว่าสูตร ROA พื้นฐานมีข้อจำกัดในการใช้งาน ซึ่งงบดุลของธนาคารแสดงมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์และหนี้สินได้ดีกว่า เนื่องจากมีการแสดงมูลค่าตามราคาตลาดผ่าน การบัญชี แบบ Mark-to-Market (หรืออย่างน้อยประมาณมูลค่าตลาด) เมื่อเทียบกับต้นทุนในอดีต

ROA คำนวณอย่างไร?

คำนวณจาก การนำกำไรสุทธิ (Net Profit) หารด้วยสินทรัพย์รวม (Total Asset) และนำไปคูณ 100 เพื่อแปลงเป็นเปอร์เซ็นต์ (ถ้าหากไม่คูณ 100 จะมีหน่วยเป็นเท่า) ที่แสดงให้เห็นว่าบริษัททำกำไรได้กี่เปอร์เซ็นต์จากสินทรัพย์ที่มี

 ROA = กำไรสุทธิ (Net Income)/สินทรัพย์รวม (Assets) x 100 (Percentage) 

ที่มาของจำนวนกำไรสุทธิและสินทรัพย์รวม

การคำนวณกำไรสุทธิ เป็นสูตรที่ใช้สำหรับงบกำไร/ขาดทุน (Income statement) ซึ่งกำไรสุทธิ สามารถคำนวณได้จากการนำรายได้รวมทั้งทางตรงและทางอ้อมของกิจการ นำมาหักลบด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกอบด้วยต้นทุนของสินค้า ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของกิจการทุกประเภท รวมทั้งภาษีจ่าย ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นกำไรสุทธิ

สินทรัพย์รวมโดยเฉลี่ยใช้ในการคำนวณ ROA มาจากยอดรวมของสินทรัพย์ของบริษัทอาจแตกต่างกันไปตามช่วงเวลาเนื่องมาจากการซื้อหรือการขายยานพาหนะ ที่ดิน อุปกรณ์ การเปลี่ยนแปลงสินค้าคงคลัง หรือความผันผวนของยอดขายตามฤดูกาล ด้วยเหตุนี้ การคำนวณสินทรัพย์รวมโดยเฉลี่ยสำหรับช่วงเวลาที่เป็นปัญหาจึงแม่นยำกว่าสินทรัพย์รวมในช่วงเวลาหนึ่ง

ความแตกต่างระหว่าง ROA และ ROE คืออะไร?

อัตราส่วน ROE หรือ Return on Equity Ratio คือ อัตราส่วนของผลกำไรสุทธิที่ผู้ถือหุ้นนั้นจะได้รับ โดยนิยมใช้ในการวิเคราะห์เพื่อวัดผลตอบแทนจากการดำเนินธุรกิจที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับ ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารงานของบริษัทโดยวัดจากผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับ

อัตราส่วน ROA Ratio หรือ Return on Assets Ratio คือ อัตราส่วนของผลกำไรสุทธิจากการดำเนินธุรกิจสินทรัพย์ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของบริษัทในการนำสินทรัพย์ไปลงทุนและสร้างผลตอบแทน โดยเป็นค่า ROA นั้นแสดงถึงผลกำไรจากการดำเนินงานเปรียบเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมดที่บริษัทใช้ดำเนินการ

โดยทั่วไปแล้ว ROE มักจะมากกว่า ROA เป็นเรื่องปกติ เนื่องจากสินทรัพย์จะมีค่ามากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น

ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่าอัตราส่วน ROE นั้นเป็นการเทียบอัตราผลตอบแทนของบริษัทต่อผู้ถือหุ้น และอัตราส่วน ROA เป็นอัตราผลตอบแทนของบริษัทต่อสินทรัพย์นั่นเอง 

ควรใช้ ROA เมื่อใดและควรใช้ ROE เมื่อใด

ROA เหมาะกับการเปรียบเทียบระหว่างบริษัทที่มีธุรกิจคล้ายคลึงกันหรือเปรียบเทียบกับ ROA เฉลี่ยของอุตสาหกรรมนั้น ยิ่ง ROA สูงบ่งบอกว่าบริษัทสามารถนำสินทรัพย์ไปสร้างกำไรสุทธิได้มากซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพของบริษัท ROA มากกว่า 5% ถือว่าดี แต่ถ้ามากกว่า 20% คือเยี่ยม

ROE บอกแนวโน้มการทำกำไรจากเงินลงทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น โดย ROE ยิ่งสูง ยิ่งดี เมื่อคำนวณออกมาแล้วจะได้เป็นอัตราส่วนทางการเงิน ซึ่งถ้าหุ้นนั้น ๆ มี ROE ไม่น้อยกว่า 15% จะถือว่าเป็นหุ้นที่สร้างกำไรได้สูงโดยไม่ต้องใช้ส่วนของผู้ถือหุ้นเยอะ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นหุ้นที่สร้างผลตอบแทนได้ดี

จะตรวจสอบผลตอบแทนจาก ROA ได้อย่างไร?

หาก ROA ที่คำนวณได้มีค่ามาก แสดงว่ากิจการได้นำสินทรัพย์ที่มีอยู่ไปใช้ในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ได้ผลตอบแทนรับผลตอบแทนสูง

หาก ROA ที่คำนวณได้มีค่าน้อย  แสดงว่ากิจการได้นำสินทรัพย์ที่มีอยู่ไปใช้ในการดำเนินงานได้อย่างไร้ประสิทธิภาพ ทำให้ผลตอบแทนจากการใช้สินทรัพย์ไม่ดีเท่าที่ควร

เราจึงทำการคัดหุ้นพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพสูง พื้นฐานแกร่ง ROE และ ROA สูงที่สุด 5 อันดับแรกของขนาดใหญ่ที่ถูกคำนวณโดยดัชนี SET 100 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) มาฝากนักลงทุนทุกคน

5 หุ้นพื้นฐานแกร่ง ROE สูง

หุ้น กลุ่มธุรกิจROE
STGT ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ 104.26%
STARK วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร 54.18%
RCL ขนส่งและโลจิสติกส์ 45.58%
COM7 พาณิชย์ 43.94%
STA ธุรกิจการเกษตร 42.16%

5 หุ้นพื้นฐานแกร่ง ROA สูง

หุ้นกลุ่มธุรกิจ ROE
STGTของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ 77.75%
STA ธุรกิจการเกษตร 33.22%
RCL ขนส่งและโลจิสติกส์ 24.90%
TASCOวัสดุก่อสร้าง 23.92%
CBG อาหารและเครื่องดื่ม 23.68%

4 สิ่งที่ต้องระวังเมื่อเลือกหุ้นโดยใช้ผลตอบแทนจาก ROA

การที่ ROA มีค่าสูงอาจจะไม่ได้บอกว่าหุ้นตัวนี้น่าลงทุน หรือว่าบริษัทนี้มีราคาที่ถูกหรือว่าแพง ดังนั้น การใช้ ROA ประเมินความสามารถในการสร้างผลตอบแทนเพียงตัวเดียวอาจจะไม่ใช่วิธีการที่เหมาะสม นักลงทุนควรพิจารณาอัตราส่วนทางการเงินอื่น ๆ อย่างเช่น ดูความแข็งแกร่งของบริษัท ความเสี่ยงเรื่องหนี้สิน ความเคลื่อนไหวของเงินด้วยงบกระแสเงินสด วัดค่าความถูกพงด้วยอัตราส่วน PE ประกอบด้วยเสมอ

วิเคราะห์หุ้นด้วย ROA และ ROE

ตัวอย่าง ROA

สมมุติ มี 2 บริษัท A กับ B

บริษัท A: ทำกำไรได้ 200,000 บาท

บริษัท B: ทำกำไรได้ 100,000 บาท

ถ้าดูแค่นี้จะเห็นว่า A ทำกำไรได้มากกว่า ซึ่งจะด่วนตัดสินใจว่าน่าลงทุนกว่า

Total Assets บริษัท A = 10,000,000 บาท

Total Assets บริษัท B = 2,000,000 บาท

จะเห็นว่าบริษัท B มี Assets น้อยกว่า แต่ยังคงทำกำไรได้น้อยกว่า

เรามาลองคำนวน ROA ดูกัน

ROA บริษัท A = (200,000/10,000,000)*100 = 2%

ROA บริษัท B= (100,000/2,000,000)*100 = 5%

สรุป ก็จะเห็นชัดเจนขึ้นว่า บริษัท B สามารถทำกำไรได้ดีกว่าตั้ง 2.5 เท่า

ตัวอย่าง ROE

ยกตัวอย่าง ปี 2565 หุ้น AAA มีกำไรสุทธิ 10,000 ล้านบาท มีส่วนของผู้ถือหุ้น 50,000 ล้านบาท ดังนั้น ROE เท่ากับ 20% หมายความว่า บริษัทนี้ใช้ส่วนของผู้ถือหุ้น 100 บาท ในการทำกำไรได้ 20 บาท

หากลงทุนด้วยเงิน 100 บาทของผู้ถือหุ้น บริษัทนำไปสร้างผลตอบแทนเป็นกำไรได้กี่บาท ซึ่งโดยทั่วไปยิ่งสร้างกำไรได้มากยิ่งดี ถือว่ายิ่งคุ้มค่ากับเงิน 100 บาท และควรดู ROE ย้อนหลัง เช่น 5 ปี 10 ปี เพื่อดูอัตราการเจริญเติบโตของบริษัทว่าโตอย่างสม่ำเสมอหรือไม่

ยกตัวอย่าง ROA ของหุ้น

บริษัท DDD มีสินทรัพย์ 500,000 บาท ทำกำไรสุทธิได้ 30,000 บาท ROA จะเท่ากับ 6% และ บริษัท CCC มีสินทรัพย์ 700,000 บาท ทำกำไรสุทธิได้ 50,000 บาท ROA จะเท่ากับ 7.14% ดังนั้น บริษัท CCCสามารถใช้สินทรัพย์ในการสร้างกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าบริษัท DDD

เทรดหุ้นด้วย CFD กับ MITRADE

ก่อนอื่นเราต้องมารู้จัก CFD กันก่อน หรือที่เรียกกันว่า สัญญาซื้อขายส่วนต่าง นั่นเอง CFD เป็นตราสารอนุพันธ์รูปแบบหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยสถาบันการเงิน ซึ่งคู่สัญญาตกลงที่จะจ่ายส่วนต่างระหว่างราคาเมื่อเปิดและปิดการซื้อขาย และเป็นการลงทุนได้หลากหลาย ได้รับข้อดีมากมายเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนอื่น ๆ ที่มีรูปแบบทั่วไป สามารถเลือกลงทุนได้ทั้งขาขึ้นและขาลง ต่างจากการลงทุนอย่างอื่น แต่การลงทุนอย่างอื่นนั้น นักลงทุนจะต้องลงทุนเฉพาะที่คาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มขาขึ้นอย่างเดียวเท่านั้น สิ่งนี้จึงเป็นที่นิยมสำหรับนักลงทุนส่วนมากที่เลือกเทรดหุ้นด้วย CFD

นักลงทุนกำลังมองหาโบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถืออยู่ใช่ไหม วันนี้เราขอแนะนำโบรกเกอร์ MiTrade เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการในการลงทุนของคุณ

เราขอแนะนำ MiTrade ที่ได้รับการอนุญาตและอยู่ภายใต้การควบคุมของ Australian Securities and Investments Commission (ASIC) และ Australian Financial Services Licence (AFSL 398528) การซื้อขายและการจัดการต่าง ๆ จะอยู่ภายใต้ข้อกำหนดของทาง ASIC อีกทั้งยังได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้หลายพันคน ให้บริการซื้อขาย CFD ด้วยสเปรดต่ำ มีจำนวนล็อตขั้นต่ำในการซื้อขายต่ำถึง 0.01 ล็อต และให้เลเวอร์เรจในการซื้อขายสูงสุด 200 เท่า มีค่าใช้จ่ายในการเทรดที่แข่งขันได้ รวมถึงต้นทุนในการเทรดที่ต่ำ ค่าคอมมิชชั่นเป็นศูนย์ ค่าธรรมเนียมข้ามคืนต่ำ ค่าสเปรดที่โปร่งใสยอมรับได้ และสามารถแลกเปลี่ยนสกุลเงิน สินค้าโภคภัณฑ์ ดัชนี และอื่น ๆ ในพอร์ตเดียวอีกด้วย

Mitrade กับสิทธิประโยชน์ที่นักลงทุนจะได้รับ

  • Free ฝากเงิน
  • Free ราคาแบบเรียลไทม์
  • Free กราฟทางเทคนิค
  • Free บัญชีทดลองพร้อมเงินจำลอง 50,000 USD เพื่อให้คุณทำความคุ้นเคยกับตลาดดัชนี CFD และฝึกฝนทักษะการซื้อขายของคุณ 

**คำเตือน การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

เนื้อหาในบทความเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับประกอบการตัดสินใจก่อนการลงทุนเท่านั้น ผู้อ่านควรศึกษาปัจจัยประกอบจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งก่อนการตัดสินใจ และใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลในการพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ลงทุนที่เหมาะสมแก่ท่าน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

รับฟรีทันที! เงินเสมือนจริง $50,000 เพื่อฝึกฝนการเทรดกับ Mitrade!