ROE คือ อะไร? สูตรคำนวณ Return on Equity ได้อย่างไร

เมื่อเราได้เริ่มเข้าสู่โลกของการลงทุนแล้ว เราจำเป็นต้องรู้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เป็นองค์ประกอบในการวิเคราะห์ลงทุน และเพื่อให้นักลงทุนมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นในการลงทุน เหล่านักลงทุนคงล้วนอยากจะเฟ้นหาหุ้นที่ได้ผลตอบแทนดี มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหนึ่งในอัตราส่วนที่จะช่วยให้นักลงทุนสามารถหาหุ้นที่ได้ผลตอบแทนที่ดี โดยใช้การคำนวณอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ประกอบการลงทุนคือ ROE (Return on Equity) ในบทความนี้จะมาบอกว่า ROE คืออะไร จะใช้เป็นตัวช่วยเจาะลึกคุณภาพการดำเนินการของบริษัทได้ และวัดผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นได้มากน้อยเพียงใด
Table of Contents
ROE คือ อะไร?
ROE ย่อมาจาก Return on Equity หรือเรียกว่า อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น โดยมีวิธีการคำนวณ คือ นำค่าของ Net Profit (กำไรสุทธิ) มาหารด้วย Equity (ส่วนของผู้ถือหุ้น) ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นอัตราส่วน ในรูปค่าของ % หรือนำกำไรสุทธิหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งถ้าหุ้นนั้น ๆ มี ROE ไม่น้อยกว่า 15% จะถือว่าเป็นหุ้นที่สร้างกำไรได้สูงโดยไม่ต้องใช้ส่วนของผู้ถือหุ้นเยอะ
ROE จะบอกแนวโน้มการทำกำไรจากเงินลงทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น ถ้า ROE อยู่ในระดับสูง หมายถึงบริษัทมีความสามารถในการทำกำไรที่ดี ผู้บริหารสามารถจัดสรรเงินลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนสูงสุดให้ผู้ถือหุ้นได้สูง ซึ่งหมายถึงมีโอกาสจ่ายเงินปันผลหรือราคาหุ้นขยับขึ้นได้ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นหุ้นที่สร้างผลตอบแทนได้ดีนั่นเอง ดังนั้น ROE จะเหมือนเป็นแค่กระจกมองหลังของธุรกิจว่ามีสถานะที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
ส่วนประกอบของ ROE
อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น จะขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยคือ
1.อัตรากำไรสุทธิ หากมีกำไรสุทธิมากอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นก็จะมากตาม
2. อัตราส่วนหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม แสดงถึงความมีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์เพื่อสร้างรายได้กิจการยิ่งมีการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวมมากก็จะทำให้ อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นมากตามไปด้วย
3. อัตราส่วนสินทรัพย์รวมต่อส่วนของเจ้าของ การที่ส่วนของเจ้าของน้อยลงแล้วหนี้สินมากขึ้น จะทำให้อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น มีค่ามาก ซึ่งการมีหนี้สินทำให้กิจการมีความสามารถกำไรมากขึ้น แต่เมื่อใดที่หนี้สินที่มากขึ้นทำให้กิจการยิ่งมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน
สูตรคำนวณค่า Return on Equity ได้อย่างไร ?
สูตรวิธีการคำนวณ เริ่มต้นโดยการวิเคราะห์หุ้นของบริษัทจดทะเบียน อัตราส่วนนี้คำนวณได้โดยใช้สูตร ROE = (กำไรสุทธิของกิจการ / ส่วนของผู้ถือหุ้น) × 100% ซึ่งอัตราส่วนนี้จะอธิบายว่า เงิน 200 บาทของผู้ถือหุ้น กิจการนำไปสร้างผลตอบแทนเป็นกำไรได้กี่บาท ซึ่งโดยทั่วไปยิ่งสร้างกำไรได้มากก็ยิ่งดี ถือว่ายิ่งคุ้มกับเงิน 200 บาทของเรา ในการคำนวณหาค่า ROE นักลงทุนจะต้องใช้ข้อมูลในงบการเงินของบริษัทนั้น ๆ ในส่วนของยอด กำไรสุทธิ (Net Profit) กับ ส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity)
กำไรสุทธิ (Net Profit) คือจำนวนรายได้ ค่าใช้จ่ายสุทธิ และภาษีที่บริษัทสร้างขึ้นในช่วงเวลาที่กำหนด ส่วนของผู้ถือหุ้นโดยเฉลี่ยคำนวณโดยการบวกส่วนของผู้ถือหุ้นเมื่อต้นงวด จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของงวดควรตรงกับช่วงเวลาที่มีรายได้สุทธิ
ส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) คือ มาจากงบดุล ยอดเงินคงเหลือของประวัติการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัททั้งหมด
ตัวอย่างการคำนวณ ดังนี้
สมมุติกรณีที่ บริษัท CCC มีกำไรสุทธิเท่ากับ 1,000 บาท
มีสินทรัพย์เท่ากับ 5,000 บาท
หนี้สินเท่ากับ 2,000 บาท
ส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 5,000 บาท
แปลว่าค่า ROE จะมีค่าเท่ากับ 20%
แต่ในอีกกรณีหนึ่งถ้า บริษัท DDD มีกำไรสุทธิเท่ากับ 1,000 บาท
มีสินทรัพย์เท่ากับ 5,000 บาท
แต่มีหนี้สินเท่ากับ 3,000 บาท
ส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 4,000 บาท
แปลว่าค่า ROE จะมีค่าเท่ากับ 25%
จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 กรณีมีสินทรัพย์เท่ากับ 5,000 บาทเท่ากัน แต่กลับมีค่า Return on Equity ที่แตกต่างกัน ดังนั้นทั้ง 2 บริษัทสร้างกำไรสุทธิได้เท่ากันแต่ Return on Equity ไม่เท่ากัน เนื่องจากบริษัท DDD มีการใช้การกู้เข้ามาใช้ในกิจการมากกว่า ซึ่งแน่นอนว่า บริษัท DDD จะมีความเสี่ยงที่มากกว่าบริษัท CCC เนื่องจากมีหนี้สินที่มากกว่า แล้วเมื่อมีหนี้ที่มากกว่าก็แปลว่าจะมีภาระที่ต้องชำระดอกเบี้ยที่สูงกว่า
วิธีการดูค่าของ ROE
ค่า ROE หรือ Return on Equity ที่คำนวณออกมาได้ตามสูตรที่อธิบายด้านบน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ ROE สูง และ ROE ต่ำ เมื่อนำค่า ROE ที่ได้ไปเทียบกับบริษัทที่ทำธุรกิจเหมือนกันหรือเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม
ROE มีค่าสูง แสดงว่ากิจการมีความสามารถในการทำกำไรสูงเมื่อเทียบกับส่วนของเจ้าของ ทำให้ผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นสูง ผู้ลงทุนที่ถือหุ้นของกิจการนั้น ๆ มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูง
ROE มีค่าต่ำ แสดงว่ากิจการมีความสามารถในการทำกำไรต่ำเมื่อเทียบกับส่วนของเจ้าของ กิจการจึงสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นได้ต่ำ
ต้องระวังค่า ROE สูง ที่เกิดจากกิจการที่มีหนี้สินมาก เพราะการมีหนี้สินถือว่าเป็นการ Leverage หรือกิจการที่ส่วนของผู้ถือหุ้น (ทุน) มีแนวโน้มลดลง
และต้องมีค่า ROE สูงเท่าใดไม่มีคำตอบตายตัว เนื่องจากในแต่ละบริษัทจะสร้างรายได้ด้วยบริบทที่มีความแตกต่างกันออกไป ทั้งด้านรูปแบบธุรกิจ หรือปัจจัยทางเศรษฐกิจ แต่เราสามารถวัดผลการดำเนินงานด้วยการนำค่า ROE ปัจจุบันเทียบกับค่าในอดีต เพื่อวัดการเติบโตของกำไรได้ โดยนักลงทุนมักชอบหาธุรกิจที่มีค่า ROE สูงกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป
วิธีใช้ ROE : ยกตัวอย่างการใช้ ROE
การใช้ ROE ต้องเริ่มจากการคำนวณค่า ROE ออกมาก่อน ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการเข้าสมการ
อัตรากำไรสุทธิ ROE = กำไรสุทธิ (Net Income) / ส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) |
เช่น บริษัทหนึ่งมีกำไรสุทธิในปีที่ 10,000 ล้านบาท และมีค่าเฉลี่ยส่วนของผู้ถือหุ้นที่ 20,000 ล้านบาทจะสามารถคำนวณ ROE ได้ดังนี้
ROE = 10,000/20,000
= 50%
หมายความว่าบริษัทใช่ส่วนของผู้ถือหุ้น 100 บาท ในการทำกำไรได้ 50 บาท
โดยอัตราส่วนนี้จะอธิบายได้ว่า เงิน 100 บาทของผู้ถือหุ้น บริษัทนำไปสร้างผลตอบแทนเป็นกำไรได้กี่บาท ซึ่งโดยทั่วไปยิ่งสร้างกำไรได้มากยิ่งดีถือว่าคุ้มค่ากับเงิน 100 บาท และควรดู ROE ย้อนหลัง 5-10 ปี เพื่อดูอัตราการเจริญเติบโตของบริษัทว่าเป็นการโตอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ แต่หากต้องการเปรียบเทียบให้ชัดเจนลงไปอีก เราควรเปรียบเทียบความสามารถในการทำกำไร หรือ ROE ของบริษัทนี้กับบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน

ทำไม ROE จึงสำคัญ
ความสำคัญก็คือ นักลงทุนที่จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจหรือกิจการนั้น ควรจะมีการคำนึงถึงความคุ้มค่าจากผลตอบแทนที่จะได้รับจากการเข้าไปลงทุน ซึ่งเมื่อเราซื้อหุ้นเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของส่วนของผู้ถือหุ้น จะคุ้มค่าหรือไม่สำหรับการลงทุนในบริษัทนั้น ก็ต้องพิจารณาถึง อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นสิ่งสำคัญ เสมือนที่นักลงทุนระดับโลกอย่างวอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffet) ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เมื่อจะซื้อหุ้นของกิจการใดกิจการหนึ่ง ได้กล่าวไว้ว่า ROE ต้องสูงมากพอ เพราะฉะนั้นความคุ้มค่าของการลงทุนในสินทรัพย์ เป็นเรื่องที่สำคัญมากในโลกของการลงทุน
ดังนั้น เมื่อเราตัดสินใจที่จะลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขนาดนี้ เราควรจะคาดหวังผลตอบแทนที่สูงมากพอที่จะชดเชยความเสี่ยงได้ นั่นก็คือคุ้มค่าเมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่จะลงทุน
ROE ยิ่งสูง ยิ่งดี จริงหรือไม่?
ROE ยิ่งสูง ไม่ได้มีความหมายว่ายิ่งดีเสมอไป คือ ถ้า Return on Equity มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยทั่วไปแล้วยิ่งมีค่าสูงเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะแสดงให้เห็นว่าผลตอบแทนจากเงินส่วนเจ้าของนั้นให้ผลตอบแทนที่สูง ยิ่งมีค่าสูงแปลว่าบริษัทนั้นสามารถสร้างกำไรสุทธิได้มากเมื่อเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ในการเปรียบเทียบควรเปรียบเทียบกับบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน เพราะแปลว่าธุรกิจสามารถสร้างกำไรหรือผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นได้มาก แต่มุมมองในทางกลับกัน
ROE เป็นเพียงอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นปัจจัยหนึ่งเท่านั้นที่ใช้ในการวิเคราะห์ความน่าจะสนใจในการลงทุนหุ้นของบริษัทนั้น ๆ ซึ่งบางครั้งค่า ROE ที่สูง ๆ นั้นก็ไม่ใช่ข้อดีเสมอไป เพราะถ้าเจาะลึกเข้าไปถึงข้อมูลอื่น ๆ ของกิจการแล้วพบว่าบริษัทมีหนี้สิ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นการเลเวอเรจในส่วนของผู้ถือหุ้นหรือทุน ทำให้เมื่อคำนวณออกมาแล้วอัตราส่วน ROE อาจมีค่าสูง ดังนั้นนักลงทุนจึงต้องประเมินความเสี่ยงของกิจการในแง่อื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย
ข้อควรระวังในการใช้ ROE
ข้อควรระวังอย่างหนึ่งสำหรับการดู ROE คือ บางธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่เติบโตอีกแล้ว เลยเลือกที่จะจ่ายปันผลออกไปมาก ๆ ทำให้สัดส่วนของกำไรสะสมลดลงน้อยลง ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง แม้ว่าธุรกิจจะไม่สามารถทำกำไรได้มาก แต่เมื่อส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง ก็จะทำให้ ROE ดูสูงขึ้นทั้ง ๆ ที่โอกาสเติบโตในอนาคตเริ่มถดถอย หากเราเข้าไปลงทุนในธุรกิจที่มี ROE สูงแบบนี้ ก็อาจเป็นความเสี่ยงได้
ข้อควรระวังอย่างที่สอง Return on Equity ที่สูงอาจจะไม่ใช่ผลดีเสมอไป เพราะค่า Return on Equity ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลักคือ
1. กำไรสุทธิ (Net Profit) |
2. ส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) |
แปลว่าถ้ายิ่งกำไรสูงขึ้นมากเท่าไหร่จะทำให้ Return on Equity มีค่าที่สูงมากขึ้นเท่านั้น แต่ในกรณีที่กำไรไม่สูง แต่ในส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) มีค่าที่ต่ำก็สามารถทำให้ตัวเลขของค่า Return on Equity สูงขึ้นได้เช่นกัน ควรเป็นสิ่งที่ต้องระวังไว้ให้ดี
ค่า ROE สูงที่อาจเป็นกับดัก
กับดักที่หนึ่ง คือ ROE ผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้น หากบริษัทนั้น เพิ่งออกมาจากหมวดฟื้นฟูกิจการ
โดยส่วนของผู้ถือหุ้นนั้นจากติดลบเพิ่งเป็นบวก อาจจะทำให้เกิดอาการหลงไปได้ว่าเป็นกิจการที่ ROE มีคุณภาพ
กับดักที่สอง คือ ROE ในส่วนของ Return นั้นต้องดูให้ดี ว่า Return ที่นำมาคิดนั้น เป็นผลตอบแทนที่ได้จากตัวกำไรปกติหรือไม่ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นการวัดความสามารถในการทำกำไรเทียบกับส่วนของเจ้าของที่มี หากมีค่ามากจะดีที่สุด แต่ต้องระวังหุ้นที่ อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นสูง ๆ ที่เกิดจากการมีหนี้สินมากเกินไป ซึ่งมีความเสี่ยง
สรุปการดูอัตราส่วนผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return on Equity)
1. ให้บริษัทที่มีความสามารถทำกำไรได้สูง และต้องไม่อยู่ในหมวดฟื้นฟูกิจการ
2. ROE อยู่ในระดับมากกว่า 15% และเพิ่มขึ้นในระยะยาว
3. ระวัง ROE ที่อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นสูงจากการก่อหนี้สินเพิ่ม ฉะนั้น ROE ที่สูงจะต้องมีคุณภาพด้วยเพื่อเป็นการลดความเสี่ยง
อย่างไรก็ตาม เราควรศึกษาปัจจัยพื้นฐานในประเด็นอื่น ๆ ประกอบควบคู่กันไปด้วย เพื่อช่วยให้ตัดสินใจในการลงทุนได้อย่างมั่นใจ คุ้มค่า และได้กำไรมากกว่าต้นทุนในการลงทุนเริ่มต้นของเรา หุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานที่ดีมักจะมีโอกาสเติบโตในระยะยาวเสมอ
ข้อมูลเพิ่มเติม>>>
เปรียบเทียบค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น โบรกไหนค่าคอมถูกสุด
ตลาดหุ้นเปิดปิดกี่โมง และวันหยุดตลาดหุ้นประจำปี 2564 และ 2565
เปิดพอร์ตหุ้นที่ไหนดี และวิธีการเปิดพอร์ตหุ้น?
เล่นหุ้นเริ่มต้นกี่บาท? ควรเริ่มอย่างไรสำหรับเล่นหุ้นมือใหม่
การเล่นหุ้นระยะสั้นเหมาะกับมือใหม่ไหม?
P/E Ratio คืออะไร ใช้ยังไง ทำไมคนเล่นหุ้นต้องดู?
**คำเตือน การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
เนื้อหาในบทความเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับประกอบการตัดสินใจก่อนการลงทุนเท่านั้น ผู้อ่านควรศึกษาปัจจัยประกอบจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งก่อนการตัดสินใจ และใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลในการพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ลงทุนที่เหมาะสมแก่ท่าน
ใส่ความเห็น