Stablecoin คือ? มีอะไรบ้าง? สกุลเงินดิจิทัลที่มีมูลค่าคงที่

ทำความรู้จักกับ Stablecoin คืออะไร เกี่ยวข้องกับเหรียญ LUNA อย่างไร ที่อยู่ ๆ ก็เกิดปรากฏการณ์เหรียญ LUNA ราคาดิ่งลงเหว ทำให้นักลงทุนที่อยู่ในวงการคริปโตเคอร์เรนซีขาดทุนอย่างหนัก อย่างไรก็ตามแม้ว่า Stablecoin จะขึ้นชื่อว่าเป็น เหรียญที่มีมูลค่าคงที่ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีมูลค่าคงที่ไม่เพิ่มไม่ลด วันนี้เราจะพานักลงทุนทุกคนไปหาคำตอบกัน

Stablecoin คืออะไร? Stablecoin มีอะไรบ้าง

Stablecoin คือ สกุลเงินดิจิทัลหรือ Cryptocurrency ที่มีกลไกสำหรับการคงมูลค่าคงที่ไว้ตลอดเวลา โดยสินทรัพย์ประเภทนี้ถูกออกแบบมาให้มีมูลค่าอ้างอิงตามสินทรัพย์อื่น เช่น อ้างอิงตามค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา เงินดิจิทัลสกุลอื่น ๆ หรือตามราคาทอง ซึ่งเราจะเห็นความต่างจาก Cryptocurrency อย่าง Bitcoin หรือ Ethereum ที่ราคามีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ธุรกิจและบริษัทหลายแห่งเทรดโดยใช้ Stablecoin เพราะต้องการความคงที่ของราคา

จึงทำให้ Stablecoin คล้ายกับเงิน เพราะเป็นการรักษามูลค่า (store of value) เอาไว้ได้ เจ้าStablecoin ที่เรากำลังพูดถึงอยู่จึงถูกนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระเงินมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งแตกต่างจาก Crypto อื่น ๆ อย่างเช่น Bitcoin ที่เรารู้จักกันดี อาจทำไม่ได้ เพราะราคาขึ้น-ลงผันผวน

ในบทความนี้จะขอยกมาแค่ 5 อันดับเหรียญยอดนิยม

เหรียญประเภทของ Stablecoinสินทรัพย์ที่ใช้ค้ำประกัน
Tether (USDT)ผู้สร้างเหรียญ: Tether Limitedมูลค่าตลาด: 1,921,000 ล้านบาทAsset-Backed/Fiat-BackedStablecoin ที่มีมูลค่าผูกไว้กับดอลลาร์สหรัฐโดยเหรียญที่ผลิตออกมาจะถูกค้ำประกันโดยสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่มีมูลค่าเท่ากันเงินสด (3.9%) และรายการเทียบเท่าเงินสด (72.0%)สินเชื่อที่มีหลักประกัน (12.5%)ตราสารหนี้, กองทุน และโลหะมีค่า (10.0%)อื่น ๆ (1.6%)
USD Coin (USDC)ผู้สร้างเหรียญ: Circle และ Coinbaseมูลค่าตลาด: 692,000 ล้านบาทAsset-Backed/Fiat-BackedStablecoin ที่มีมูลค่าผูกไว้กับดอลลาร์สหรัฐแบบ 1:1สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ 100% ซึ่งฝากไว้ในบัญชีธนาคาร 
Binance USD (BUSD)ผู้สร้างเหรียญ: Binanceมูลค่าตลาด: 274,000 ล้านบาทAsset-Backed/Fiat-BackedStablecoin ที่มีมูลค่าผูกไว้กับดอลลาร์สหรัฐแบบ 1:1สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ 100% ซึ่งฝากไว้ในบัญชีธนาคาร 
TerraUSD (UST)ผู้สร้างเหรียญ: MakerDAOมูลค่าตลาด: 145,000 ล้านบาทCrypto-collateralizedStablecoin ที่มีมูลค่าผูกไว้กับดอลลาร์สหรัฐโดยการนำสกุลเงินดิจิทัล เช่น Ether มาค้ำประกันEther และสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ ซึ่งมูลค่าของเหรียญที่ค้ำประกันต้องมากกว่ามูลค่าของเหรียญ DAI ที่ผลิตออกมา
Dai (DAI)sผู้สร้างเหรียญ: Terraมูลค่าตลาด: 62,000 ล้านบาทAlgorithmicStablecoin ที่มีมูลค่าผูกไว้กับดอลลาร์สหรัฐแต่ไม่มีอะไรมาค้ำประกัน โดยมูลค่าของเหรียญมาจากการควบคุมของอัลกอริทึมไม่มี แต่ใช้กลไกการทำ Arbitrage ผ่านสกุลเงินดิจิทัล Terra (LUNA) เพื่อรักษาราคาของ UST

จริงๆ แล้ว 5 เหรียญที่กล่าวในตารางมีให้ซื้อขายแลกเปลี่ยนอยู่ที่กระดานต่างประเทศมากมายหลายแห่งแต่สำหรับในไทย เท่าที่สำรวจดูมี USDT เพียงเหรียญเดียว ซึ่งลิสต์อยู่บนเว็บ Bitkub กับ SatangPro และนอกจากนี้ยังมีเหรียญที่ผูกอยู่กับสกุลเงินของประเทศอื่น หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อสินทรัพย์ประเภทโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ แต่อาจจะไม่ได้รับความนิยมเท่ากับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นสกุลเงินที่เป็นที่ได้รับความนิยมสูงสุด

นักเทรดจึงนิยมเก็บเงินไว้ในรูปแบบของเหรียญ Stablecoin ที่มีความผันผวนต่ำ และด้วยความที่มีมูลค่าคงที่ จึงมีการโอนออกมาเพื่อใช้ในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ที่อยู่นอกระบบของกระดานเทรด เช่น เป็นตัวกลางในการส่งเงินข้ามประเทศ  และจริง ๆ แล้วการเลือกซื้อ Stablecoin ก็ไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรมาก เนื่องจากตัวมันเองไม่ได้มีความผันผวนขึ้นลงของราคามากเท่า Cryptocurrency ตัวอื่น ๆ เพราะฉะนั้นการจะเลือกซื้อมาเพื่อทำกำไรก็คงจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกจุดประสงค์มากนัก

เรามาลองดูกันว่าประเภทของ Stablecoin มีอะไรบ้าง

ประเภทของ Stablecoin

✔️ Fiat – collateralized: รองรับด้วยเงินเฟียต 

คือ Stablecoin ที่มีมูลค่าอ้างอิงตาม เงิน Fiat เป็น Stablecoin ที่มีเสถียรภาพมากที่สุด โดยมีมูลค่าอ้างอิงตามค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือ สกุลเงิน Fiat อื่น ๆ ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 

การสร้าง Stablecoin ด้วยเงิน Fiat เป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายที่สุดและเป็นแนวคิดพื้นฐานเดียวกับ IOU คือการนำเงิน Fiat นั้นไปฝากไว้ที่ใครสักคนหนึ่งและคน ๆ นั้นออกเหรียญโดยอ้างอิงกับสินทรัพย์ที่รองรับ เป็นวิธีที่ง่ายตรงไปตรงมาใคร ๆ ก็สามารถทำได้เพียงแค่สร้างตัวกลางที่น่าเชื่อถือแค่นั้นเอง

ตัวอย่างเหรียญ

  • Tether (USDT), USD Coin (USDC), Indonesia Rupiah Token (IDRT) โดยผู้ออกเหรียญไม่ว่าจะเป็นบริษัท ธนาคาร หรือรัฐบาล ควรจะถือเงินจำนวนเดียวกันไว้ในธนาคาร หรือบัญชีที่เชื่อถือได้

✔️Commodity – collateralized: รองรับด้วยสินค้าโภคภัณฑ์

Commdity หมายถึงสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ วิธีนี้คล้ายกับ Fiat – collateralized ที่ต้องมีหน่วยงานกลางดูแล Stablecoin เหล่านี้ แต่สินทรัพย์ที่ใช้ในการรองรับนั้นอาจจะเป็นอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น ทองคำ น้ำมัน ที่ดิน หรือสินทรัพย์ประเภทอื่น เช่น หุ้น ตราสาร หรือ กองทุน อย่างไรก็ตาม Stablecoin ประเภทนี้ยังไม่ได้รับการยอมรับมากเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับ Fiat – collateralized

ตัวอย่างเหรียญ

  • Digix Gold เป็น Stablecoin ที่ 1 DGX จะมีมูลค่าเท่ากับทองคำ 1 กรัมของทองคำ ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ที่สิงคโปร์และมีการ Audit ความโปร่งใสทุก 3 เดือน โดยสามารถนำเหรียญไปแลกทองคำจริง ๆ ได้ที่สิงคโปร์
  • Tiberius Coin (TCX) เป็น Stablecoin ที่ไม่ได้ถูกรองรับด้วยสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งแต่เป็นโลหะชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  • Omtoken เป็น Stablecoin ของคนไทยยังไม่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการแต่มีแนวคิดที่จะรองรับด้วยสลากออมทรัพย์

✔️Crypto – collateralized: รองรับด้วย Cryptocurrency

การใช้ Crypto ในการรองรับ Stablecoin จะมีข้อเด่นตรงที่ระบบที่ถูกสร้างจะมีความเป็น Decentralized ที่ไม่อ้างอิงกับตัวกลาง ทำให้ระบบมีความน่าเชื่อถือได้ด้วยตัวเอง

วิธีการสร้างเหรียญ Stablecoin ประเภทนี้ผู้ใช้งานจะต้องใส่ Crypto ที่มีมูลค่ามากกว่า Stab lecoin ที่ถูกสร้างออกมาเสมอ เนื่องจากราคาของ Cryptocurrency นั้นที่เรารู้กันดีว่ามีความผันผวนค่อนข้างมาก และหากมูลค่า Crypto ที่ค้ำประกันไว้มีมูลค่าลดลงก็อาจจะเกิดการตัดเงินทันที

ตัวอย่างเหรียญ

  • BitUSD เป็น Stablecoin แบบ Crypto – collaterlized ตัวแรกของโลกซึ่งมาจากโปรเจกต์ของ BitShare ในปี 2014 ก่อนจะถูกเปลี่ยนเป็น SteemUSD ใน Steem ที่หลัง แต่กลับไม่ได้รับความนิยมมากเท่าไร
  • Dai เป็น Stablecoin จากโปรเจกต์ MakerDAO ที่ทำงานอยู่บน Ethereum โดยผู้ใช้งานสามารถใช้ Erc-20 Token ใด ๆ ก็ตามที่ MakerDAO ยอมรับในการค้ำประกับมูลค่าเพื่อถอน DAI ออกมาการเพิ่มลดเหรียญ DAI จะถูกควบคุมโดย Smart Contrart ซึ่งถูกกำกับจากผู้ถือเหรียญ MKR อีกทีหนึ่ง โดยจำนวนเหรียญของ DAI จะถูกควบคุมโดย MakerDAO ที่จะคอยปรับลดดอกเบี้ยของเหรียญ DAI เพื่อไม่ให้เหรียญเกิดการเฟ้อ

✔️ Non – collaterlized: ไม่รองรับด้วยอะไรเลย

รูปแบบสุดท้ายคือการที่ Stablecoin ไม่ได้รองรับด้วยอะไรเลย เป็นรูปแบบที่คล้ายคลึงกับเงินปัจจุบันมากที่สุด ปัจจุบันนี้การควบคุมมูลค่าของเงินตรา อย่างเงินบาทหรือดอลลาร์จะใช้วิธีการปรับลดดอกเบี้ยหรือปรับลดอุปทานของเงิน ไม่ได้เกิดจากการนำ Asset ใดมาใช้ในการผลิต 

ตัวอย่างเหรียญ

  • Basis เป็น Cryptocurrency ที่ใช้อัลกอริธึมในการปรับ Supply ของเหรียญในการทำให้เหรียญมีมูลค่าคงที่

ข้อดีและข้อจำกัดของ Stablecoin

ข้อดีข้อจำกัด
✔️ มีความเสถียรภาพ สร้างขึ้นมาแก้ไขปัญหาเรื่องความผันผวนสำหรับ Cryptocurrency ถือเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่มีเสถียรภาพมาก เป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างโลกของ Crypto กับโลกของเงินตราในปัจจุบัน Stablecoin เหมาะอย่างยิ่งกับนักลงทุน Crypto มือใหม่เพราะมีความผันผวนน้อยมาก

✔️ มีการกระจายอำนาจ ไม่ได้ผูกติดอยู่กับระบบ ไม่จำเป็นต้องผ่านตัวกลางในการตรวจสอบอีกด้วย เพราะมีการทำธุรกรรมผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชนที่คอยตรวจสอบและบันทึกธุรกรรมโดยอัตโนมัติ รวมถึงประหยัดค่าธรรมเนียมอีกด้วย 

✔️ ตรวจสอบได้ โปร่งใส เทคโนโลยีบล็อกเชนเปิดโอกาสให้ทุกคนตรวจสอบข้อมูลได้ ทำให้ไม่มีใครสามารถปลอมแปลงข้อมูลได้ เพราะหากจะปลอมแปลงข้อมูลจะต้องปลอมแปลงข้อมูลบนคอมพิวเตอร์จำนวนมหาศาลให้ตรงกัน ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย 
เหรียญประเภทนี้ เก็งกำไรไม่ได้ เพราะมูลค่าแทบจะคงที่คือผันผวนต่ำมากค่ะ ด้วยแนวคิดทั่วไป Stablecoin เป็นการสร้างเหรียญ Crypto ที่มูลค่าไม่เปลี่ยนแปลง ในวงการนัก  เทรดเดอร์มักใช้ประโยชน์จาก Stablecoin ไว้เป็นที่พักเงินในช่วงที่ตลาดผันผวนแค่นั้นเอง

ประเภทของ Stablecoin ที่ใช้อ้างอิงกับสินทรัพย์

อย่างที่ได้มีการเกริ่นไปข้างต้นแล้วว่า Stablecoin คือ Crypto รูปแบบหนึ่ง ที่มีกลไกอิงมูลค่ากับสินทรัพย์    มีความมั่นคงแบ่งได้หลากหลายประเภท ในตารางจะบอกถึงการใช้ Stablecoin ในการอ้างอิงกับสินทรัพย์ว่าเราจะใช้ Stablecoin ใดที่เหมาะสมที่สุดกับการอ้างอิงสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ

Fiat-backed Stablecoinอิงมูลค่ากับเงิน Fiat (เงินจริง) สกุลเงินต่าง ๆ โดยมีเงิน Fiat หนุนหลังในอัตราส่วน 1:1 เช่น USD Tether (USDT) อ้างกับสกุลเงินดอลลาร์
Asset-backed Stablecoinอิงมูลค่ากับสินทรัพย์ต่าง ๆ  ส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ที่มีความผันผวนต่ำ อาทิ ทองคำ พันธบัตรรัฐบาล เช่น Digix Gold มีสินทรัพย์อ้างอิงกับทองคำแท่ง
Algorithmic Stablecoinsใช้หลักการของกลไก (Algorithm) ในการรักษามูค่าให้ใกล้เคียงกับสกุลเงินตราต่าง ๆ ซึ่งกลไกจะแตกต่างกันในแต่ละเหรียญโดยไม่มีเงินหรือสินทรัพย์ใดหนุนหลัง เช่น THT Ample และ Kowala

Fiat-backed Stablecoin เป็นเหรียญ Stablecoin ที่ผูกกับเงินตราประเทศต่าง ๆ แบบ 1:1 ซึ่งในตลาดปัจจุบันมีอยู่หลายเหรียญ ยกตัวอย่างเช่น 

  • USDT โดยบริษัท Tether ที่เป็น Stablecoin ที่นิยมที่สุดของตลาด Cryptocurrency โดย USDTที่ผลิตออกมาจะอ้างอิงกับ Tether Reserve หรือเหรียญ USDT ทั้งหมดในระบบจะถูกคํ้าด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐ
  • USDC โดยบริษัท Centre ก่อตั้งโดยบริษัท Circle และศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลชื่อดัง Coinbase ซึ่ง USDC เป็น Stable Coin ที่อ้างอิงกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ลักษณะเดียวกันกับ USDT แต่ USDC มีการตรวจสอบโดยบริษัท Grant thornton ซึ่งถือเป็นบริษัทในเรื่องการให้คำปรึกษาและการตรวจสอบบัญชีที่มีชื่อเสียงระดับโลก
  • BUSD อีกหนึ่ง Stablecoin ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอันดับหนึ่งของโลกในปัจจุบัน ซึ่งก็คือ Binace ซึ่งสร้างขึ้นโดยร่วมมือกับ Paxos อีกหนึ่งบริษัทเทคโนโลยีชื่อดัง เป็นทั้งผู้ดูแล Custodian และผู้ออกเหรียญ BUSD ซึ่งจริง ๆ แล้ว Paxos ก็ได้มีการออกเหรียญ Stablecoin ของตัวเองด้วยที่มีชื่อว่า PAX 

ข่าวล่าสุดเกี่ยวกับ Stablecoins

กฎหมายการจัดระเบียบ Stablecoin ที่รัฐสภาของสหรัฐอเมริกากำลังจัดทำร่างอยู่ในขณะนี้ ประกาศห้ามออกเหรียญคริปโตฯ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ TerraUSD ซึ่งเป็น Stablecoin แบบใช้อัลกอริธึมในการตรึงมูลค่าซึ่งได้พังพินาศไปแล้วเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา สร้างความเสียหายเป็นมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ และเป็นเหตุการณ์ที่ผลักดันให้บรรดาผู้กำหนดนโยบายหันกลับมาเพ่งเล็ง Stablecoin กันอีกครั้ง

นอกเหนือ จากการพยายามป้องกันการเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยแบบกรณีของ Terra แล้ว ได้ร่างกฎหมายจัดระเบียบ Stablecoin มีการอนุญาตให้ธนาคารและสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารสามารถออกเหรียญ Stablecoin ได้ ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าธนาคารจะต้องขออนุมัติในการออกเหรียญ Stablecoin จากผู้กำกับดูแลในสังกัดของรัฐบาล อย่างเช่น สำนักงานควบคุมเงินตราแห่งสหรัฐอเมริกา และสำหรับสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารนั้น กฎหมายได้กำหนดให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ เป็นผู้จัดทำกระบวนการพิจารณาเพื่อออกใบอนุญาตในการสร้าง Stablecoin             

แหล่งข้อมูล:https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?release=y&ref=M&id=L1pkbXdodmc2alU9

โอกาสของ Stablecoin ในประเทศไทย

ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือธปท.เล็งเห็นประโยชน์ของเทคโนโลยี และพร้อมเปิดรับนวัตกรรมใหม่ จะมีการนำ Stablecoin มาใช้เพื่อยกระดับการให้บริการทางด้านการเงิน ซึ่งตอนนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลให้สอดคล้องกับความต้องการของของพวกเรา โดยจะดูแลความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการชำระราคา ด้านการฟอกเงิน ด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยี และด้านการคุ้มครองผู้ใช้บริการ ให้มีความปลอดภัย ตอบโจทย์กับความต้องการ และภาคธุรกิจสามารถนำไปต่อยอดเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการ เพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงิน และพัฒนานวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ

รวมทั้ง ธปท. จะยังติดตามพัฒนาการของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในภาคการเงินอย่างใกล้ชิดอีกด้วย โดยพิจารณาถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมากำหนดนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ

แหล่งข้อมูล: https://www.prachachat.net/finance/news-633003

สรุป Stablecoin

USDTUSDCBUSDUSTDAI
ผู้พัฒนาTetherThe Centre ConsortiumBinance ร่วมมือกับ PaxosBittrex Global ร่วมมือกับ Terra LabMakerDAO
มูลค่าตามราคาตลาด>80,000ล้านดอลลาร์>52,000ล้านดอลลาร์>17,000ล้านดอลลาร์>15,000ล้านดอลลาร์>9,800ล้านดอลลาร์
เครือข่าย BlockchainERC-20ERC-20, TrxERC-20, BEP-20SDK (Cosmos)ERC-20
ระบบCentralizedCentralizedCentralizedDecentralizedDecentralized
กลไกการสร้างเหรียญ(ทุนสำรอง)กองทุน Tether’s reserve ที่ได้รับการตรวจสอบและกำกับดูแลโดยบุคคลที่ 3เงินสดหรือทรัพย์สินเทียบเท่าได้รับการตรวจสอบและกำกับดูแลโดยบุคคลที่ 3(Grant Thornton)กองทุนที่ได้รับการอนุมัติและควบคุมโดย New York State Department of Financial Services (NYDFS)เผาเหรียญ Lana เพื่อสร้าง UST, มี Bitcoin เป็นกองทุนสำรองมูลค่ากว่า 1,000 ล้านดอลลาร์Multi-Collateral DAI
อันดับการตลาด#3#4#7#71#13

เราจะเห็นได้ว่า Stablecoins มีข้อดีมากมาย เช่น ช่วยส่งเสริมการสร้างการยอมรับของโลก Cryptocurrency ให้กระจายไปยังกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป และยังง่ายในการเป็นตัวกลางการแลกเปลี่ยน (Medium of exchange) ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่พักเงินสำหรับนักลงทุนโดยเฉพาะในช่วงที่ราคาของเหรียญมีความผันผวน และช่วงตลาดขาลง  

ทั้งนี้เราเชื่อว่าในอนาคตเราอาจจะได้เจอ Stablecoins ประเภทอื่น ๆ ที่เข้ามามีบทบาทในการแลกเปลี่ยนมากยิ่งขึ้น และสามารถแก้ไขข้อบกพร่องของ Stablecoins ที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรืออาจจะมีการเปลี่ยนกลไกบางอย่าง เพื่อให้สามารถขยายไปยังผู้ใช้ได้อย่างทั่วถึงกว่าที่เป็นอยู่ เราคงทำได้แค่จับตาดูว่าวิธีการดังกล่าวจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกให้กับโลก Cryptocurrency ได้หรือไม่ในระยะเวลาอันใกล้ในทศวรรษข้างหน้านี้

ข้อมูลเพิ่มเดิม>>>

เหรียญ DOT (polkadot) คืออะไร? เหรียญใหม่มาแรง

เหรียญ NEAR คืออะไร? ดีไหม? จะล้ม Ethereum ได้หรือไม่?

เว็บเทรดคริปโตที่ไหนดี? 10 เว็บยอดนิยมในไทย – 2022

Bitcoin Cash คืออะไร? และ Hard fork ทำงานอย่างไร?

แนะนำ 10 เหรียญคริปโตที่น่าลงทุนระยะยาว 2022

Polygon (MATIC Coin) คืออะไร? ทำงานร่วมกับ Ethereum ได้อย่างไร?

XLM coin คืออะไร? เหรียญ XLM ดีไหม? คู่แข่งสำคัญของ Ripple

Eos coin คืออะไรและแตกต่างจาก Ethereum ได้อย่างไร?

Litecoin คืออะไร? Litecoin กับ Bitcoin แตกต่างกันอย่างไร?

Cardano (ADA) คืออะไร? อนาคต เหรียญ ADA จะเป็นอย่างไร?

**คำเตือน การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

เนื้อหาในบทความเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับประกอบการตัดสินใจก่อนการลงทุนเท่านั้น ผู้อ่านควรศึกษาปัจจัยประกอบจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งก่อนการตัดสินใจ และใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลในการพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ลงทุนที่เหมาะสมแก่ท่าน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

รับฟรีทันที! เงินเสมือนจริง $50,000 เพื่อฝึกฝนการเทรดกับ Mitrade!