ดัชนีหุ้น คืออะไร และทำไมดัชนีหุ้นถึงสำคัญ?

คุณอาจสงสัยว่า ดัชนีหุ้นคืออะไร? สำคัญอย่างไร? คุณจะหาประโยชน์จากดัชนีเหล่านี้อย่างไร? แล้วทำไมนักลงทุนถึงต้องให้ความสำคัญกับสิ่งนี้ขนาดนี้? หากคุณเพิ่งเริ่มต้นบนตลาดหุ้น แต่ไม่รู้จะเลือกลงทุนหุ้นตัวไหน บางทีการเริ่มต้นจากดัชนีหุ้นดูจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคุณ หากคุณไม่ทราบว่าดัชนีหุ้นคืออะไร ไม่ต้องกังวลใจไป บทความนี้มีคำตอบเกี่ยวกับดัชนีหุ้นให้คุณ
Table of Contents
ดัชนี คือ
ดัชนี (Index) คือตัววัดที่เกิดจากการคำนวณค่าทางสถิติ เพื่อติดตามแสดงให้เห็นถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ หรือเป็นเครื่องบ่งชี้สถานการณ์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป เช่น ดัชนีราคา ดัชนีเงินเฟ้อ ดัชนีอัตราดอกเบี้ย ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน เป็นต้น
ดัชนีหุ้น (Stock Index) คืออะไร?
ดัชนีหุ้น (Stock Index) คือ ค่าตัวเลขทางสถิติที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลงของผลการดำเนินงานของตลาดหุ้นหรือหมวดธุรกิจของตลาดหุ้น เช่น SET Index เป็นดัชนีที่สะท้อนราคาหุ้นทุกตัวที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Stock Exchange of Thailand, SET), DJIA, Nikkei 225 เป็นต้น
เกณฑ์สำคัญของดัชนีหุ้นคือ สามารถลงทุนได้และโปร่งใส มีหลายกองทุนรวมที่อ้างอิงดัชนีต่าง ๆ เช่น SET50 และ SET100 ซึ่งเรียกว่า กองทุนรวมดัชนี โดยที่ความแตกต่างระหว่างผลงานของกองทุนรวมดัชนีและดัชนีที่อ้างอิงเรียกว่า ค่า Tracking Error ยิ่งค่า Tracking Error ต่ำเท่าไหร่ แสดงว่า กองทุนรวมดัชนีนั้นสามารถลงทุนเลียนแบบดัชนีที่อ้างอิงได้มีประสิทธิภาพมากกว่ากองทุนรวมดัชนีที่มีค่า Tracking Error สูงกว่า
วิธีคำนวณดัชนีหุ้น
เราสามารถแบ่งการคำนวณดัชนีหุ้นออกเป็น 3 รูปแบบ
1. ถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าตลาด (Market Capitalization Weighting) คือ การคำนวนดัชนีแบบนี้จะใช้ Market Cap ในการคำนวน เมื่อราคาของหุ้นที่มี Market Cap สูงจะส่งผลต่อตัวเลขดัชนี มากกว่าหุ้นที่มี Market Cap ต่ำ ดัชนีหุ้นที่ใช้เกณฑ์นี้ได้แก่ S&P 500 (สหรัฐฯ) FTSE 100 (อังกฤษ) และ set (ไทย)
ยกตัวอย่าง
หุ้น A มี Market Cap 1,000 ล้าน ราคาลง 10 บาท
หุ้น B มี Market Cap 10 ล้าน ราคาลง 10 บาท
หุ้นของ A จะมีผลต่อตัวเลขดัชนีมากกว่าหุ้น B ทั้ง ๆ ที่ราคาลงเท่ากัน
2. ดัชนีหุ้นที่ถ่วงน้ำหนักด้วยราคาตลาด (Price-weighted Index) แทบเหมือนกันกับข้อแรกด้านบน ต่างกันแค่ ในกรณีนี้ไม่ได้ใช้ Market Cap แต่ใช้ราคาหุ้นแทน ราคาหุ้นไหนสูง ก็จะมีผลต่อดัชนีมากกว่า ดัชนีหุ้นที่ใช้เกณฑ์นี้ได้แก่ Dow Jones (สหรัฐฯ) และ Nikkei 225 (ญี่ปุ่น)
3. ดัชนีหุ้นที่ถ่วงน้ำหนักเท่ากัน (Equal-weighted Index) พูดง่าย ๆ คือ หุ้นทุกตัวจะมีสัดส่วนเท่ากันหมด ซึ่งกระจายความเสี่ยงดีกว่าดัชนีหุ้นที่ถ่วงน้ำหนักตามมูลค่าตลาด แต่ดัชนีแบบนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกะทันหันกว่า
ในกรณีนี้ ทุกหุ้นส่งผลต่อค่าดัชนีในปริมาณที่เท่ากัน สูตรการคำนวณสำหรับ SET Index
SET Index = (มูลค่าตลาดรวมของวันนี้ * 100) / มูลค่าตลาดรวมของวันฐาน
10 ดัชนีหุ้นที่ยอดนิยม
1 | Mai Index เป็นดัชนีที่สะท้อนการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นสามัญทุกตัวในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอทั้งหมด (สำหรับผู้ที่ไม่ทราบว่า MAI คืออะไร เป็นตลาดหลักทรัพย์ที่มีวัตถุประสงค์เดียวกับ SET คือ ทำหน้าที่เป็นตลาดทุนที่ให้บริษัทต่าง ๆ เข้ามาระดมทุน) โดยเป็นหุ้นของบริษัทขนาดเล็ก หรือ SME รวมถึงธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีการเติบโตสูง แต่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ในระดับที่ต่ำ และมีสภาพคล่องการซื้อขายที่น้อยเช่นกัน |
2 | SET Index เป็นดัชนีที่สะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ทั้งหมด โดยคํานวณจากหุ้น สามัญจดทะเบียนทุกตัวในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งจะรวมหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่จะยกเว้นหุ้นที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย SP (Suspension) เกิน 1 ปี |
3 | SET 50 คือ ดัชนีราคาหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดสูงสุด 50 อันดับแรก โดยคัดเลือกกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) และสภาพคล่องในการซื้อขายสูงสุด 50 อันดับแรก ซึ่งมีทั้งหุ้นระยะยาว และหุ้นระยะสั้นให้เลือกลงทุน |
4 | SET CLMV Exposure Index หรือดัชนี SETCLMV เป็นดัชนีที่รวบรวมบริษัทจดทะเบียนของไทย ที่มีการทำธุรกิจในกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งมีแนวโน้มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดดเด่น |
5 | S&P 500 คือ ดัชนีตลาดหุ้นที่ติดตามหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ในสหรัฐจำนวน 500 แห่ง เช่น Tesla, Berkshire Hathaway, JP Morgan & Chase Co ซึ่งแสดงถึงผลประกอบการของตลาดหุ้นโดยการรายงานความเสี่ยงและผลตอบแทนของบริษัทที่ใหญ่ที่สุด นักลงทุนใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานของตลาดโดยรวมซึ่งเป็นการเปรียบเทียบการลงทุนอื่น ๆ ทั้งหมด |
6 | SETHD หรือ SET High Dividend Index คือ ดัชนีที่ ตลาดหลักทรัพย์แแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นมาเพื่อใช้สะท้อนความเคลื่อนไหวของหุ้นที่จ่ายปันผลดีต่อเนื่อง โดยการคัดเลือกหุ้น 30 ตัวในตลาดที่มีอัตราการจ่ายปันผลสูง และมีสภาพคล่องสูงสม่ำเสมอ ซึ่งบริษัทเหล่านี้จะต้องมีนโยบายจ่ายเงินปันผลมากกว่า 85% ของกำไรในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เป็นที่นิยมของนักลงทุนที่ชื่นชอบหุ้นปันผล |
7 | NASDAQ-100 คือ เป็นหนึ่งดัชนีหุ้นขนาดใหญ่ที่สำคัญที่สุดของดัชนีหุ้นที่วัดผลการดำเนินงานของ 100 บริษัทที่ไม่อยู่ในภาคการเงินที่จดทะเบียนบนตลาดหุ้น NASDAQ เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่จดทะเบียนบนตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq ถือเป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งที่สองของประเทศสหรัฐอเมริการองจากตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (New York Stock Exchange) (อักษรย่อ: NYSE) และเป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งแรกที่ซื้อขายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันเป็นตลาดที่มีบริษัทเข้ามาจดทะเบียนมากที่สุด ประกอบด้วย Amazon, Google, Apple, Tesla, Intel, Paypal, Adobe, Microsoft, Netflix, Pepsico และบริษัทยักษ์ใหญ่อื่น ๆ |
8 | CSI 300 Index คือ ดัชนีหุ้นแบบถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าตลาดปรับด้วยการกระจายสู่รายย่อย (Free Float Market Capitalization Weighting Index) ที่สะท้อนผลการดำเนินงานของหุ้น A-Share 300 อันดับแรกที่ซื้อขายบนตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้กับตลาดหุ้นเสิ่นเจิ้น |
9 | SET Well-being (SETWB) เป็นดัชนีที่สะท้อนการเคลื่อนไหวของกลุ่มหลักทรัพย์ 30 หลักทรัพย์ใน 7 หมวดธุรกิจที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันและเป็นธุรกิจที่ผู้ลงทุนต่างชาติให้ความสนใจ ซึ่งการเติบโตของธุรกิจเหล่านี้มีผลต่อการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) นำมาสู่การสร้างรายได้แก่คนในประเทศ |
10 | BSE Sensex คือ ดัชนีหุ้นที่ถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าตลาดปรับด้วยการกระจายสู่รายย่อย (Free Float Market Capitalization) ซึ่งประกอบด้วย 30 บริษัทชั้นนำที่จดทะเบียนบนตลาดหุ้นบอมเบย์ เช่น Axis Bank, State Bank of India, Nestle India เป็นต้น |

แล้วทำไมดัชนีหุ้นสำคัญ? ประโยชน์ของการทำความรู้จักดัชนีต่าง ๆ
ทำไมดัชนีหุ้นจึงสำคัญ
ดัชนีตลาดหุ้นทำหน้าที่เหมือนบารอมิเตอร์ (Barometer) ที่แสดงสภาวะโดยรวมของตลาด และอำนวยความสะดวกให้นักลงทุนในการระบุรูปแบบทั่วไปของตลาด นักลงทุนใช้ตลาดหุ้นเป็นข้อมูลอ้างอิงในการตัดสินใจเลือกหุ้นที่จะลงทุน
ในตลาดหุ้น จะมีบริษัทหลายพันแห่งที่จดทะเบียนในการแลกเปลี่ยน โดยทั่วไปการเลือกหุ้นที่เหมาะสม สำหรับการลงทุนอาจดูเหมือนเป็นการตัดสินใจที่ยาก หากไม่มีเกณฑ์มาตรฐาน อาจไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างหุ้นได้ และตลาดหุ้นทำหน้าที่เป็นตัวสร้างความแตกต่างในทันที โดยจัดประเภทบริษัทและหุ้นตามลักษณะที่สำคัญ
ประโยชน์ของการทำความรู้จักดัชนีต่าง ๆ
1. สามารถนำไปเปรียบเทียบราคาและสังเกตแนวโน้มของตลาด
2. สามารถใช้วัดประสิทธิภาพของการลงทุนหุ้น หรือกองทุนรวมหุ้นของเราด้วยว่าสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าหรือแย่กว่าตลาด
3. สามารถนำมาใช้ในการพยากรณ์ทิศทาง และแนวโน้มของราคาหลักทรัพย์ในอนาคตได้ตามความเชื่อของนักวิเคราะห์ดัชนีหลักทรัพย์ที่ใช้ในแนวทางการวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิค
4. สามารถนำไปใช้ในการอ้างอิง เพื่อประเมินความสำเร็จในการลงทุนของผู้บริหารได้
ช่องทางการลงทุนดัชนีหุ้น
- กองทุนรวม
กองทุนรวม คือกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อระดมทุนจากคนจำนวนมาก โดยมีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เพื่อจัดตั้งผู้จัดการกองทุน แล้วนำเงินที่ได้มาจากการระดมทุนนั้นมาลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ตามนโยบายของกองทุน เพื่อให้เงินงอกเงยขึ้นและนำผลกำไรที่ได้มาเฉลี่ยคืนให้กับนักลงทุนตามหน่วยลงทุนที่ถือไว้ หากคุณไม่มีประสบการณ์ลงทุน ไม่มีเวลาติดตามการลงทุนและมีเงินลงทุนจำกัด การลงทุนผ่านกองทุนดัชนีอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสม
- CFD
CFD (Contract for Difference) หรือแบบสัญญาซื้อขายส่วนต่าง คือตราสารอนุพันธ์รูปแบบหนึ่งที่นักลงทุนสามารถทำกำไรจากส่วนต่างของราคาปัจจุบันและราคาที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคตของสินทรัพย์อ้างอิงโดยไม่ต้องซื้อสินทรัพย์อ้างอิงนั้น แต่เป็นสัญญาที่ทำการซื้อขายได้ทันทีเพียงส่งคำสั่งซื้อขาย และเสนอความได้เปรียบด้านอัตราทด (Leverage) ให้กับเทรดเดอร์ ทำให้สามารถวางเงินเพียงจำนวนหนึ่งแต่ก็ยังจะได้รับผลตอบแทนเท่ากับการซื้อขายสินค้านั้นจริงด้วยเงินเต็มจำนวน และที่สำคัญคือคุณสามารถเทรดได้ทั้งขาขึ้น และขาลงไม่ว่าราคาจะขึ้นหรือลงคุณก็สามารถทำกำไรได้ทั้งคู่ CFD เปิดให้เทรดเดอร์ทำการซื้อขายสินค้าเกือบตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน และตลอด 5 วันได้ จึงเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับเทรดเดอร์ด้วยเวลาการเทรดที่ยืดหยุ่น
การเทรดในลักษณะนี้ยังมีข้อดีอีกอย่างนั่นก็คือไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมากเพราะไม่ใช่การเข้าซื้อขายตัวสินทรัพย์โดยตรง วิธีการนี้จึงเหมาะเป็นอย่างมากกับนักลงทุนในรูปแบบของการเก็งกำไรในระยะสั้น เพราะสามารถเทรดได้รวดเร็วและใช้เงินลงทุนน้อย

สรุป
ดัชนีหุ้น (Stock Market Index) คือ ค่าทางสถิติที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลงของผลการดำเนินงานของตลาดหุ้นหรือหมวดธุรกิจของตลาดหุ้น ที่สะท้อนหุ้นทุกตัวที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เช่น SET, DJIA, Nikkei 225, BSE Sensex เป็นต้น
และที่เราต้องมีดัชนีหุ้น เพราะว่าช่วยให้เราอธิบายภาพรวมของตลาดได้แบบรวดเร็ว เพื่อเป็นแนวทางการอ้างอิงในการตัดสินใจที่จะเลือกลงทุนในดัชนีหุ้น เพราะถ้าหากไม่มีมาตรฐานเกณฑ์การเลือกหุ้น อาจไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างหุ้นได้ ในตลาดหุ้นนั้นมีหุ้นมากมายหลายพันตัว ในบางวันมีหุ้นที่ราคาขึ้นแรง หุ้นบางตัวราคาลดลง หรือหุ้นบางตัวราคานิ่ง ซึ่งถ้าเราต้องมาดูกราฟหุ้นเป็นพัน ๆ ตัวพร้อมกัน เพื่อพยามบอกว่าภาพรวมตลาดหุ้นเป็นยังไงก็คงไม่ใช่ ก็เลยสร้างดัชนีหุ้นขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทนอธิบายว่าในภาพรวมหุ้นทุกตัวในตลาดตอนนี้เป็นยังไง ดัชนีหุ้นเพียงตัวเดียวก็สามารถอธิบายภาพตลาดหุ้นให้จบภายในกราฟเดียวได้ ดัชนีหุ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญมากอย่างหนึ่ง
ดัชนีหุ้นสามารถคำนวณด้วยวิธีต่อไปนี้
1. ถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าตลาด
2. ถ่วงน้ำหนักด้วยราคาตลาด
3. ถ่วงน้ำหนักด้วยปัจจัยพื้นฐาน
ในการที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุนนั้น นอกจากการมีความรู้ในสิ่งที่เราลงทุนแล้ว นักลงทุนจำเป็นต้องมีเวลาในการติดตามข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ พร้อมทั้งมีการทบทวนกลยุทธ์การลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอีกด้วย สำหรับนักลงทุนใหม่ที่กำลังเริ่มต้นการลงทุน คุณจำเป็นต้องมีความรู้เพื่อเลือกลงทุนที่ตอบโจทย์ ดังนั้นก่อนการลงทุนทุกครั้ง อย่าลืมลงทุนกับความรู้ให้รอบคอบก่อนลงสนามจริง
**คำเตือน การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
เนื้อหาในบทความเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับประกอบการตัดสินใจก่อนการลงทุนเท่านั้น ผู้อ่านควรศึกษาปัจจัยประกอบจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งก่อนการตัดสินใจ และใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลในการพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ลงทุนที่เหมาะสมแก่ท่าน
ใส่ความเห็น